Nae Nae Montawan
Business Development Associate
การเริ่มต้นทำ ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise นั้น มักเริ่มต้นจาก passion ในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาสังคม โดยหลาย ๆ คนอาจไม่ได้คิดว่าจะสามารถสร้างรายได้เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างไร บางท่านอาจรู้สึกผิดที่จะแสวงหากำไรจากการทำธุรกิจเหล่านี้ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การสร้าง business model นั้นถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้าง impact ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมากที่สุด
ใน StormBreaker Batch 3 Bootcamp Session ที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นโดย Disrupt Technology Venture สตาร์ทอัปของเราทุกทีม ได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับ business model ของ Social Enterprise จากผู้มากประสบการณ์ถึง 3 ท่านด้วยกัน ได้แก่ คุณ จูน-เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ จาก The Guidelight คุณ Haidy Leung และ คุณ Paramate Poolsuk จาก ChangeFusion
Business model นี้ ในส่วนของธุรกิจที่หารายได้ จะแยกออกมาจากส่วนที่สร้าง impact ของบริษัท ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร Cabbage and Condoms ที่เกิดแรงบันดาลใจจากการสร้าง สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยโดยการใช้ถุงยางอนามัย โดยรายได้ของการเปิดร้านอาหาร จะถูกนำไปส่งเสริมกิจกรรมในสมาคม
Model ที่สองนี้ เป็นกิจการที่หารายได้เข้าบริษัท และส่วนที่สร้าง Impact นั้น จะมีความเกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น social service ต่าง ๆ เช่น การเปิดบ้านพักคนชรา ช่วยเหลือสังคมผู้สูงอายุ
Model สุดท้ายนี้ เป็นรูปแบบของธุรกิจที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาทางสังคมโดยตรง และหารายได้จากการทำกิจกรรมเพื่อสังคมโดยตรง ตัวอย่างเช่น บริษัท SunSawang ที่ได้ติดตั้ง Solar panels ในชุมชนในจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอนที่ขาดแคลนไฟฟ้า โดยมีการเก็บเงินชาวบ้านเป็นค่าไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อีกทั้งมีการฝึกสอนให้คนในชุมชนเรียนรู้ที่จะมาเป็นช่างซ่อม และดูแลระบบ ช่วยเสริมอาชีพให้กับชุมชน
ซึ่งทั้ง 3 โมเดลนี้ ไม่ว่าจะใช้ business model แบบไหน เราก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จและพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนได้ อีกทั้งยังไม่มีรูปแบบตายตัวเพราะบางธุรกิจอาจเป็นการรวมตัวกันของหลากหลายโมเดลเข้าด้วยกัน
รูปแบบ Business Model: Embedded Social Enterprise / Integrated Social Enterprise
Achieve จัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ให้กับเด็กมัธยม เพื่อลดอัตราการเปลี่ยนสายคณะของนักศึกษา และทำให้เด็กสามารถค้นหาตัวเองได้ก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย การจัด workshop ต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมจ่ายเงินเพื่อมาทำกิจกรรมนั้น ถือเป็นการที่รายได้มาจากการทำงานกับผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือโดยตรง ซึ่งจะเป็นรูปแบบของ Embedded Social Enterprise หากเป็นการจัดกิจกรรมที่มีสปอนเซอร์นั้นจะถือเป็น Integrated Social Enterprise นั่นเอง
รูปแบบ Business Model: Integrated Social Enterprise
Toolmorrow เป็นเว็บไซต์ที่สร้าง Video Content เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น โดยมีการทำงานหลัก 3 อย่างด้วยกัน คือ วิดีโอทดลองเพื่อพิสูจน์ปฏิกิริยาทางสังคม แคมเปญสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง และ เนื้อหาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยมี business model เป็นแบบ Integrated Social Enterprise เนื่องจากผู้สนับสนุน และ sponsor content และผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้นเป็นคนละกลุ่มกัน แต่มีความตั้งใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมทั้งคู่
รูปแบบ Business Model: Embedded Social Enterprise
แบรนด์กระเป๋าผ้าที่ทอโดยเด็กพิเศษ เป็นโปรเจ็กต์ที่เริ่มขึ้นโดยหญิงสาววัย 25 ปี ที่มีความต้องการที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษอย่างแท้จริง ช่วยเสริมสร้างรายได้และส่งเสริมความสามารถในการทอผ้าให้กับพวกเขา โดยรูปแบบ business model นี้ถือเป็นรูปแบบของ Embedded Social Enterprise เนื่องจากผู้ที่ทำกระเป๋าผ้าทอนั้น เป็นผู้ได้รับรายได้โดยตรง
หากคุณกำลังเริ่มต้นมองหา business model ให้กับธุรกิจเพื่อสังคมของคุณ วิธีการในการเริ่มต้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วย 5 steps ดังต่อไปนี้
คุณจูนได้ก่อตั้ง The Guidelight เพื่อเป็นตัวช่วยให้นักศึกษาที่บกพร่องทางการมองเห็น สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป และช่วยส่งเสริมอาชีพให้กับนักศึกษาเหล่านั้น โดยเริ่มจากการทำหนังสือเสียงสำหรับการเรียน และแม้ว่าจะรู้สึกท้อหลายหนกับการค้นหา business model ที่ใช่ แต่คุณจูนก็ยังคงยืดหยัดสู้ต่อไป หลังจากเวลาสี่ปี ก็สามารถหา business model ที่เหมาะสมกับ value ของบริษัทได้ โดยใช้หลักแนวคิดที่สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่:
1. Solution ที่ตอบโจทย์: มาจากการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย นำ solution ไปทดลองและปรับเปลี่ยนจนเจอสิ่งที่ใช่
2. Model ที่ยั่งยืน: หลายครั้งเราอาจมี idea business model หลากหลายแบบ แต่ criteria ที่นำมาตัดสินใจ คือ
คุณจูนได้ยกตัวอย่างให้ฟังว่า เคยมีโอกาสที่จะทำ model CSR ให้บริษัทมาร่วมกิจกรรมกับผู้พิการทางการมองเห็น ซึ่งเป็น model ที่มีทั้ง opportunity และ resource ที่เพียงพอ แต่ไม่ตรงกับ value ขององค์กร เพราะทำให้ผู้พิการเป็นเหมือนสินค้า จึงไม่ได้นำมาเป็น business model หลักในการทำธุรกิจ
3. Partner ที่เข้าใจ: สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในการเลือก partner นั้น คือการ partner กับบริษัทที่เข้าใจความต้องการของเรา และมี value ที่ตรงกับสิ่งที่เราทำ หลาย ๆ ครั้ง เราอาจจะพบเจอกับปัญหาการตัดสินใจว่าเราควรจะ partner กับบริษัทไหน ทำกิจกรรมแบบไหนที่จะ align กับ values ของบริษัทเรา เราจึงต้องคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะรับงานว่ากิจกรรมนั้น ๆ ตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะสร้างหรือไม่ อย่างไร
จะเห็นได้ว่าการตัดสินใจทั้งหมดล้วนอิงกับ value ขององค์กร ที่ทีมต้องตกลงให้ตรงกันตั้งแต่แรก เพราะจะมาเป็นเข็มทิศในการเดินทางให้กับเรา
การทำตามหลักแนวความคิดทั้ง 3 ข้อนี้ ทำให้คุณจูนสามารถค้นพบ business model ที่เหมาะกับบริษัท โดยปัจจุบันได้พัฒนาเป็น Vulcan Coalition - AI Data Crowdsourcing for Disabilities ที่ให้คนที่พิการได้มีโอกาสทำงาน และรับรายได้จากบริษัท patners ที่ใช้ข้อมูล data เหล่านั้น คุณเองก็สามารถนำหลักคิดสามอย่างนี้ ไปปรับใช้กับการหา business model ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณได้เช่นกัน
ติดตามข่าวสารความรู้ในวงการสตาร์ทอัพได้ทางเพจ Disrupt Technology Venture และพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกท่านมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่านบทสัมภาษณ์สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่