เทรนด์ Reskill พัฒนาทักษะให้ก้าวทันการทำงานแห่งอนาคต

December 31, 2020
Pat Thitipattakul

ทั่วโลกรับมือการ Reskill บุคลากรเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตอย่างไร? 🌎🚀

ใน Education Disruption Conference 2 ที่ผ่านมา Greg Miller ผู้บริหาร Faethm ได้เล่าถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก พร้อมแนวทางการ Reskill เพื่อช่วยให้บุคลากรรอดพ้นจาก Digital Disruption ที่ทุกท่านสามารถลองนำไปปรับใช้ได้

Faethm แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูล workforce ระดับโลกที่ใช้ Machine Learning ดึงข้อมูลกว่า 160 ล้านจุดมาสร้างโมเดลในการทำนายผลกระทบของ disruption ต่อตำแหน่งงาน คาดการณ์รูปแบบ workforce แห่งอนาคต และช่วยหน่วยงานวางแผนการ upskill และ reskill บุคลากร ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ข้อมูลจาก Faethm เช่น World Economics Forum, UK Government, Australian Government, BCG, PwC, KPMG, Pfizer, Mastercard และอีกมากมาย

จากประสบการณ์ที่ Faethm ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรชั้นนำหลากหลายประเทศทั่วโลก Greg ได้แชร์ตัวอย่าง Reskilling Initiatives และเทรนด์ที่น่าสนใจไว้ดังนี้

เริ่มจากเปลี่ยนมุมมอง ไม่ยึดติดกับอาชีพเดิม ๆ แต่ให้มองที่ทักษะเป็นหลัก 

ตั้งแต่ปี 2010 องค์กรทั่วโลกเริ่ม adopt ใช้หุ่นยนต์ทำงานต่าง ๆ มากขึ้นเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและราคา hardware ที่ถูกลง ที่เมื่อคำนวณดูแล้วคุ้มค่าต่อการลงทุน เกิดเป็นกระแสความกังวลที่หุ่นยนต์จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ ซึ่ง Faethm มองว่านี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ภาครัฐต้องสร้าง infrastructure และ awareness เพื่อผลักดัน lifelong learning ในวงกว้าง ให้คนทุกคนเห็นความสำคัญของการ reskill และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

หุ่นยนต์เข้ามา disrupt อาชีพใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 

  • เชิงบวก: Augmentation หุ่นยนต์เป็นผู้ช่วยที่ทำให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น หรือ ช่วยทำงานที่อันตรายที่มนุษย์ไม่อยากทำ เช่น งานตรวจตราพื้นที่ของ รปภ. หรือ การช่วยแพทย์วินิจฉัยอาการคนไข้โดยดึงข้อมูลจากงานวิจัยทั่วโลกมาช่วยสนับสนุน
  • เชิงลบ: Automation หุ่นยนต์ทดแทนมนุษย์ได้ 100% ทำให้มนุษย์ตกงาน เช่น งานจัดเรียงโกดังสินค้า งานแคชเชียร์

ในส่วนของผลกระทบเชิงลบ จริง ๆ แล้วเราสามารถใช้โอกาสนี้ในการ reskill บุคลากรได้ หากเราลองเปลี่ยนมุมมอง ไม่มองที่อาชีพเป็นหลัก แต่มองที่ทักษะที่บุคคลนั้นทำได้ดี แล้ววางแผนการ reskill โดย match ทักษะนั้นเข้ากับอาชีพใหม่ ๆ ที่สามารถต่อยอดจากทักษะนั้นได้

ตัวอย่างเช่น นักบัญชี หากมองแบบผิวเผินแล้ว อาจคิดว่าเสี่ยงต่อการถูกหุ่นยนต์แย่งงานมาก เพราะ RPA (Robotic Process Automation) สามารถประมวลผลข้อมูลทางการเงินและบันทึกบัญชีโดยอัตโนมัติได้แล้ว แต่หากเราเปลี่ยนมุมมอง แล้วมองไปถึงทักษะที่นักบัญชีทำได้ดี จะพบว่านักบัญชีส่วนมากเป็นคนละเอียด และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้แม่นยำ มี mindset ของนักสืบ ซึ่งทักษะเหล่านี้เองจำเป็นมากกับงานด้าน Cybersecurity ซึ่งเป็นงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดอย่างมาก

หากเปลี่ยนมุมมองมาเป็นแบบนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าคนทุกคนสามารถถูก reskill ได้ HR จะต้อง reimagine แผนการพัฒนาบุคลากรให้สอดรับกับเทรนด์อนาคตมากขึ้น แทนที่จะทำตาม career path แบบเดิม ๆ ควรสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในองค์กร และเปิดโอกาสให้คนที่สนใจสามารถ reskill และย้ายแผนกได้

เผย Exclusive Data จากแพลตฟอร์ม Faethm ชี้เทรนด์ Workforce

ข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Faethm เผย insights ที่น่าสนใจเพิ่มเติม ดังนี้ 

  • Process Automation คือเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานมากที่สุด และกระทบหลายอุตสาหกรรม
  • อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ Retail ค้าปลีก (สามารถอ่านรายละเอียดผลกระทบของอาชีพต่าง ๆ ได้เพิ่มเติมที่ คลิก )
  • จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าแรงงานหญิงได้รับผลกระทบถูกเลิกจ้างงานสูงกว่าชายมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง 
  • 10% ของแรงงานเสี่ยงถูก disrupt หนัก ต้องเร่ง reskill โดยด่วน โดยคว้าโอกาสใหม่จากอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาด (สามารถอ่านรายละเอียดอาชีพใหม่ที่กำลังมาแรงได้ที่ คลิก )

ทั่วโลกเร่ง Reskill ทั้งระดับ Workforce และ Education

ลักเซมเบิร์กจัดทำเว็บไซต์ 'Skills Bridge' แชร์ insights ช่วยทุกภาคส่วน reskill

Skills Bridge เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมอาชีพทุกประเภทในประเทศ และประเมินความเสี่ยงของงานนั้น ๆ ต่อการถูกเทคโนโลยี disrupt พร้อมมีข้อมูลประกอบให้เอาไปใช้งานต่อได้จริงสำหรับทุกภาคส่วน เช่น ช่องทางใดบ้างที่เราจะสามารถพัฒนาทักษะได้ ข้อแนะนำว่าหลักสูตรใดที่ต้องรีบปรับปรุงใหม่ในระดับชาติ มหาวิทยาลัยควรสร้างหลักสูตรใหม่เรื่องอะไร

อาชีวศึกษาในเนเธอร์แลนด์รื้อหลักสูตรอบรมวิชาชีพใหม่ให้สอดรับเทรนด์อนาคต

Faethm ได้ร่วมกับ TAFE ในการประเมินบัณฑิตจบใหม่ 150,000 คนว่าหลังจากนี้ 5 ปีพวกเขาจะเป็นอย่างไร? อะไรเป็นความเสี่ยงจากผลกระทบเมื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา? แล้วย้อนกลับไปดูการออกแบบหลักสูตรอบรมวิชาชีพว่าเหมาะสมหรือไม่ พัฒนาโมเดลขึ้นมาเพื่อช่วยให้สถานศึกษามีข้อมูลการทำนายความต้องการในสายงานแห่งอนาคต เพื่อปรับหลักสูตรให้ทันกับเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไป และสร้างบุคลากรที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต

แคนาดาพัฒนาโปรแกรมฝึกอาชีพ ช่วยคนยากจนและกลุ่มเสี่ยงตกงาน

โครงการของ Faethm ที่ได้รับการสนับสนุนโดย Google และ MaRs มีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำในเมืองโตรอนโต โดยการช่วยพัฒนาทักษะอาชีพให้กับกลุ่มฐานด้านล่างของปิรามิด กลุ่มแรงงานทักษะต่ำที่เสี่ยงถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยหาหนทางใหม่สำหรับพวกเขา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโปรแกรม และเมื่อจบหลักสูตร ทางโครงการจะช่วยหางานใหม่ให้ด้วย เป็นโปรแกรมที่ยิ่งใหญ่และสร้าง impact ต่อสังคมได้มาก 

และนี่ก็คือเทรนด์การ Reskill ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเองก็เริ่มมีการผลักดันทั้งฝั่งภาครัฐและเอกชน เป็นอีกด้านที่น่าจับตามองในช่วงนี้เพราะนี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องทุ่มเทพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง จึงจะรอดพ้นจากกับดักเทคโนโลยีและสังคม ให้ประเทศไปต่อได้ในยุคแห่งความผันผวน

Content นี้เป็นส่วนหนึ่งจากงาน Education Disruption Conference 2 - Reimagine Thailand's Education 2030 

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเตรียมรับมือโลกแห่งอนาคต กลั่นจากประสบการณ์ตรงของคุณกระทิง พูนผล ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption อ่านรายละเอียด คลิก https://www.disruptignite.com

#CXO #TheNextCXO

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง