Pat Thitipattakul
Corporate Innovation Manager
ช่วง 2-3 ปีมานี้ เรียกได้ว่าเป็นช่วง boom ของธุรกิจ delivery service อย่างแท้จริง จากปัจจัยต่างๆ ที่เอื้ออำนวยให้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด e-commerce B2C พฤติกรรมผู้บริโภคยุคออนไลน์ หรือ เทรนด์เทคโนโลยีที่ทำให้แอพต่างๆ ฉลาดและตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น
ในวงการธุรกิจอาหารเอง ก็ได้รับผลกระทบจากสิ่งนี้ไปไม่น้อย ธุรกิจ delivery service เริ่มเข้ามาให้บริการจัดส่งอาหารมากขึ้นด้วย demand ของผู้บริโภคนั้นมีมาก ตลาดมีขนาดใหญ่
นอกจากผู้เล่นเดิมที่มีมากว่า 5 ปีอย่าง Foodpanda แล้ว ธุรกิจใหญ่ๆ และรายใหม่ก็เข้ามาเล่นในตลาดนี้อย่างจริงจังด้วย ทั้ง LINE MAN, Grab food, honestbee และมีผู้เล่นใหม่ๆ โผล่มามากมาย โดยมักจะดำเนินธุรกิจแบบ B2B2C กล่าวคือ ไปติดต่อธุรกิจร้านอาหารและเสนอให้เข้ามาอยู่บน platform และทำการจัดส่งอาหารให้กับลูกค้าของร้านอีกทีหนึ่ง ประเด็นที่น่าสนใจคือร้านอาหารที่เป็น target ครอบคลุมถึงร้านอาหารทุกประเภทตั้งแต่ร้านข้าวแกงทั่วไปริมทางจนถึงร้านอาหารหรูหราในห้างสรรพสินค้า หรืออย่างกรณี LINE MAN ถึงร้านจะไม่อยู่บน platform แต่ถ้าลูกค้าต้องการก็สามารถสั่งให้พนักงานไปสั่งและรับอาหารมาส่งให้ได้ ครอบคลุมหมด
ธุรกิจ delivery นี้เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะนอกเหนือจากการจัดส่งแล้ว ตัว platform นั้นทำอะไรได้อีกมากมาย เป็นการสร้าง win-win situation ให้แก่ทุกฝ่าย ลูกค้าทั่วไปได้รับอาหารที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเลยแม้แต่นิดเดียว
สำหรับร้านอาหารเองได้รับประโยชน์จากแอพดังต่อไปนี้
เดิมทีร้านอาหารมักจะมีลูกค้าหลักเป็นลูกค้าที่อยู่ในละแวกนั้น แต่พอมีช่องทาง online เข้ามารวมกับบริการจัดส่ง ร้านอาหารสามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น ทำให้ได้สร้าง brand และนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ร้านได้โปรโมทโดยผ่าน channel ของ app food delivery โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเวลาและเงินไปทำการตลาดเอง เข้าถึงกลุ่ม user ที่ค่อนข้างใหญ่เนื่องจาก app เหล่านี้แข่งขันกันทำการตลาดเข้าหาลูกค้าทั้ง offline online และออกโปรโมชั่นมากมายอย่างต่อเนื่อง
เสมือนได้ outsource ภาระการจัดส่งและการติดต่อลูกค้าปลายทางออกไป ทำให้ร้านอาหารสามารถโฟกัสกับการทำอาหารได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องมากังวลเรื่องนี้ หากเกิดปัญหาระหว่างการจัดส่งก็เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทาง delivery service ที่จะต้องประสานงานและชดเชยความเสียหายต่างๆ ร้านอาหารเพียงแค่ต้องกดรับออเดอร์ ทำอาหารให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด และส่งมอบให้พนักงานจัดส่ง ซึ่งจะเดินทางมารับอาหารที่ร้าน ที่สำคัญไม่ต้องแบกภาระค่าจัดส่ง เพราะ app จะเรียกเก็บเงินค่าส่งจากผู้บริโภค จากมอเตอร์ไซค์ หรือหากเก็บค่าธรรมเนียมจากร้านก็ราคาไม่ได้สูงมาก
ร้านอาหารสามารถดูข้อมูลออเดอร์ต่างๆ ได้บน platform ที่ food delivery app จัดทำให้ โดยข้อมูลนี้เองมีประโยชน์ต่อการบริหารร้านอาหารมาก เพราะร้านสามารถดูได้ว่าเมนูไหนที่ขายดี ช่วงเวลาไหนที่มีคนสั่งเข้ามาเยอะ โปรโมชั่นแบบไหนที่คนชอบ ทำให้สามารถวางแผนและคาดการณ์ล่วงหน้าได้คร่าวๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการเก็บเงินสด การทอนเงินผิด หรือ ปัญหาเงินหาย เพราะลูกค้าได้ชำระเงินผ่าน app มาเรียบร้อยแล้ว
ด้วยเทรนด์นี้เอง ทำให้ธุรกิจอาหารที่ยังไม่มีการขาย online เริ่มเสียเปรียบเจ้าอื่นที่มีพร้อม ในอนาคตอันใกล้นี้เราคงต้องมาลุ้นกันอีกว่านอกจากธุรกิจ delivery แล้วจะมีธุรกิจหรือเทคโนโลยีแบบไหนอีกที่เข้ามา disrupt วงการอาหารได้อีก สร้างประสบการณ์ยกระดับให้กับผู้บริโภคและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการร้านอาหาร อย่างในบางประเทศเริ่มมีการจัดส่งด้วย drone บินไปส่งบนตึกสูงได้ หรือใช้หุ่นยนต์วิ่งจัดส่งตามสถานที่ต่างๆ
หากคุณเป็นคนที่มีไอเดียใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจอาหารในไทยได้ ขอเชิญเข้าร่วมงาน Minor Tasting the Future Hackathon จัดโดย Minor Group และ Disrupt ในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2561 นี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.disruptignite.com/tasting-the-future-hackathon