Agile คืออะไร แนวคิดแบบใหม่ในการทำงานที่องค์กรควรเลือกใช้
แนวคิดการทำงานแบบ Agile กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุค Digital Transformation ที่องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Agile เป็นแนวทางการทำงานที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่น การตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้น
หลายบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง Google และ Spotify ได้นำแนวคิด Agile มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการสร้างนวัตกรรม แต่ Agile ไม่ใช่เพียงแค่วิธีการทำงาน แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกฝ่าย เรามาดูกันเลยดีกว่าว่า Agile มีหลักการอย่างไร และเราสามารถนำ Agile ไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
Highlight
- แนวคิดการทำงานแบบ Agile เป็นแนวคิดการทำงานรูปแบบหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
- แนวคิดการทำงานแบบ Agile ช่วยลดขั้นตอนการสั่งการและเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน แบ่งทีมเล็ก ๆ มาทำงานร่วมกันในระยะสั้นเหมือนเช่นเดียวกับบริษัท Spotify และ Google ทำให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
- ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การทำงานแบบ Agile ประสบความสำเร็จคือ เป้าหมายที่ชัดเจน, Growth Mindset, ความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง, ทักษะการสื่อสาร
แนวคิดการทำงานแบบ Agile (อ่านว่า ‘อไจล์’) คือ รูปแบบการทำงานที่มุ่งเน้นในการลดขั้นตอนการสั่งการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน กล่าวคือในระบบการทำงานแบบ Agile ตัวงานจะถูกแบ่งความรับผิดชอบแก่ทีมเล็ก ๆ ที่เกิดจากการนำคนจากส่วนงานต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายระยะสั้น และการทำงานจะถูกแบบออกเป็นหลายรอบ โดยแต่ละรอบของการทำงานจะถูกเรียกว่า Sprint เปรียบเสมือการวิ่งระยะสั้น แต่รวดเร็วเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
โดยในแต่ละ Sprint ทีมงานจะต้องสร้างผลงานตามเป้าที่กำหนดไว้ โดยการทำงานตามแผนระยะสั้นจะช่วยให้สามารถรับรู้ข้อผิดพลาดและดำเนินการแก้ไขได้ไวและต่อเนื่อง เพราะขั้นการตอนการทำงานถูกย่อยเป็นสัดส่วน สามารถเกิดการแก้ไขได้ตลอดการทำงาน ไม่ใช่แก้ไขครั้งเดียวตอนท้ายหลังจากที่งานเสร็จสมบูรณ์
โดยปกติของแนวทางการทำงานแบบ Agile นั่น จะมีเครื่องมือหรือแนวทางการจัดการเพื่อช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและชัดเจน เช่น Kanban Lean Scrum ซึ่งเป็นเครื่องมือหรือเทคนิคการจัดการที่ในกรอบแนวคิด Agile
อาจจะย้อนกลับไปเล่าถึงความเป็นมาของแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile ก่อนว่ามันเริ่มขึ้นมาได้อย่างไร
แนวการทำงานของ Agile เกิดขึ้นจากการรวมตัวในช่วงวันหยุดของผู้พัฒนา Software หรือ Software Developer ช่วยกันหารือว่าเราจะทำอย่างไรให้การทำงานหรือการพัฒนา Software เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะโดยปกติของการทำงานนั่นคำสั่งจะถูกส่งต่อมาเป็นขั้น ๆเปรียบเสมือนน้ำตก (หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือแนวทางการทำงานแบบ waterfall)
หลังจากตกผลึกกันในภายในกลุ่ม พวกเขาได้สรุปแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile ในชื่อว่า “Agile Manifesto” แปลไทยอย่างตรงตัวว่าถ้อยคำแถลงแห่ง Agile ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile
“Agile Manifesto” – 4 ของการทำงานในรูปแบบ Agile
- Individuals and interactions over processes and tools: คนและการมีปฏิสัมพันธ์ สำคัญกว่าขั้นตอนและเครื่องมือ
- Working software over comprehensive documentation: ซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง สำคัญกว่าการทำเอกสารหรือวางแผน
- Customer collaboration over contract negotiation: ความร่วมมือกับลูกค้า สำคัญมากกว่าการต่อรองสัญญา
- Responding to change over following a plan: ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญกว่าการทำตามแผน
จะเห็นได้ว่าหลักการทำงานของ Agile จะให้ความสำคัญกับ “การสื่อสาร” และ “ผลลัพธ์” ในการทำงานมากกว่าการทำเอกสารหรือการวางแผนเพียงอย่างเดียว
แต่นอกเหนือจากการหลักการ 4 ข้อนี้แล้วนั้น ยังมีอีกหลากหลายปัจจัยที่จะเพิ่มความสำเร็จในการประยุกต์ใช้การทำงานในรูปแบบ Agile ในองค์กร
- เป้าหมายที่ชัดเจน
ไม่ว่าการทำงานในรูปแบบใดเป้าหมายระยะยาวหรือเป้าหมายใหญ่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถึงแม้ว่าการทำงานในรูปแบบ Agile จะถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่การที่ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถวางแผนการทำงาน ระยะเวลาการทำงาน รวมไปถึงทรัพยากรในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะการทำงานแบบ Agile ถูกสร้างมาเพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน ด้วยเหตุนี้ Growth Mindset จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่ทำงานภายใต้แนวคิดของ Agile ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงและความผิดพลาด และพร้อมตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- ความยืดหยุ่น
จาก Agile Manifesto ในข้อที่ 4 “Responding to change over following a plan: ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญกว่าการทำตามแผน” ดังนั้นความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำงานในรูปแบบ Agile โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงมีความเร็วในการเกิดขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ความยืดหยุ่นจึงเป็นแนวคิดสำคัญ ไม่ว่าจะในแนวทางการทำงานแบบ Agile หรือการทำงานในรูปแบบใดก็ตาม
การทำงานแบบ Agile คือการทำงานด้วยทีมเล็ก ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามคือการสร้างทีมเวิร์ค พื้นฐานของทีมเวิร์คที่ดีเกิดจากการที่ในทีมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและมีการออกแบบระบบการทำงานที่เอื้อให้คนในทีมสามารถแสดงศักยภาพของตนออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอันส่งผลให้สามารถตอบสนองต่อระบบการทำงานแบบ Agile ที่มีกรอบระยะเวลาสั้น
Start with Gradual Experimentation:
ก่อนที่จะตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นแบบ Agile สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือการทดสอบว่าระบบการทำงานสามารถเข้ากับบริษัทได้หรือไม่ เมื่อได้รู้ผลจากการทดลองจึงค่อยหาแนวทางการทำงานที่เหมาะสมที่สุดตามผลลัพธ์ที่ต้องการ
- Focus and Motivation
วิธีการทำงานแบบ Agile คือการทำงานที่เล็กแต่มีส่วนร่วม ดังนั้นแล้วการสร้างแรงจูงใจในการจดจ่อกับเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะงานจะไม่สามารถดำเนินต่อได้เลยหากคนทำงานไม่เหลือแรงจูงใจในการทำงาน
- Revise and Adjust
อย่างที่ได้มีการกล่าวไว้หลายครั้งก่อนหน้านี้ว่า การทำงานแบบ Agile มีขั้นตอนการเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ไวเช่นนั้น ทุกครั้งที่ทำงานเสร็จสิ้นจงอย่าลืมที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและหาทางแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม
- Stakeholder
ในทำงานให้ยึดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสำคัญทั้งทีมทำงาน และลูกค้า โดยมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ข้อดีของแนวคิด Agile
- ความยืดหยุ่น: การทำงานแบบ Agile ช่วยให้ทีมสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า เนื่องจากเป็นการทำงานระยะสั้นซึ่งทำให้สามารถติดตามผลและปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
- สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า: ลูกค้ามีโอกาสที่จะตรวจสอบและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
- สร้างผลลัพธ์ได้ต่อเนื่อง: การทำงานแบบ Agile มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ระยะสั้นเพื่อปรับปรุงและแก้ไขตามความต้องการที่เกิดขึ้นจริง จึงทำให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีความสมบูรณ์ในระดับที่สามารถใช้งานได้และมีการเพิ่มฟีเจอร์หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
ข้อควรระวังของแนวคิด Agile
- การจัดการทรัพยากรในระยะยาว: สำหรับบางองค์กรที่ทรัพยากรมีจำกัด การทำงานแบบ Agile อาจก่อให้เกิดความท้าทายในการจัดการทรัพยากรในระยะยาวเนื่องจากการทำงานในรูปแบบดังกล่าว หากมีการจัดการทรัพยากรโดยเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากเกินไปจะทำให้เสียทรัพยากรในการพัฒนาหรือแก้ไของค์กรในระยะยาวได้
- ผลกระทบทางจิตใจของพนักงานต่อความเปลี่ยนแปลง: เนื่องจากการทำงานแบบ Agile มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้อาจสร้างความเครียดให้แก่ทีมทำงานที่ต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงการทำงานบ่อยได้ นอกจากนี้หากบริษัทที่ใช้การทำงานรูปแบบ Agile ไม่มีการวางแผนที่ชัดเจนก็ย่อมทำให้ทีมงานเกิดความสับสนและไม่มั่นคงในการทำงานได้
จะเห็นได้ว่าวิธีการทำงานแบบ Agile เป็นการทำงานที่เน้นการสื่อสารกันภายในทีมและการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น Disrupt จึงขอยกตัวอย่างบริษัทชั้นนำระดับโลกที่นำวิธีการทำงานแบบ Agile ไปปรับใช้ในองค์กร
Google ได้รับชื่อเสียงเรื่องความไวและความยืดหยุ่นในการทำงาน ดังเช่น Google Chrome ที่กำหนดระยะเวลา 6 สัปดาห์ในการปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ๆ และแบ่งทีมย่อยเพื่อทำให้การจัดการมีลักษณะแนวนอนหรือการทำงานโดยเน้นการมีส่วนร่วม ในเวลาต่อมา Google ได้ประยุกต์การทำงานแบบ Agile ควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ เช่น ระบบการฝึกสอนการใช้การบวนการทำงานแบบ Agile และ สร้างชุมชนผู้ใช้วิธีการทำงานแบบ Agile เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Spotify
Spotify เน้นไปยังการจัดโครงสร้างทีมและประสานงานระหว่างทีมเป็นหลัก โดยทีมจะมีขนาดคล่องตัวที่เรียกว่า Squad ประกอบด้วยสมาชิก 5-7 คน จากแผนกที่หลากหลายซึ่งแต่ละ Squad จะมีอิสระในการทำงานโดยไม่ต้องพึ่งพา Squad อื่นเพื่อความคล่องตัวในการทำงาน
จะเห็นได้ว่าทั้งสองบริษัทตัวอย่างข้างต้นล้วนแต่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์การจัดการแบบ Agile ที่ผู้อ่านสามารถนำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ Agile management กับองค์กรได้
การทำงานแบบ Agile เป็นการเรียนรู้และปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Agile ช่วยลดขั้นตอนการสั่งการและเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ทำให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ Agile ประสบความสำเร็จคือ เป้าหมายที่ชัดเจน, Growth Mindset, ความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง, และทีมเวิร์ค การนำแนวคิดการทำงานแบบ Agile ไปประยุกต์ใช้ต้องพิจารณาด้วยการทดลองเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในองค์กร และควรมีการสนับสนุนจากผู้บริหารและความร่วมมือจากทุกฝ่าย สุดท้ายการนำ Agile ไปใช้ไม่เพียงแต่เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงาน แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้มีความยืดหยุ่นและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
สำหรับองค์ใดที่พัฒนา Talent ในองค์กรให้พร้อมสำหรับการทำงานแห่งโลกอนาคต Disrupt Corporate Program พร้อมช่วยเหลือและสนับสนุนความสำเร็จของคุณ
ตัวอย่างหลักสูตรทักษะแห่งอนาคต Disrupt Corpoate Program
🌟 แนวทางการทำงานแบบ Agile (Agile in Action)
🌟 กระบวนการออกแบบความคิด (Design Thinking)
🌟 การสื่อสารผ่านข้อมูล (Data Presentation)
👉 สนใจหลักสูตรฝึกอบรม สามารถกรอกฟอร์ม https://forms.gle/zgzmLGNgJNAJEXX66
หรือค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
👉 โทร 083-7698763 (แพรว) หรือ 061-0207826 (ปานวาด)