Training ที่คุ้มค่าหน้าตาเป็นอย่างไร? 2024

June 10, 2024
Yok Thanawan

6 ใน 10 คนขององค์กรต้องได้รับการฝึกอบรม “ทักษะสำคัญ” ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า

อีกหนึ่งส่วนของการรักษา Talents ให้อยู่ในองค์กรคือ ภาพของเขาในอนาคตของตัวเองในองค์กร (Development Plan) แน่นอนว่ามีหลายสิ่งที่ HR สามารถทำร่วมกับพนักงาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าตนเป็นคนสำคัญ และมีเป้าหมายที่จะอยู่ในองค์กรต่อไป  ไม่ว่าจะเป็น การตั้งเป้าหมาย การวิเคราะห์ช่องว่างของทักษะ การจัดทำแผนพัฒนาส่วนบุคคล (Individual Development Plan) และการทำอบรม หรือ Training 

การพัฒนาพนักงานผ่านการอบรม เป็นการลงทุนระยะยาวที่สามารถคาดหวังผลตอบแทนได้ พนักงานได้พัฒนาตนเองและเห็นโอกาสแห่งอนาคต ในขณะที่องค์กรได้คนที่มีทักษะและความสามารถที่ตรงตามที่องค์กรคาดหวัง

“แล้วจะฝึกอบรมอะไร?”

เป็นหนึ่งในคำถามสำคัญที่ HR หลาย ๆ คนมักจะถามเมื่อต้องวางแผนการอบรมพนักงานปีถัดไป หัวข้อไหนหรือทักษาอะไรที่ควรจะให้ความสำคัญสำหรับภาพแห่งอนาคต หนึ่งในทักษะที่ถูกนำมาพูดถึงบ่อย ๆ ไม่ว่าจะในวงการ HR หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ คือ “ความเป็นผู้นำ” แต่จะต้องเป็นผู้นำแบบไหนที่จะตอบโจทย์องค์กรและภาพแห่งอนาคตได้กัน?

2023 Global Leadership Development Study จาก Harvard ได้ทำการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Learning & Development และผู้นำในแต่ละแผนกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนการพัฒนาผู้นำ ว่าผู้นำแบบไหนที่จะตอบโจทย์ขององค์กรที่จะต้องเติบโตในอนาคตที่ไม่แน่นอน โดยสรุปออกมาได้ 4 ทักษะสำคัญของความเป็นผู้นำดังนี้

  1. ผู้นำที่สามารถวางแผนและรับมือความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่คาดเดาไม่ได้
  2. ผู้นำที่สามารถใช้หรือเข้าใจเทคโนโลยี
  3. ผู้นำที่สามารถนำ “คน” ได้
  4. ผู้นำที่เป็นกาวประสานใจให้กับคนในทีม

นอกเหนือจากการสร้างความเป็นผู้นำแล้วอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ “ทักษะแห่งอนาคต” เพราะความเป็นผู้นำเปรียบเหมือนพลังงานที่จะทำให้เราขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ทักษะแห่งอนาคตเปรียบเสมือนเป็นเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ที่ทำให้แผนการในอนาคตสำเร็จและเป็นจริงได้

จากผลสำรวจของ World Economic Forum ได้แบ่งทักษะสำคัญที่ต้องเรียนรู้ภายในปี 2025 เป็นสี่กลุ่มดังนี้

  1. ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) – การคิดวิเคราะห์และการสร้างนวัตกรรม, การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน, ความคิดสร้างสรรค์และการริเริ่มสิ่งใหม่
  2. การบริหารจัดการตนเอง (Self-Management) – กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่, รับมือและยืนหยัดภายใต้ภาวะที่กดดัน
  3. การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Working with People) – ทักษะความเป็นผู้นำ
  4. การใช้และพัฒนาเทคโนโลยี (Technology use and development) – การใช้และควบคุมเทคโนโลยี, การสร้างและออกแบบเทคโนโลยี

หากเปรียบการฝึกอบรมคือการลงทุน อีกหนึ่งคำถามที่ผู้ลงทุนควรจะคำนึงถึงก็คือ “ทำอย่างไรให้ยั่งยืน” เพราะในหลาย ๆ ครั้งการ Training จะโดนมองว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าหรือ Cost Center ไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้

หรือจริง ๆ แล้วเราแค่วางแผนและตั้งเป้าหมายการลงทุนนี้ไม่ชัดพอ?

เพราะการฝึกอบรมเป็นมากไปกว่าการทำ workshop เพียงครั้งคราว แต่คือการวางกลยุทธ์พร้อมไปกับการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของพนักงาน แต่จะทำอย่างไรให้การ training เป็นมากกว่าการลงทุนที่เสียเปล่า แต่เป็นการลงทุนระยะยาวที่ได้ผลตอบแทนสูง?

หลักการสร้างการฝึกอบรมให้ยั่งยืนและผลตอบแทนสูง

  1. ทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต 

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้การฝึกอบรมไม่ยั่งยืนเพราะพนักงานมองว่าการฝึกอบรมคือ “ภาระ” ดังนั้นการทำ training ที่ดีควรจะให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนทำงาน ไม่ใช่อีกหนึ่งหน้าที่งานที่แยกออกมาจากชีวิตประจำวัน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ Process การทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้คนไม่รู้สึกว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มออกมา

ผลสำรวจรูปแบบการจัดอบรม

จากผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าพนักงานชอบ 1.) การเรียนรู้แบบผสมผสาน 2.) การเรียนรู้แบบมีวิทยากร
3.) การเรียนรู้แบบได้ลงมือทำจริงจากโปรเจกต์ต่างๆ และ 4.) การเรียนรู้แบบออนไลน์ตามลำดับ

  1. เริ่มจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ

“ทำแทบตาย แต่โดนตัดงบ!” เป็นอีกหนึ่ง pain point ของชาว HR คือคนตัดสินใจให้งบประมาณเพราะไม่เข้าใจความสำคัญของการ training แต่จริง ๆ แล้วคนที่มีอำนาจตัดสินใจเป็นส่วนสำคัญมาก ๆ ที่จะกำหนดประสิทธิภาพของการพัฒนาบุคคลกากรภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นแผนการดำเนินงาน ทรัพยากร และวิทสัยทัศน์ในการมองโลกแห่งอนาคต

  1. การสร้าง Ownership กับผู้นำ

ผู้นำที่ดีนอกจากพร้อมสู้กับอนาคตยังต้องสามารถรักษาคนในองค์กรได้ด้วย ดังนั้น Ownership ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ HR ต้องคำนึงถึงในการวางแผน เพราะ ownership ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เข้าใจ ‘why’ หรือแก่นขององค์กร  การที่พนักงานมี ownership ที่สูง พวกเขาจะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะแก้ปัญหา และมีจุดยืนที่หนักแน่นพร้อมก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆร่วมกับองค์กรอีกด้วย

  1. สร้าง culture การเรียนรู้ร่วมกัน

ย้อนวัยกลับไปสมัยที่เรายังเรียนหนังสือ เราจะสังเกตุว่าตอนที่เราติวกับกลุ่มเพื่อนมักจะเข้าใจเนื้อหาหรือเป็นการทบทวนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนเองคนเดียว ดังนั้นการอบรมพนักงานแบบเป็นกลุ่ม เป็นการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน (Social Learning) นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยด้วยว่าพนักงาน 71% กล่าวว่าการที่จะเรียนรู้หรือยอมรับสิ่งใหม่ ๆ เขาต้องพูดคุยหรือถกเถียงกับใครสักคนก่อนที่จะเชื่อสิ่งนั้น

เราก็จะเห็นได้ว่าการวางแผนการอบรมมันไม่ใช่แค่การจัดทำ workshop เพียงช่วงครั้งชั่วคราว แต่เป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องอาศัยทั้งกลยุทธ์ ทรัพยากร ความสม่ำเสมอ และวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้การลงทุนนี้ได้รับผลตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อ

ในยุคที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับ People Transformation ฉะนั้น HR ในฐานะที่เป็น People Leader ขององค์กรต้องปรับตัวและเตรียมแผนการพัฒนาคนให้ทันแผนการพัฒนาธุรกิจขององค์กรด้วย

.

สนใจหลักสูตรพัฒนาทักษะผู้นำคนแห่งอนาคต และ HR คลิก: https://uhvug5i4sgr.typeform.com/hrofthefuture2

ต้องการขอรับคำปรึกษาด้านการทำแผนการอบรม สามารถติดต่อผ่านทาง

LINE Official: @disruptignite

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://th.hrnote.asia/.../5-reasons-disrupt-corporate.../

#HRofTheFuture  #DisruptRules #Training

References: 

Future of jobs: These are the most in-demand skills in 2023 - and beyond. (2023, May 2). World Economic Forum.

Harvard Business Publishing. (2023, July 17). 2023 Global Leadership Development Study - Harvard.

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง