Digital Disruption คืออะไร? ปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอด?

November 6, 2024
Yok Thanawan
Digital Disruption

ใครยังใช้โทรศัพท์ปุ่มกดอยู่ ยกมือขึ้น 🙌  ใครยังเช่าวิดีโอเพื่อดูหนังอยู่ ยกมือขึ้น 🙌 ใครยังใช้กล้องฟิล์มอยู่ ยกมือขึ้น 🙌  

สิ่งด้านบนที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่ไม่ได้พบเห็นจนเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ ในปัจจุบัน ไม่มีใครใช้โทรศัพท์ปุ่มกด เช่าวิดีโอ หรือใช้กล้องฟิล์มในชีวิตประจำวันอีกต่อไป เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ถึงจำให้สินค้าและบริการบางอย่างถูกแทนที่ไป สังเกตได้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นรอบตัวเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘เทคโนโลยีดิจิทัล’ เช่น การใช้ Smart Phone ที่กลายเป็นเรื่อง ‘ทั่วไป’ ไม่ใช่เรื่องแปลกตาหรือสิ่งพิเศษ การใช้งานเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะ Gen AI ที่มีการใช้งานอย่างแพร่พลาย หรือ พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น เช่น การสั่งอาหารและสินค้าจากช่องทางออนไลน์ 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกเรียกว่า Digital Disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนผ่านดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องตระหนักรู้เป็นอย่างมาก เพราะมีหลากหลายองค์กรยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ล่มสลายเพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทันในยุค Digital Disruption

Disrupt จึงอยากนำเสนอความหมายของ Digital Disruption ตัวอย่างธุรกิจ และการปรับตัวในยุค Digital Disruption เพื่อให้องค์กรพร้อมกับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้ง 🚀

Highlight

  • Digital Disruption คือการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจุดสำคัญของพฤติกรรมในยุค Digital Disruption คือ ความสะดวก ความรวดเร็ว และความเป็นตัวเองของผู้บริโภค 
  • มีหลากหลายเทคโนโลยีที่เกิดมาพร้อมกับ Digital Disruption ไม่ว่าจะเป็น AI, Cloud Service และ Personalized Innovation ซึ่งทำให้ธุรกิจปรับตัวและยืดหยุ่นได้ตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ดังนั้นองค์กรต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมข้อมูลที่มีคุณภาพ การปรับกระบวนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร 
  • มีโมเดลธุรกิจเกิดขึ้นมากมายในยุค Digital Disruption เพราะพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นจากการซื้อขาดเป็น Subscription Model (เช่นNetflix และ Adobe) หรือ Access-over-Ownership Model (เช่น Grab และ Airbnb) ที่เน้นการเข้าถึงสินค้าและบริการมากกว่าการเป็นเจ้าของ

Digital Disruption คือ ?

Digital Disuprtion เกิดจากการรวมตัวของคำสองคำอย่าง ‘Digital’ ที่หมายถึงกี่เกี่ยวข้องกับตัวเลข (ความหมายตามพจนานุกรม) หรืออาจจะรู้กันในความหมายของการเก็บข้อมูลและแสดงผลของคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ รวมไปถึงโทรศัพท์ และ ‘Disruption’ ที่หมายถึงการทำลายหรือการหยุดชะงัก 

ถ้าแปลคำว่า Digital Disruption อย่างตรงไปตรงมาจะหมายถึงการหยุดชะงักที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล ซึ่งหลาย ๆ ท่านแล้วอาจจะงงกว่าเดิม…

ณ ปัจจุบันนั้น Digital Disruption ถูกตีความไปหลากหลายรูปแบบ และความหมายก็อาจจะทับซ้อนกับ Digital Transformation  เสียด้วยซ้ำ แต่จากการค้นหาข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มาผู้เขียนมองเห็นว่าความหมายจาก Gartner น่าจะอธิบายความหมายของ Digital Disruption ได้เห็นภาพและเข้าใจง่ายที่สุด 

“Digital Disruption คือผลกระทบที่เปลี่ยนพื้นฐานของความคาดหวังและพฤติกรรมในวัฒนธรรม ตลาด อุตสาหกรรม และกระบวนการที่เกิดขึ้นหรือถูกแสดงผ่านความสามารถทางดิจิทัล ช่องทาง หรือสินทรัพย์ ”

[ Gartner – Digital disruption is an effect that changes the fundamental expectations and behaviors in a culture, market, industry, or process that is caused by, or expressed through, digital capabilities, channels, or assets. ]

ตัวอย่างของ Digital Disruption มีให้เห็นอยู่มากมาย เช่น การที่คนเลือกซื้อและบริโภคสินค้าทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น การที่คนสามารถดูหนังหรือสื่อความบันเทิงได้จากที่บ้าน ไม่ต้องไปโรงภาพยนตร์หรือเช่าแผ่นอีกต่อไป 

รายงานของ BCG ที่สะท้อนให้ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุค Digital Disruption ไม่ว่าจะเป็น 

  • Always on, Digital First:  คนไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์ถึงวันละ 8 ชั่วโมง
  • Value-Seeking: คนไทยมีรายได้ลดลงหลังจากช่วงโควิด 19 แต่อัตราการใช้จ่ายกลับเยอะขึ้น โดยคนไทยมักให้ความสนใจกับแบรนด์ที่มี ‘เรื่องราว’ หรือความเป็น ‘ชุมชน’ (Sense of Community)
  • Convinience-Driven: คนไทยขับเคลื่อนด้วยความสะดวกสบาย สนใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ ‘ตัวเอง’ และในหมู่วัยรุ่นอย่าง Gen Z สามารถจดจ่อหรือมีสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเฉลี่ยยแค่ 8 วินาทีเท่านั้น 
  • Social Conscience: ผู้บริโภคชาวไทยมีความตระหนักรู้ด้านสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม การเมือง รวมไปถึงคุณธรรมและธรรมาภิบาลขององค์กรอีกด้วย 

จะเห็นได้ว่าการมาถึงของ Digital Disruption ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่สำคัญขององค์กรที่ต้องปรับตัวให้ทันความต้องการของผู้บริโภค

  “เพราะความสำเร็จในวันวาน ไม่อาจนำพาชัยชนะในอนาคต”

มีหลากหลายองค์กรที่เคยเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่แต่กลับเหลือเพียงแค่ ‘ชื่อ’ ในปัจจุบัน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็น Blockbuster, Kodak, Yahoo และ BlackBerry 

แน่นอนว่าในฐานะองค์กร ไม่มีใครอยากเป็นดังชื่อแบรนด์ที่กล่าวมา…แต่จะทำยังไงเพื่อให้องค์กรก้าวทัน Digital Disruption?

การปรับตัวขององค์กรเพื่อรับมือ Digital Disruption

การรับมือกับ Digital Disruption

อย่างที่กล่าวไปว่า Digital Disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมของคนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้นแนวทางในการมีส่วนร่วมของแบรนด์และผู้บริโภคก็ย่อมแตกต่างออกไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการของตลาด การซื้อและจ่ายเงิน รวมไปถึงการสื่อสาร ดังนั้นองค์กรจึงต้องเปลี่ยนวิธีการดำเนินการเพื่อรับมือกับ DIgital Transformation 

แล้วองค์กรต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรับมือกับ Digital Transformation 

ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เปิดรับความเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีใหม่อยู่เสมอ

องค์กรต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเดิมที่มีอยู่ ให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันหรือแม้แต่ในอนาคต การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต้องไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนคำขวัญใหม่ในองค์กร แต่คือการเปลี่ยนแปลง ‘พฤติกรรม’ ผู้นำและพนักงานในองค์กร ให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ไวและดีที่สุด 

 เช่น หากองค์กรต้องการสร้างความยืดหยุ่นมากขึ้น จนไปถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบทำงานเป็นการทำงานแบบ Agile องค์กรต้องเปลี่ยนแนวการส่งข้อมูลระหว่างแผนก หรือระหว่างระดับจากพนักงานสู่ผู้บริหาร หรือจากผู้บริหารสู่พนักงาน รวมไปถึงอำนาจและระบบของการตัดสินใจภายในองค์กร ให้กระชับและรวดเร็วที่สุด เพื่อการสร้างงานที่มีประสิทธิภาพในองค์กร 

เรียนรู้แนวทางการบริหารงานแห่งอนาคต ‘Holacracy ระบบการบริหารแบบไร้ผู้นำ’ 

นอกจากนี้องค์กรยังสามารถทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในระบบการทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์กรเพื่อให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Cloud ที่เอื้อประโยชน์ในการ Work from Home หรือ AI ทั้งในรูปแบบ Generative AI และ Predictive AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience)

จากเทรนด์ผู้บริโภคในประเทศไทยจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคต้องการความเป็น ‘ตัวเองมากขึ้น’ จะเห็นได้ว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จในยุค Digital Disruption คือองค์กรที่สามารถปรับเนื้อหา สินค้า และบริการของตัวเองให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience)

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ณ ปัจจุบันคืออัลกอริทึม (Algorithm) ในสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่จะสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้งานผ่านความชอบ (เช่น ประเภทของคอนเทนต์ เสียงประกอบ ความยาวของแคปชั่น) และปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ (เช่น ระยะเวลาที่ใช้กับคอนเทนต์ การไลก์ คอมเมนต์ และแชร์โพสต์) โดยโซเชียลมีเดียจะพยายามป้อนข้อมูลที่ผู้ใช้งานชอบ และในขณะเดียวกันผู้ผลิตคอนเทนต์หรืออินฟลูเอนเซอร์(Influencer) ก็ต้องพยายามสร้างคอนเทนต์ที่ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า เพื่อแย่งพื้นที่สื่อที่มีการแข่งขันสูง

องค์กรต้องสามารถคิดถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างคอนเทนต์ในสื่อโซเชียลมีเดีย แต่ยังรวมไปถึงการวางระบบการทำงานหรือการบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด องค์กรต้องพร้อมเป็นผู้นำเทรนด์ใหม่ ไม่ใช่แค่ผู้ตามในสนามรบแห่งนี้

ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ในหลาย ๆ องค์กรที่ต้องการจะสร้างนวัตกรรมใหม่หรือกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ในหลายครั้งของการสร้างนวัตกรรมหรือทำงานที่ส่งให้กับลูกค้า องค์กรมักจะมีภาวะที่เรียกว่าหลงรักงานตัวเอง ทำให้ในหลาย ๆ ครั้งเมื่อปล่อยผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่ตลาดกลับไม่มีลูกค้าใช้ เพราะไม่มีข้อมูลมารองรับการออกแบบและการตัดสินใจ รวมไปถึงไม่ฟังเสียงและความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง 

ดังนั้นองค์กรควรเริ่มต้นที่จะเก็บข้อมูลของลูกค้าที่จำเป็นและ ‘สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจ’ ให้กับองค์กรได้อย่างแท้จริง เพราะข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ≠ ข้อมูลที่ดีเสมอไป พร้อมส่งเสริมวัฒนธรรมการพูดคุยและตัดสินใจกันด้วยข้อมูล ไม่เพียงแค่ใช้ประสบการณ์หรือความรู้สึกมาตัดสินใจเพียงอย่างเดียว

สร้าง Partners เพื่อการเติบโตที่ก้าวกระโดด

ดังคำกล่าวที่ว่า “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” ในสนามรบที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน การเดินไปคนเดียวอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอไป การจับมือกับองค์กรอื่นเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถขยายขีดความสามารถทางการแข่งขันไปให้ได้ไกลกว่าเดิม การสร้าง Partners อาจจะเป็นได้ทั้งในรูปแบบเพื่อสร้างความแข็งแกร่งเดิมให้มั่นคง หรือการสร้างกลุ่มธุรกิจใหม่เพื่อขยายตลาดและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่นั่นเอง

เทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาสร้างประโยชน์ในการทำงานในยุค Digital Disruption

  • Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning คือเทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล โดยเทคโนโลยีทั้ง 2 ตัวสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการทำ Hyper-Personalization การตรวจสอบการทุจริตในธุรกิจการเงิน และ Generative AI อย่าง ChatGPT หรือ Mid-Journey 

  • Cloud services

Cloud Service อาจจะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเก็บข้อมูลและไฟล์ต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้ ไม่จำเป็นต้องเก็บบนกระดาษหรือในสำนักงานให้เปลืองพื้นที่อีกต่อไป โดย Cloud Service ทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ตัวอย่างของ Cloud Service เช่น Amazon Web Service (AWS), Microsoft Azure และ Google Cloud Platform (GCP)

  • Blockchain

Blockchain คือเทคโนโลยีสำหรับการดำเนินในรูปแบบดิจิทัลเพื่อสร้างความโปร่งใสและความปลอดภัยในระบบการทำงาน Blockchain ทำงานโดยที่แต่ละกล่องข้อมูล (หรือ Node) ถูกเชื่อมกันในรูปแบบคล้ายกับ ‘โซ่’ และ Node ถูกเชื่อมต่อกัน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลเกิดขึ้น ทำให้ Node อื่น ๆ รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูบ ด้วยระบบการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้อย่างโปร่งใส

  • 3D printing

3D Printing หรือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นนวัตกรรมการพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยี ที่ช่วยในการปรับกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากองค์กรสามารถสั่งทำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ (Prototype) เพื่อนำไปทดสอบกับลูกค้า และสามารถนำกลับมาปรับแก้เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุดได้อย่างรวดเร็วและลดต้นทุน โดย 3D Prinitng มีการใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น เช่น ยานยนต์ เครื่องประดับ สถาปัตยกรรม รวมไปถึงอาหาร!

3D Printing กับ Digital Disruption
(3D Printing Technology)
  • Personalized’ Technology and Innovation 

จะเห็นได้ว่า Digital Disruption ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ‘ความสนใจในตัวเอง’ รวมไปถึง ‘ความสะดวกสบายและความรวดเร็ว’ ทำให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มาตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนไป เช่น Hyper-Personnalization หรือระบบการแนะนำสินค้าและบริการที่ปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้ และ Chatbot and Smart Assistants หรือแชทบอทและผู้ช่วยอัจฉริยะ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายไม่ว่าจะทั้งในบ้าน หรือการเข้าถึงสินค้าและบริการต่าง ๆ

ตัวอย่างธุรกิจประสบความสำเร็จในยุค Digital disruption

Freemium Model

Freemium Model คือโมเดลธุรกิจที่ให้ลองใช้ ‘ฟรี’ ก่อนที่จะคิดว่าบริการจริง ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจที่เป็นที่นิยมอย่างมากใน Digital Products เช่น Netflix, Spotify รวมไปถึงธุรกิจสื่ออย่าง Medium และ Wall Street Journal ที่จะให้ลองอ่านบทความฟรีก่อนที่จะคิดค่าบริการ

โดยประโยชน์ของ Freemium Model คือการให้ลูกค้าเข้าถึง Product ได้ฟรี และองค์กรยังสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าระหว่างการทดลองใช้ เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอด Product ได้อย่างต่อเนื่อง 

Subscription Model

Subscription Model คือโมเดลธุรกิจที่ผู้ใช้งานต่อจ่ายค่าบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าใช้สินค้าและบริการ ซึ่งธุรกิจ Subscription Model เป็นส่วนต่อเนื่องจาก Freemium Model เพื่อให้ลูกค้าได้ลองใช้สินค้าและบริการก่อนจ่ายค่าบริการ หากสินค้าและบริการตอบโจทย์

On-Demand Model

On-Demand Model คือโมเดลธุรกิจที่นำเสนอสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ ส่งตรงจากมือผู้ให้บริการไปหาผู้บริโภคในระยะเวลาอันสั้น หรือตามความต้องการของลูกค้า ประเภทตัวอย่างของธุรกิจนี้คือบริการเรียกรถโดยสาร ส่งอาหาร และส่งของผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Grab, Lineman, และ Robinhood 

Food Delivery กับ Digital Disruption

Access-over-Ownership Model

Access-over-Ownership Model คือโมเดลธุรกิจที่ให้ลูกค้า ‘เช่า’ สินค้า โดยโมเดลธุรกิจนี้เน้นสิทธิ์ในการเข้าถึงสินค้าประเภทต่าง ๆ มากกว่าการเป็นเจ้าของสิ่งหนึ่ง เช่น Airbnb แอปพลิเคชันที่ให้บริการเช่าบ้านหรือคอนโดสำหรับที่พักในช่วงวันหยุด เหมาะสำหรับคนที่อยากเที่ยว แต่ยังอยากได้บรรยากาศของ ‘บ้าน’ มากกว่าการนอนโรงแรมทั่วไป  

Ecosystem Model

Ecosystem Model คือโมเดลที่สร้างเครือข่ายของสินค้าและบริการในแบรนด์ของตัวเอง เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายจากการเชื่อมต่อของผลิตภัณฑ์ และเพิ่ม Loyalty ต่อตัวแบรนด์อีกด้วย โดยเจ้าพ่อของวงการ Ecosystem Model คือ Apple ที่ทุกผลิตภัณฑ์สามารถเชื่อมกันได้อย่างไร้รอยต่อ พร้อมกับมีบริการต่าง ๆ เฉพาะของแบรนด์อย่าง iCloud และ Apple Music อีกด้วย

บทสรุป Digital Disruption และการเตรียมพร้อมขององค์กร

การมาถึงของ Digital Disruption ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแค่ในธุรกิจออนไลน์หรือบนแพลตฟอร์มเท่านั้น ในภาคการผลิตหรือสินค้ามูลค่าสูงอย่างรถยนต์หรือที่อยู่อาศัยก็ถูก Disrupt เช่นเดียวกัน 

องค์กรต้องพร้อมเปลี่ยนความสำเร็จในอดีต เพื่อชัยชนะแห่งอนาคต

สำหรับองค์กรที่ไม่มั่นใจว่าควรจะเริ่มอย่างไร Disrupt Technology Venture มาพร้อมกับหลักสูตร Corporate Training Program เตรียมพร้อมให้องค์กรของคุณพร้อมรับมือ Digital Disruption และเริ่มต้นในการทำ Digital Transformation ในองค์กร

ตัวอย่างหลักสูตรอบรมเตรียมพร้อมสำหรับ Digital Transformation 

🌟 หลักสูตร D.A.T: Data, AI, and Tech Skills 

  • การวิเคราะห์ข้อมูลในองค์กรยุคใหม่ (Data Analytics)
  • การประยุกต์ใช้ AI กับผู้บริหารและหน่วยธุรกิจต่าง ๆ (AI for Executives and Business Function)
  • การวางแผนสำหรับ Digital Transformation (Digital Transformation Strategy)

🌟 หลักสูตร Business Acumen and Innovation Development: การสร้างไหวพริบทางธุรกิจและการสร้างนวัจกรรม  

  • กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategic Planning)
  • โครงการบ่มเพาะและเร่งนวัตกรรมในองค์กร (Acceleration and Incubation Program)

Ref:

https://www.repsol.com/en/energy-and-the-future/technology-and-innovation/disruptive-technologies/index.cshtml

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง