Sorn Potsathorn
Business Analyst Intern at Disrupt Technology Venture
ทุกวันนี้ ภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อสังคมไทย
แต่หากพูดถึงศักยภาพของเด็กไทยในการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริง
ยังคงเป็นคำถามให้คิดอยู่อีกมาก โดยเฉพาะผลการสอบระดับชาติในวิชา
ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มวิชาที่มีค่าเฉลี่ยน้อยอยู่เสมอ
เมื่อโลกทุกวันนี้ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวหมุนเร็วมากขึ้น การสื่อสารกับโลกภายนอกจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งทำให้บทบาทของภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ กับเด็กรุ่นใหม่ที่จะก้าวสู่การเป็นอนาคตของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความท้าทายที่สำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เด็กในยุคปัจจุบัน
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการเติบโตของนักเรียนในยุคปัจจุบันเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน ทำให้เด็กยุคข้อมูลข่าวสารใช้เวลากับส่วนมากทั้งเล่นและเรียนรู้อยู่ในสื่อออนไลน์
สื่อการสอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของภาพ, เสียง (Audiobook), วิดิโอ (Youtube), คอมพิวเตอร์ (Games), หรือสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) สามารถออกแบบให้เกิดเป็นสื่อการให้ความรู้ได้แทบทุกช่องทาง
ดังนั้น สื่อออนไลน์ (Digital Content) จึงมีบทบาทที่สำคัญมากต่อพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะด้านภาษา จึงเป็นความท้าทายใหม่ในการสร้างสรรค์สื่อการสอนที่มีความน่าสนใจ พร้อมทั้งก่อให้เกิดการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลจริง ๆ
ความต้องการของเด็กรุ่นใหม่ในการเรียนภาษาเปลี่ยนแปลงไป โดยจากผลการสำรวจ พบว่า “วัย Gen Y และ Gen Z มีความต้องการเพิ่มพูนความรู้เพื่อไปใช้ในการทำงาน มาก่อนการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน”
จะเห็นว่าแรงจูงใจในการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการเรียนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการเรียนเพื่อได้ใช้ในการทำงานเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อความต้องการของบทเรียนหรือหลักสูตรที่ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ
ดังนั้น การทำบทเรียนที่ตอบโจทย์เด็กรุ่นใหม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้เด็กได้สนใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและตอบโจทย์เป้าหมายของการใช้ภาษาของเด็กรุ่นใหม่
การสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ในแพลตฟอร์มเป็นปัจจัยที่สำคัญของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับเด็กรุ่นใหม่
ผู้คนในยุคอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะวัยแห่งการเติบโตในปัจจุบันมักจะใช้เวลามากไปกับการเล่นเกมหรือใช้งานโซเชียลมีเดีย ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนทุกวันนี้มีการใช้งานที่มากขึ้นเรื่อย ๆ คือ “ปฏิสัมพันธ์ (Interaction)” โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นแรงดึงดูดให้ผู้ใช้มีความสนใจด้วยตัวของตัวเองไปพร้อม ๆ กับการเล่นหรือใช้งานภายในแพลตฟอร์ม
ดังนั้น ความท้าทายของการสร้างแพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน คือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ”ผู้เรียนกับผู้เรียน” หรือ “ผู้เรียนกับครูผู้สอน” ที่ทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นมากกว่าการแค่ไปนั่งเรียนในจอสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์
Source :
https://bridgeenglish.com/blog/2013/04/08/5-reasons-why-you-should-learn-english/
http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/899/Digilearn_infographic