Neuy Priyaluk
Business Development Associate
It’s the time to rebuild the foundation and create the future together.
Transform without losing your soul.
Transform with the sense of urgency
โลกการทำงานกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในแบบที่มนุษยชาติไม่เคยพบเจอมาก่อน เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราทุกคนจะต้อง “ปรับตัว”
ทุก ๆ ท่าน เคยได้ยินคำว่า Lazy Economy ไหม? แล้วทราบไหมว่า มันหมายถึงอะไร?
Lazy economy คือ เศรษฐกิจแบบใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยกลุ่มผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ที่ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า พฤติกรรมขี้เกียจของ Lazy consumer
โลกจะเปลี่ยนไปมากกว่าศตวรรตที่ผ่านมา เพราะวิกฤต covid-19 เป็นตัวเร่งเครื่องสู่การเปลี่ยนแปลง จะทำให้มีโอกาสต่าง ๆ มากมายเปิดรับให้คนได้ไขว่คว้า ไม่ว่าจะเป็น EdTech หรือ HealthTech ต่างเร่งเครื่องกันด้วยความแรงและเร็ว
BioTech หรือ cellular medicine จะช่วยให้เราสามารถรักษาโรคเรื้อรังให้หายได้ ด้วยวิธีการรักษาที่เริ่มตั้งแต่ระดับเซลล์ การ disrupt เช่นนี้ จะส่งผลให้คนมีอายุยาวนานขึ้น ส่งผลกระทบต่อไปยังอุตสาหกรรมประกัน (insurance) และยังคงส่งผลให้เกิดการยืดของอายุวัยเกษียณ เกิดการจ้างงานใหม่ (re-employment) เมื่อคนสูงอายุทำงานมากขึ้น ส่งผลให้คนวัยทำงาน หรือวัยหนุ่มสาว กลัวการเกิดปัญหาว่า งานที่มีอยู่ในตลาด จะมากเพียงพอกับจำนวนคนที่ขยายขนาดมากขึ้นหรือไม่
What will happen when olds stay longer and youngs have no hope….?
คำตอบก็คือ เราต้อง reskill ตลอดเวลา
Disruption จะส่งผลกระทบแบบ domino effect และยังคงอาจจะเกิดการบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า convergence ส่งผลให้เกิดผลกระทบอย่างมหาศาล ที่จะกระทบกันไปในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้หลายทิศทาง เมื่อก่อน Computer science หรือ data science เป็นอาชีพมนุษย์ทองคำ แต่ตอนนี้เกิด no-code ซึ่งหมายถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบง่าย โดยแทบจะไม่ต้องเขียนโปรแกรมอะไรเลย เพียงแต่มีการทำการวิเคราะห์และ visualized ออกมาให้เข้าใจได้ง่าย ดังนั้น คนจึงต้อง upskill ให้ตัวเองทำได้มากกว่างานพื้นฐานที่ใครทุกคนก็สามารถทำได้ คนทำงานและองค์กรต้องปรับตัวเองในเรื่อง นวัตกรรม ดิจิทัล และข้อมูล เป็นแก่นกลางสำคัญ เพราะจะไม่มีอุตสาหกรรมใด ที่สามารถเลี่ยงเทคโนโลยีได้เลย ทุกอุตสาหกรรมจะถือเป็นอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเทคโนโลยีนี้ จะเป็นตัวที่ทำให้ กรอบของแต่ละอุตสาหกรรมนั้น กว้างขึ้น และไร้กฎเกณฑ์มากยิ่งขึ้น
คุณกระทิงได้พูดและเน้นย้ำถึง 3 สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนทำงานสามารถอยู่รอดได้ในโลกแห่งการทำงานในอนาคตนี้ โดยเริ่มจาก
“หลักฐาน” จากแก่นของเรื่องราว และความมีเหตุผลมีผลในการวิเคราะห์ข้อมูล นั้นสำคัญมากกว่า ชื่อเสียงและตำแหน่งในองค์กร
ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ควรที่จะเกิดจากการเอาข้อมูล และสถิติต่างๆ มาเปรียบเทียบ และช่วยในการตัดสินใจ โดยไม่ยึดติดกับประสบการณ์ความเชี่ยวชาญเดิมๆ มากเกินไป เพราะไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าอนาคตจะเป็นเปลียนแปลงไปเป็นเช่นไร
การใช้ “ข้อเท็จ” จริงให้มากยิ่งขึ้น เราควรที่จะแยกแยะได้ระหว่าง fact และ opinion ควบคู่ไปกับการใช้อารมณ์ความรู้สึกซึ่งเป็นรากฐานของมนุษย์ โดยไม่ตัดสินใจตามสัญชาตญาณแต่เพียงอย่างเดียว
จากทั้งสามข้อนี้ คุณกระทิงยังเน้นย้ำอีกว่า บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ไม่ควรที่จะมุ่งเน้นไปที่การสร้าง (building) เพียงอย่างเดียว แต่องค์กรควรมุ่งพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง ดูและพิจารณาที่ขีดความสามารถ (competency) และมุ่งเน้นไปที่การสร้าง Ecosystem ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับองค์กรของตัวเอง
ในส่วนของเรื่องที่ไม่ถนัดหรือไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ องค์กรควรร่วมมือพาร์ทเนอร์กับองค์กรอื่น ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
คุณกระทิงได้เริ่มจากคอนเซ็ปต์ การทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้ว ซึ่งเป็นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ ด้วยคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า “½ y3“
โดย ½ นั้นหมายถึงการที่เรารู้เสมอว่า เรายังไม่รู้อะไรอีกเยอะแยะมากมาย เหมือนน้ำครึ่งแก้วที่ต้องคอยเติมเต็มสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา ซึ่งในยุคสมัยนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทางที่ดีเทน้ำให้หมดแก้ว คิดว่าตัวเองยังไม่รู้อะไรอีกมาก และเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ ทุกอย่าง ทุกช่องทาง เติมเต็มความรู้เหล่านั้นลงไป ซึมซับสิ่งใหม่ ๆเข้าไปเสมอ เสมือนการเป็นฟองน้ำ ซึ่งในยุคสมัยนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทางที่ดีเทน้ำให้หมดแก้ว คิดว่าตัวเองยังไม่รู้อะไรอีกมาก และเปิดรับโอกาสใหม่ๆ ทุกอย่าง ทุกช่องทาง เติมเต็มความรู้เหล่านั้นลงไป ซึมซับสิ่งใหม่ๆเข้าไปเสมอ เสมือนการเป็นฟองน้ำ
ส่วนคำว่า Y3 นั้น ประกอบไปด้วย:
Y1 คือ กรอบคิดแบบ Y Shape ที่หาง Y คือการรู้ลึก รู้จริง ส่วนหัว Y คือ “wide” หมายถึงการรู้กว้าง ไม่ได้รู้เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น แต่ relate ความรู้และบูรณาการเข้าด้วยกันได้
Y2 คือ “Why” Start with Why ? เริ่มต้น design ตั้งคำถามว่า “ทำไม” อยู่เสมอ ด้วย 5 การวิเคราะห์ WHY? (5 why analysis)
Y3 คือ การ Think Widely มีความคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ Design Thinking กระบวนการเชิงออกแบบในการทำงาน และแก้ปัญหาอยู่เสมอ
การเลียนแบบการคิดแบบปัญญาประดิษฐ์หมายถึงการเรียนรู้ที่จะใช้ Algorithm ในกระบวนการวิเคราะห์ data และแก้ปัญหาให้เป็นด้วยวิธีการและขั้นตอนที่ชัดเจน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปจัดการและแก้ปัญหาทั้งหมด หน้าที่ของมนุษย์คือการที่เรารู้ว่า เราควรจะแตกปัญหายังไง และแก้ปัญหาทีละขั้นอย่างไรให้เป็นลำดับขั้นตอน เราจะต้องออกแบบวงจรและระบบการทำงานโดยอิงจาก Algorithm และนำสิ่งที่ได้นั้นมาป้อนให้ AI ทำงานอีกขั้นหนึ่ง AI สามารถทำงานได้ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำกว่าคน อีกทั้งยังสามารถทำงานได้แบบ 24/7 และทำซ้ำได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
แต่ที่สุดแล้วต่อให้มี AI เข้ามาช่วยจัดการงานต่างๆ มันก็ยังต้องการ “คน” ที่มาควบคุมมันอยู่ดี
จะทำอย่างไรในการเชื่อมการใช้ข้อมูลแบบ data-driven มาใช้กับ design thinking?
Design Thinking คือการแก้ปัญหาอย่างมีจินตนาการ มันไม่ใช่แค่การคิดในเชิงออกแบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการมีความ Empathize , Deep Listening , Define Problem อีกด้วย ดังนั้น Design algorithm to solve the problem จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะการออกแบบ algorithms อย่างดี จะนำไปสู่การได้มาซึ่งข้อมูลที่มีคุณค่า ดังเช่นการทำ Prototype ตัว Product กับ Service เพื่อเอาออกไป test เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับงานในอนาคต บริษัทใหญ่ๆที่เติบโตสูงสุดในปัจจุบัน ล้วนมี Data อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น เช่น Grab, Amazon, Spotify บริษัทใหญ่ๆเหล่านี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ Product อย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกเขาล้วนให้ความสำคัญกับ Data นั่นเอง หรือที่เรียกว่า Data Products สิ่งที่บริษัทต่าง ๆ ทำลงไปทั้งหมดนี้ก็เพื่อการได้มาซึ่งการป้อนกลับเชิงบวกจากเครื่องจักรนั่นเอง
“Those who can recognize patterns and make sense of them will not make the same mistakes as the past, and will succeed in the future.”
“History always repeat in itself”
said by Charlie Munger, Warren Buffet’s Partner
การมี pattern recognition จะสามารถพัฒนาต่อไปเป็นสิ่งที่เรียกว่า Mental Model
คุณกระทิงกล่าวว่า ทักษะที่สำคัญที่สุดคือ การรู้ถึงแก่นของเรื่อง รู้ถึง Pattern ที่เกิดซ้ำ ๆ รู้ว่าอดีตสามารถพยากรณ์อนาคต และสามารถตกผลึกออกมาว่า หากในอนาคตเจอสถานการณ์แบบนี้อีก เราควรจะตัดสินใจอย่างไร เพราะ Mental Model is in our everyday life
คุณกระทิงยังกล่าวถึง The Pareto Principle ที่ว่าทำ 20 ได้ผลลัพธ์ 80 ด้วยการใช้หลักคิดแบบบดอกเบี้ยทบต้น ทำทีละนิด ค่อย ๆ เก็บไปเรื่อย ๆ แต่ท้ายที่สุดจะสามารถได้เงินจำนวนมหาศาล
คุณกระทิงยังคงกล่าวอีกว่า ในบางครั้ง mental model อาจจะสำคัญกว่า subject matter หรือความลึกชองวิชานั้น ๆ ก็เป็นได้ เพราะ mental model ไม่ได้แก้ปัญหาแค่เฉพาะเรื่องที่เกิดตอนนั้น แต่มันยังเป็นหลักการพื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในเรื่องต่างๆ ได้อีกมากมาย Mental Model จะทำให้เรา interact กับโลกใบนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายคุณกระทิงเสริมว่า Not only a digital disruption, but also a purposeful disruption เพียงเรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียวคงไม่เพียงพอแล้ว องค์กรยังจำเป็นต้องมี “Purpose” หรือเหตุผลของการมีอยู่ในทุกระดับขององค์กรอีกด้วย เพราะคนรุ่นใหม่จะแสวงหาพื้นที่ที่เขาได้ทำงานและช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น พวกเขามีอำนาจในการเลือกองค์กรที่จะร่วมทำงานด้วยอยู่ในมือ หากองค์กรอยากดึงดูดคนเก่ง ๆ ที่มีพลังในการขับเคลื่อน ก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องตอบตัวเองและสื่อสารออกไปให้ได้ว่า เรามีอยู่เพื่ออะไร
ในยุคของการทำงานสมัยใหม่ ไปจนถึงโลกการทำงานในอนาคต Mindset เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมันทำให้เห็น Purpose ที่ชัดเจน ดังคำกล่าวที่ว่า “Every company must be an integral part of the society and deliver tangible impact”
มี 3 สิ่งที่ถือเป็นหลักสำคัญที่ทุกคนควรระลึกและเตือนตัวเองเสมอคือ
- Digital and Technology
- Innovative and self-renewable culture
- Purposeful and Social Impact Values
ในช่วงเวลาวิกฤต เศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ถูก reset แต่ในขณะเดียวกัน ก็มอบโอกาสมากมายให้ หากเรา reimagine และ reinvent พร้อมทั้งลงมือทำภายใต้ความคิดที่ต้องรีบเร่งให้ทันท่วงทีกับการเปลี่ยนแปลงที่แสนรวดเร็ว เราควรที่จะต้องเร่งเครื่องการเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างถึงแก่น ไม่แต่เพียงฉาบฉวย
ดังตัวอย่างในเรื่องของนักฟุตบอลที่คุกเข่าเรียกร้องความยุติธรรมในเรื่องของสีผิว ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่านักฟุตบอลคนนั้นจะถูกไล่ออกจากการแข่งขัน แต่ Nike ยังคงให้เขาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพราะใช้คอนเซ็ปต์ Customers are paying the company to solve social problems ที่เหมือนกับว่าลูกค้าจ่ายเงินซื้อสินค้าเพื่อให้บริษัทช่วยกันแก้ปัญหาสังคม
นอกจากลูกค้าจ้างบริษัท คุณกระทิงยังกล่าวถึงเรื่อง talents employees ที่ว่า จะต้องมี purpose อยู่บนสุดในพีระมิดของ Maslow ในด้านของการเข้าใจตนเอง (self-actuatization)
การเติบโตของ gig economy หริอการทำงานแบบการจ้างงานเป็นครั้งเป็นคราว เป็นการทำงานจากความชอบ ความถนัด และทำกับอค์กรที่ตอบโจทย์กับ Purpose ของพวกเขา ดังนั้นบริษัทควรจะ disrupt ตัวเอง ให้มี purpose อยู่ในทุก ๆ DNA ของบริษัท ตั้งแต่บนลงล่าง
คุณกระทิงกล่าวว่า หากเราอยากรู้ว่า Purpose ขององค์กรคืออะไร ก็ให้ลองเดินไปถามพนักงานล่างสุดว่าตรงกับคนข้างบนรึไม่ เพราะ Purpose ขององค์กรนั้นต้องปรับใช้ (deploy) ลงมาถึงทุกขั้น และควรที่จะปรับให้เหมือนกันเพื่อที่จะเข้าใจตรงกันทั่วทั้งองค์กร
สุดท้ายนี้ คุณกระทิงยังเน้นย้ำอีกว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือภูมิภาคที่ดีที่สุด หลังจากเราเอาตัวรอดในวิกฤตครั้งนี้แล้ว อยากให้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ในช่วงเวลาและจุดที่ดีที่สุด เพราะเราสามารถเปลี่ยน 2020 ถึง 2030 ให้เป็น golden decade ด้วยการเป็นทศวรรษแห่งความหวัง ทศวรรษแห่งความเชื่อมั่น ทศวรรษแห่งการสร้างแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลง เพราะทุกวิกฤต (crisis) จะมีฮีโร่เกิดขึ้น และจะนำไปสู่การเกิดโอกาส (opportunites) ที่ใหญ่ขึ้นเสมอ ดังนั้นจงอย่าให้วิกฤตครั้งนี้ศูนย์เปล่า จง transform ตัวคุณเองและองค์กรของคุณ โดยไม่ให้เสียความเป็นตัวคุณ วัตถุประสงค์ของคุณ ด้วยความรู้สึกตื่นตัวและเร่งด่วนตลอดเวลา
ปี 2030 จะดีขึ้นได้ ถ้าพวกเรา มีความเชื่อ และร่วมมือกันลงมือทำ!
Content นี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน Education Disruption Conference 2 - Reimagine Thailand's Education 2030" ในธีม Future of workforce
และเตรียมพบกับโปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer โดยคุณกระทิง พูนผล และ Disrupt หลักสูตรสร้างผู้นำแห่งอนาคต เร่งเครื่องธุรกิจเติบโตข้ามพรมแดน พร้อม Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption อ่านรายละเอียด คลิก
#CXO #TheNextCXO
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก neatthailand.com