เปิดโผ เทรนด์เทคโนโลยี 2021 ที่จะช่วยผลักดันธุรกิจเติบโต

March 19, 2021
Nae Nae Montawan

Trend ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีปี 2021 กำลังเป็นที่น่าจับตามอง ทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดห้าปีที่ผ่านมา บวกวิกฤตโควิด-19 ที่เข้ามาซ้ำเติมทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปและยากที่จะกลับมาเหมือนเดิม การวาง strategy ที่เหมาะสมในการเฟ้นหาเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อ Lifestyle ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค จะช่วยให้ผู้บริหารองค์กรทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ผู้บริหารฝั่ง Innovation/IT มองเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Gartner บริษัท research ชั้นนำของโลกด้าน IT ได้แนะนำสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนควรคำนึงถึง เมื่อต้องวางแผนนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์กร ซึ่งมี 3 หัวข้อหลักดังนี้: 

  1. People Centricity การยึดผู้ใช้เป็นจุดศูนย์กลาง
  2. Location Independence การทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไร้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ 
  3. Resilience Delivery การปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลง

1. People Centricity ยึดผู้ใช้เป็นจุดศูนย์กลาง

การยึดบุคคลากรเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลัก ๆ คือ พฤติกรรม (behaviour), ประสบการณ์ (experience) และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (privacy)

1.1 Internet of Behavior (IoB) 

เป็นการใช้เทคโนโลยีหรืออินเตอร์เน็ต เพื่อ เก็บ วิเคราะห์ และทำความเข้าใจข้อมูลและพฤติกรรมของผู้ใช้ เนื่องจากเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต จึงทำให้มี data ในการใช้งานมากขึ้น โดยการเก็บข้อมูล อาจทำได้ในรูปแบบ facial recognition, location tracking และ big data อีกทั้งข้อมูลที่เกิดขึ้นสามารถมาในรูปแบบ cash purchases, device usage data, ฯลฯ

โดย IoB จะทำความเข้าใจ และสามารถคาดเดาพฤติกรรมในแต่ละบุคคลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น มีการ monitor incentives และ disincentives ของแต่ละคน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี เช่น นำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจประกันภัย เพื่อทำให้ค่าเบี้ยประกันภัยของแต่ละคนนั้น สามารถ personalize ตามระดับความเสี่ยงของพฤติกรรมได้

1.2 Total Experience (TX)

การสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุด และ seemless ที่สุดให้กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ใช้ หรือพนักงาน เพื่อเป็นการ differentiate ตัวเองจากคู่แข่ง และสามารถลอกเลียนแบบได้ยากในอีกแง่นึงคือ Total Experience (TX) คือการ tranform ประสบการณ์โดยการคำนึงถึง multiexperience (MX), customer experience (CX), employee experience (EX) และ user experience (UX) เพื่อแก้ไขตอบโจทย์ปัญหาทางธุรกิจ บริษัทควรคำนึงถึง Total Experience และใส่ใจความรู้สึกของทั้งพนักงานและลูกค้า เพื่อก่อให้เกิดความประทับใจที่มีต่อ brand ของเรา

ตัวอย่างบริษัทที่สามารถประยุกต์ Total Experience (TX) ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา ได้แก่ Verizon ที่เริ่มจากการคำนึงถึงสุขอนามัยของลูกค้าและไม่ลืมที่จะใส่ใจประสบการณ์ของพนักงาน โดยการประยุกต์ใช้ แอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ เพื่อนัดคิวลูกค้า แจ้งเตือนพนักงานเมื่อลูกค้าใกล้ถึงร้าน และแจ้งลูกค้าให้ทราบระยะเวลาในการรอ อีกทั้งยังเพิ่มการชำระเงินผ่านเครื่อง kiosk เพื่อลดปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและลูกค้า และ social distancing


1.3 Privacy-Enhancing Computation

คือ การเพิ่มความปลอดภัยของการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในและระหว่างองค์กร เพื่อเพิ่มความสบายใจให้กับทุกฝ่ายมากขึ้น โดยการสร้าง trusted environment ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ภายในบริษัท, การ decentralize ข้อมูล, หรือ การ transforms data และ algorithms ก่อน process ปัญหาเรื่อง privacy และการแชร์ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญ หากตกไปในมือคู่แข่งหรือผู้ไม่หวังดี อาจเกิดผลเสียอันรุนแรงแก่บริษัท

2. Location Independence ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไร้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ 

โควิด-19 ทำให้ความต้องการในการทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากต่างสถานที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากหลายคนต้องทำงานแบบ work from home ดังนั้นเทคโนโลยีจะต้องมีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อข้อมูลจากหลากหลายที่ได้

image source: freepik.com

2.1 Distributed Cloud

Distributed Cloud คือการกระจายตัวของบริการ Public Cloud ไปในสถานที่อื่น นอกเหนือจากเดิม แต่ยังคงอยู่ใต้ความควบคุม ทั้งทางด้านดำเนินงานและการควบคุมของ Cloud Provider การหันมาใช้ Distributed Cloud จะส่งผลให้บุคคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากหลากหลายสถานที่ นอกเหนือจากที่ทำงาน และสามารถส่งย้ายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

Gartner มองว่าภายในปี 2025 บริษัทกว่า 50% จะเปลี่ยนมาใช้ distributed cloud และจะสามารถ transform business model ใหม่ๆ อีกหลายรูปแบบ

2.2 Anywhere Operations

New normal ของธุรกิจ คือ การที่ stakeholder ต่าง ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องมาเจอหรือพูดคุยกันแบบ face-to-face อีกต่อไป ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทุกที่ และพนักงานสามารถทำงานได้จากหลายแห่ง การเลือกเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ anywhere operation จะต้องมี 5 องค์ประกอบเหล่านี้:

  1. Collaboration & productivity – ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ประชุม แลกเปลี่ยนไอเดีย และรับส่งข้อมูลอย่างไม่ติดขัด
  2. Secure remote access – สามารถเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย
  3. Cloud and edge infrastructure – ตัวอย่างเช่น Distributed Cloud หรือ Internet of Thing (IoT)
  4. Quantification of the digital experience – การ monitor ประสบการณ์ วัดผลความสำเร็จ และมี support ที่พร้อม 
  5. Automation to support remote operations – มีระบบอัตโนมัติเพื่อรองรับการทำงาน remote

2.3 Cybersecurity Mesh 

Cybersecurity Mesh เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ได้จากทุกที่ โดยใช้ Identity เป็นระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญในโลกที่ทุกอย่างกำลังถูก digitize

3. Resilience Delivery ปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลง

Resilience Delivery คือความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากในยุค continuous disruptions ดังนั้นเทคโนโลยีที่นำมาใช้จึงต้องเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยให้องค์กรเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีความ agile และ resilient เช่น การเป็น Intelligent Composable Business การมี AI Engineer คอยดูแลความเรียบร้อยของ AI และการประยุกต์ Hyperautomation ในจุดที่จำเป็น

Photo created by jcomp - freepik.com

3.1 Intelligent Composable Business

Decision Architecture ขององค์กรนั้นจะต้องสามารถปรับตัวกับโลกแห่ง continuous disruptions มากขึ้นช่วยให้ธุรกิจสามารถหาคำตอบได้ทันท่วงทีและทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น โดย Intelligent Composable Business นั้นจะเสริมสร้าง creativity และ innovation ได้อย่างดี เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว เสริมสร้าง autonomy ให้กับพนักงานในองค์กร

การที่จะทำให้องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว การตัดสินใจภายในองค์กรต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกันและทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในหลายครั้งบริษัทใหญ่ใช้เวลานานในการตัดสินใจนานเกินไป เนื่องจากอำนาจในการตัดสินใจจำเป็นต้องเห็นตรงกันหลายฝ่าย ในขณะที่หัวใจหลักในการอยู่รอดยุคนี้ คือ การออกแบบ decision architecture ขององค์กรให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

Intelligent Composable Business เป็นรูปแบบธุรกิจที่ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็ว และตรงประเด็น โดยสามารถออกแบบ business model ใหม่ บริการใหม่ และยังช่วยให้เกิดการดำเนินการแบบอัตโนมัติ ในการใช้รูปแบบธุรกิจนี้จะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวอย่างรวดเร็ว และสร้างวัฒนธรรมภายในบริษัทที่พร้อมเปลี่ยนแปลง ในการ implement รูปแบบธุรกิจนี้ ควรจะสร้าง architecture ที่สามารถรองรับและเข้าถึงข้อมูลใหม่ และหา insight จากข้อมูลนั้นได้ทันที และพร้อมปรับเปลี่ยนทันทีที่มีคำสั่งเกิดขึ้น

3.2 AI Engineering

AI Engineering คือการปรับ AI อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น machine learning, กราฟความรู้ของ AI, กฎเกณฑ์ของ AI, optimization, ภาษา ฯลฯ บริษัทควรมีทีม IT ที่คอยอัพเดทความรู้และความสามารถของ AI และสอนให้ AI สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พฤติกรรมของมนุษย์บางครั้งอาจมีความยากที่ AI จะเข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น trend ที่เกิดขึ้นเพราะความ viral ฉะนั้น AI จึงยังไม่มีความสามารถมากพอที่จะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ และไม่สามารถให้ค่าที่สมเหตุสมผลได้ หลายครั้งผู้บริหารอาจประเมินความสามารถของ AI สูงมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดและส่งผลให้เสียหายทางทรัพย์สินได้ นอกจากนั้นแล้ว AI ยังมีความก้ำกึ่งในด้านความปลอดภัย (security & privacy) ซึ่งทำให้มีความยากที่จะพัฒนาต่อไปได้

3.3 Hyperautomation

Hyperautomation คือ ระบบอัตโนมัติที่เชื่อมกันหลาย ๆ ระบบ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น automation คือระบบอัตโนมัติ hyper แปลว่า “เกิน” ดังนั้น hyperautomation คือการวางระบบให้เกิดการทำงานอย่างอัตโนมัติทั้งในด้าน business และ IT โดยใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ และแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น AI, machine learning, robotic process automation (RPA), business process management (BPM) และการวิเคราะห์ขั้นสูง

Hyperautomation เป็น process ที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ ดังนั้นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบก่อนนำไปใช้งาน ในยุคนี้ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทแข่งขันกันเพื่อให้ระบบของตัวเองมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสามารถรองรับลูกค้าได้มากที่สุด และทำกำไรได้มากที่สุด การจะทำให้ hyperautomation ให้ดี บริษัทต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีที่มี สามารถนำไปต่อยอดได้อย่างไรบ้าง และควรจะนำระบบนี้ไปประยุกต์กับขั้นตอนไหนเพื่อก่อให้เกิดผลลัพท์ที่ดีที่สุด

ติดตาม เนื้อหาสุด exclusive เกี่ยวกับ Technology Disruptions ได้ในคลาส Chief Exponential Officer (CXO) by Disrupt เพื่อเตรียมความพร้อมในการ transform องค์กรของคุณให้ก้าวกระโดด และพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค continuous disruption

#CXO #TheNextCXO

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง