เทรนด์เทคโนโลยี Disruptive Edtech พลิกโฉมการเรียนรู้แห่งอนาคต

December 21, 2020
Pat Thitipattakul

Edtech startups กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วง Covid-19 เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในภาคการศึกษา ทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น นักลงทุนทั่วโลกมีการคาดการณ์ว่า unicorn ต่อ ๆ ไปจะมาจากภาคการศึกษา เพราะนี่คือจังหวะที่คนพร้อมรับการใช้เครื่องมือ digital มากขึ้น การศึกษากำลังถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยี การศึกษาไม่ได้ปิดกั้นอยู่แค่ในโรงเรียนอีกต่อไป ทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีผู้คนจำนวนมากที่ต้อง reskill เพื่อเอาตัวรอดจาก digital disruption ที่ปฏิวัติตลาดแรงงาน

ในบทความนี้ จะมาดูกันว่ามีเทรนด์เทคโนโลยีอะไรบ้างที่เข้ามาพลิกโฉมการเรียนรู้ มี Edtech startup อะไรบ้างที่น่าสนใจ และการเรียนรู้แห่งอนาคตจะเป็นเช่นไร?

1. Personalized learning powered by data / AI ปลดล็อคศักยภาพการเรียนรู้

ในระบบการศึกษาคุณครู 1 คนคงไม่สามารถดำเนินการสอนให้ตอบโจทย์ตรงกับระดับทักษะที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคนได้ ทำให้เกิดปัญหานักเรียนที่เรียนไม่เก่งก็รู้สึกท้อ เพราะตามไม่ทัน ส่วนนักเรียนที่เข้าใจแล้ว ก็จะรู้สึกว่าคุณครูสอนช้า ไม่ได้พัฒนาทักษะได้อย่างเต็มที่ เป็นข้อจำกัดของประสบการณ์เรียนรู้ในห้องเรียน

จาก pain point นี้ ในบางประเทศได้เริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยี AI มาเป็นผู้ช่วยคุณครู โดยให้นักเรียนเรียนรู้บทเรียนบางส่วนและทำแบบทดสอบผ่านระบบออนไลน์แบบ interactive ซึ่ง AI จะคอยประมวลผล เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับแต่ละคนมาให้เรียนและทดลองทำ นักเรียนที่เรียนเก่งก็ได้จะได้ content ที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ฝึกฝนทักษะอย่างเข้มข้น ส่วนนักเรียนที่ยังไม่เข้าใจก็จะสามารถฝึกฝนทำไปได้ โดยไม่ต้องกดดัน เริ่มต้นจาก content ง่าย ๆ สร้างแรงบันดาลใจ ไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร เป็นการแข่งขันกับตัวเอง

AI ไม่ได้มาทดแทนคุณครู 100% วิธีการนี้ได้เปลี่ยนบทบาทคุณครูจากผู้สอนแบบ one-way มาเป็น facilitator ที่คอยสนับสนุนเด็ก ๆ แต่ละคนในเรื่องที่ติดขัด คุณครูจะมีข้อมูลว่าเด็กคนไหนเก่งเรื่องไหน เรื่องไหนที่ต้องการข้อแนะนำ ช่วยให้คุณครูสามารถดูแลเด็ก ๆ ได้ทั่วถึงมากขึ้น คุณครูยังมีบทบาทที่สำคัญอยู่มากในเรื่องการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมส่งเสริมการเรียนรู้ การสร้างความสัมพันธ์ในห้องเรียน และการพัฒนาทักษะ soft skills ให้เด็ก ๆ เป็น human skills ที่ขาดไม่ได้ และ AI ทำไม่ได้

Case study: 17zuoye หนึ่งใน Edtech unicorn จากประเทศจีน

แพลตฟอร์มที่ใช้ AI ในการทำ personlized learning โดยให้คุณครูสั่งการบ้านได้ง่ายให้นักเรียนแต่ละคน มีระบบตรวจการบ้านอัตโนมัติ และสำหรับนักเรียนที่ยังทำไม่ค่อยได้ ระบบจะช่วย suggest ให้เรียนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะ

ตัวอย่างวิชาที่สร้าง impact ได้มากคือวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งบางครั้งคุณครู 1 ท่านต้องดูแลนักเรียนเป็น 100 และนักเรียนหลายคนมีปัญหาเรื่อง pronunciation แต่คุณครูไม่สามารถมาช่วยฝึก 1-1 ทีละคนได้ เมื่อใช้ระบบนี้ทำการบ้าน นักเรียนแต่ละคนสามารถฝึกฝนใน app โดยได้รับ feedback ทันทีได้เลย คุณครูก็สามารถเข้ามาดูข้อมูลการฝึกของนักเรียนแต่ละคนได้ และนำข้อมูลนี้ไปปรับการเรียนการสอนในห้อง

2. Robotics & IoT เสริมทักษะแห่งอนาคต

การเรียนรู้จากแค่หนังสือในหลักสูตรอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะทักษะแห่งอนาคตให้ความสำคัญกับทักษะความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างเป็นระบบ และการแก้ปัญหา มากกว่าความรู้เชิง technical

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการสอนวิชากลุ่ม STEAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยคุณครูให้สามารถก้าวทันกับองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ใช้เทคโนโลยี Robotics & IoT ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากการคิด การลงมือทำจริง โดยจำลองจากสถานการณ์จริง ในอนาคต เทคโนโลยีเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีราคาถูกลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น มีการคาดการณ์โดยบริษัทวิจัย Research and Markets ว่าตลาด educational robots จะเติบโตขึ้น CAGR 16%

Case study: LocoRobo เรียนรู้หลากหลายทักษะจากการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์

LocoRobo พัฒนาชุดของเล่นหุ่นยนต์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสอนให้คุณครู ช่วยให้คุณครูที่แม้จะไม่ได้มี background ด้านคอมพิวเตอร์ก็สามารถสอนหลักการ programming ได้ และสามารถต่อยอดไปประยุกต์สอนเรื่องคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ศิลปะ ดนตรี การอ่าน การออกแบบได้ด้วย ทำให้คุณครูทุกท่านสามารถสอนวิชาใหม่ ๆ ได้ อีกทั้งนักเรียนยังได้ฝึกฝนทักษะผ่านการทำ project ฝึกทำงานกันเป็นทีม ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน การช่วยกันแก้ปัญหา ฝึกทักษะการสื่อสาร พลิกโฉมการเรียนรู้แบบเดิม ๆ

Case study: Ozobot 1-1 Hybrid program for remote learning ช่วยคุณครูดำเนินการสอน STEAM ผ่านออนไลน์ การเรียนแบบลงมือทำไม่ได้จำกัดอยู่แค่แบบออฟไลน์ตัวต่อตัวอีกต่อไป!

Ozobot เป็นผู้พัฒนาหุ่นยนต์และเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน STEAM และ coding สำหรับใช้ในห้องเรียน ในช่วง Covid-19 ที่ผ่านมา ทาง Ozobot ได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์ช่วยแก้ pain point คุณครูที่ต้องผันตัวมาสอนออนไลน์ ซึ่งคุณครูส่วนมากเมื่อต้องมาสอนออนไลน์มักจะเจอปัญหาเรื่อง engagement ของเด็ก อีกทั้งเด็กเล็กเองก็ไม่ควรนั่งอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ทำอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินการสอนต่อไปได้แบบไม่ติดขัด?

Ozobot มุ่งสร้างความแตกต่างโดยพัฒนาหลักสูตรวิธีการสอนทางไกลและเกมส์การเรียนรู้ให้คุณครู ผสมผสานการเรียนออนไลน์เข้ากับการลงมือทำจริงจากที่บ้าน โดยมีการส่งตัว robot ไปให้เด็ก ๆ ทดลองทำที่บ้าน และตัว robot จะส่งข้อมูลผ่านทางระบบมาให้คุณครู ทำให้คุณครูสามารถติดตามผลได้ว่าเด็ก ๆ ไปลองทำแล้วเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่มีอุปกรณ์ IT ก็สามารถใช้ได้ หากไม่สะดวกทำกิจกรรมบนคอมพิวเตอร์หรือ tablet ก็สามารถระบายสี วาดรูป บนกระดาษที่เตรียมมาให้แล้วให้หุ่นยนต์อ่านผลก็ทำได้

3. AR/VR พลิกโฉมวิธีการเรียนรู้

Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) เป็นที่รู้จักกันมาในแวดวงสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วตั้งแต่ที่เกมส์ Pokemon Go ได้รับความนิยมทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม niche เฉพาะกลุ่ม ยังไปไม่ถึง mass adoption และยังไม่ได้มี use case ที่ชัดเจนมากนัก มีการนำไปประยุกต์ใช้ในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการศึกษาด้วย

สำหรับในภาคการศึกษาเองก็มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบวิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้มีความ interactive และ immersive มากขึ้น เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่จำลองสถานการณ์ที่เข้าถึงยากในชีวิตประจำวัน เช่น การทำการทดลองวิทยาศาสตร์ การผ่าตัด การเดินทางไปต่างประเทศ หรือในบริบทของการทำงาน ก็สามารถนำมาใช้ฝึกฝนพนักงานใหม่ในการใช้เครื่องจักร การเทรนพนักงานที่อยู่ต่างสาขา การฝึกซ้อมโต้ตอบกับลูกค้าในสถานการณ์จำลอง

แม้ยังมีอุปสรรคในเรื่องการใช้งานอยู่ แต่ในปี 2020 นี้ เทคโนโลยี AR/VR กลับมาได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Facebook และ Apple ประกาศตัวเข้ามาบุกตลาดนี้ สร้าง ecosystem ใหม่ เปิดโอกาสให้นักพัฒนารายย่อย ในช่วง 3-5 ปีนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าจะรุ่งหรือร่วง หากทำได้สำเร็จ จะเกิดเป็นโอกาสใหม่ ๆ ในตลาด เปิดตลาดใหม่ที่ใหญ่มาก ครอบคลุมหลากหลาย industry เข้าถึงผู้ใช้จำนวนมาก

ตัวอย่างการนำ AR และ VR มาใช้ในห้องเรียน และการฝึกพนักงาน

Case Study:

1. การใช้ Virtual Reality เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

Titans of Space:

VR Application ที่ทำให้นักเรียนสามารถออกไปผจญภัยในอวกาศ เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของนักบินอวกาศ ซึ่งนอกจากจะทำให้นักเรียนเข้าใจระบบสุริยะมากขึ้นแล้ว ยังส่งเสริมจินตนาการให้กับนักเรียนมากขึ้นอีกด้วย


Tilt Brush:

Application ที่ส่งเสริมจินตนาการของนักออกแบบ โดย VR Application นี้ ทำให้นักเรียนและนักออกแบบสามารถวาดรูป และดีไซน์งานต่าง ๆ ในรูปแบบ 3D

Virtual Medicine:

ระบบ VR ที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจถึง anatomy และระบบต่างๆในร่างกายในรูปแบบ 3D ทำให้นักศึกษาแพทย์สามารถฝึกผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น


2. Health & Safety and Product Training ในองค์กร

การนำ VR เข้ามาใช้ ช่วยเตรียมความพร้อมให้กับพนักงาน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การถูกปล้น หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Verizon ได้มีการนำ VR มาใช้ในการเทรนพนักงานมากกว่า 22,000 คน โดยเห็นผลได้อย่างชัดเจนว่า ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มมากขึ้นถึง 10% และ 97% ของพนักงานรู้สึกพร้อมหากต้องพบเจอสถาณการณ์การถูกปล้นในอนาคต

นอกจากนี้ VR ยังสามารถที่จะนำมาใช้ในการเทรนพนักงานในการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทำให้พนักงานเข้าใจ product ใหม่ ๆ ของ บริษัทมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Walmart ที่ได้นำ VR มาใช้ในการเทรน product ใหม่ให้กับพนักงาน โดยลดระยะเวลาในการเทรนมากถึง 96% จากที่เมื่อก่อนใช้เวลาเทรนมากถึง 8 ชั่วโมง เหลือเพียง 15 นาที

เจาะลึกเทรนด์เทคโนโลยีการเรียนรู้แห่งอนาคต!

หากคุณเป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ และสนใจเรื่องราวล้ำ ๆ ในแวดวง Edtech ระดับโลก ห้ามพลาดงาน Education Disruption Virtual Conference! พบกับ speaker ชื่อดังผู้เชี่ยวชาญด้าน Edtech จากทั่วโลกจาก HolonIQ, Learn Capital, Khan academy, Edmodo ที่จะมาแชร์ insights เชิงลึกแบบที่หาได้ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น ให้คุณได้ก้าวทันเทรนด์เทคโนโลยีระดับโลกที่จะเข้ามาปฏิวัติการเรียนรู้

พบกับหัวข้อ “Edtech in the post covid world” โดย Michael Staton, Partner of Learn Capital กองทุนระดับโลกที่ลงทุนใน EdTech ชื่อดังอย่าง ClassDojo, Coursera, VIPKID, Udemy จะมาแชร์มุมมองว่าโลกของการศึกษาในยุค new normal จะเป็นเช่นไร Edtech ควรปรับตัวอย่างไรเพื่อคว้าโอกาสจากพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงบทบาทของเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในแวดวงการศึกษาอย่าง VR/AR, AI, Big Data, IoT

“Scaling Edtech Globally” โดย Bilal Musharaf, Ex-Khan Academy and Edmodo, VP Expansion of Noon Academy ผู้มากประสบการณ์ด้านการขยายตลาด Edtech สร้างฐานผู้ใช้ทั่วโลก สร้างฐานลูกค้าใหม่ในต่างประเทศ จะมาแชร์เคล็ดลับการทำ Global Business Expansion โดยเฉพาะในบริบทของ Edtech startup ซึ่งมักประสบปัญหาในการขยายไปต่างประเทศจากการทำ localization ซึ่งใน session นี้ คุณ Bilal จะมาเผยแพร่ความรู้ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน! เพื่อช่วยให้ startup ไทยสามารถขยายไปต่างประเทศได้ สร้าง impact ได้กว้างไกลยิ่งขึ้น เป็นความภูมิใจของคนไทย

“Global Education Landscape” โดย Maria Spies, Co-founder and Managing Director of HolonIQ แพลตฟอร์มข้อมูลเทรนด์และงานวิจัยทางการศึกษาระดับโลกซึ่งได้วิเคราะห์มาจากการใช้ Machine Learning ดึงข้อมูล 5,000 จุดจากแหล่งข่าวชั้นนำทั่วโลก ผนวกกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่ทำงานวิจัยการศึกษาอย่าง World Bank, OCED และ UNESCO ซึ่งจะมาเผยเทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต 10 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะเข้ามา disrupt การศึกษาแบบเดิม ๆ และฉายภาพตลาดการศึกษาในระดับโลกว่ามีโอกาสอะไรบ้างที่น่าสนใจ

Content รูปแบบ Online รับชมได้ตั้งแต่ 14 - 28 พฤศจิกายน ผ่าน Online Platform

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง