Krating Poonpol
Founder of Disrupt Technology Venture, Founding Partner, 500 TukTuks
คือ closed fund ซึ่งโดยปกติไม่ได้เปิดให้กับนักลงทุนทั่วไปครับ
เนื่องจากการลงทุนแบบ VC นั้นมี "ความเสี่ยง" สูงที่สุดในบรรดา asset classes ทั้งหมด (เมื่อรวมกับ liquidity risk ด้วยซึ่งจะอธิบายในข้อถัดๆไป) แต่ผลตอบแทนก็สูงตามไปด้วย (ถ้าคิดเฉพาะใน vintage 2010-2015 หรือกองทุนที่เปิดในช่วง 2010-2015 นั้นผลตอบแทนดีกว่า hedge fund และ private equity จากผลการศึกษาของ Professor Steven Kaplan ของ U of Chicago 's Booth Business School)
ดังนั้น กองทุน VC จึงเปิดรับเฉพาะ sophisticated investors ที่มีความรู้เรื่องการลงทุน VC และเข้าใจเรื่องความเสี่ยงดีครับ ในกรณีของกองทุน 500 นั้นต้องมีกระบวนการตรวจสอบนักลงทุนที่เรียกว่า verify investor ที่เราใช้ 3rd party เข้ามาตรวจสอบและเมื่อผ่านแล้วจึงจะอนุญาตให้เข้ามาลงทุน โดยนักลงทุนถ้าเป็น individual นั้นต้องสามารถแสดงว่าเจ้าตัวมี"สินทรัพย์ที่พร้อมลงทุน (investable asset)"กว่า 35 ล้านบาทขึ้นไปและเงื่อนไขอื่นๆอีก
และถ้าลงทุนในนามบริษัทก็ต้องมีสินทรัพย์มากกว่า 175 ล้านบาทขึ้นไป และถ้าเป็นสถาบันการเงินก็ต้องผ่าน Volcker's rules อีกซึ่งกระบวนการตรวจสอบนักลงทุนอย่างเข้มข้นนั้นนอกจากเพื่อให้แน่ใจว่านักลงทุนนั้นมีความพร้อมและเข้าใจในการลงทุนใน VC ที่เสี่ยงมากๆยังมีเรื่องของการป้องกันการฟอกเงินของนักลงทุนด้วยครับ
นอกจากนี้ ปกติการลงทุนใน VC นั้นจะต้องการเงินลงทุนขั้นต่ำ (minimum check size) เป็นสิบล้าน โดยกระบวนการตรวจสอบนักลงทุนอย่างเข้มข้นนี้ก็ทำให้นักลงทุนท้อกันพอสมควรครับ
เนื่องจากคุณไม่สามารถถอนเงินออกมาเมื่อไหร่ก็ได้เพราะ VC นั้นจะเอาเงินไปลงทุนใน ธุรกิจเปิดใหม่ (startup) ซึ่งเกือบ 100% ของธุรกิจ startups นั้นไม่มีการจ่ายปันผล เพราะต้องนำเอาเงินลงทุนและกำไรมาหมุนเวียนเพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วของ"มูลค่าบริษัท (valuation)"
การลงทุนใน startup นั้น VC คาดหวังการเติบโตของมูลค่าบริษัทหลายๆสิบเท่าดังนั้นกำไรและเงินทุนต้องนำมาหมุนเวียนในการเร่งการเติบโตแบบก้าวกระโดด VC จะได้เงินคืนก็ต่อเมื่อ บริษัท startup นั้น เกิดการ "exit" คือ เข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือขายกิจการ ซึ่งปกติจะใช้เวลามากกว่า 5 ปีขึ้นไป
แต่บางครั้ง VC อาจลดความเสี่ยงโดยการ"ขายหุ้นบางส่วน (partial exit)" ให้นักลงทุนคนอื่นก่อนและนำเงินมาลงทุนต่อหรือคืนกลับสู่นักลงทุนแต่ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ดังนั้นการลงทุนใน VC จึงมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องมหาศาลและผลตอบแทนที่สูงของ VC จึงต้องมีเพื่อชดเชย liquidity risk นี้
ที่โดยปกติจะไม่ใช่บริษัทตั้งใหม่แต่เป็นบริษัทที่มีรายได้และ ฐานลูกค้าและมีการดำเนินการที่ค่อนข้าง mature แล้ว การลงทุนแบบนี้นั้น เรียกว่าการลงทุนแบบ Private Equity ซึ่งโดยปกติคือการเข้าไปถือหุ้นส่วนใหญ่หรือ take over เพื่อที่จะสามารถเข้าไปควบคุมการดำเนินการบริษัทได้ ซึ่งนักลงทุนก็จะเข้าไปร่วมบริหารจัดการเพื่อทำให้การดำเนินการดีขึ้นและมีประสิทธิภาพและมีผลกำไรมากขึ้นและสามารถนำผลกำไรมาจ่ายแก่นักลงทุนได้ ซึ่งการลงทุนแบบนี้แตกต่างกับ VC มหาศาลเพราะ VC จะถือหุ้นส่วนน้อยและลงทุนในบริษัทเปิดใหม่ครับ
เพราะเป็นการลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์และมี liquidity risk คล้ายกัน และด้วยความเสี่ยงและ liquidity risk ขนาดนี้ถึงแม้จะมีผลตอบแทนสูงแต่นักลงทุนไม่ควรลงทุนเกินกว่า 10% ของ investable assets ที่ตัวเองมีครับและยิ่งถ้ารับความเสี่ยงได้ต่ำยิ่งไม่ควรลงทุนเลยครับ
และ 10-20% ของกองทุน VCs เท่านั้นที่สร้างผลตอบแทนสูงจนดึงค่าเฉลี่ยของ asset class นี้ให้สูงมากได้ซึ่งเป็นไปตามกฎ power law คือ 10-20% ของกองทุน VCs สร้างผลตอบแทนสูงมากกว่าผลตอบแทนของกองทุนที่เหลือมากๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ startups นั้นอัตราการล้มเหลวนั้นสูงมากๆและมี startups แค่ไม่กี่ตัวที่ประสบความสำเร็จและสร้างผลตอบแทนเป็น สิบๆ ร้อยๆเท่าได้ กองทุน VCs ที่ผลตอบแทนดีๆนั้น มีอัตราการตายของ startups สูงมากกว่าค่าเฉลี่ยด้วยซ้ำแต่สิ่งที่ทำให้ ผลตอบแทนสูงนั้นเนื่องจากเค้า"ไม่พลาด" startups ที่จะสามารถเติบโตและสร้างผลตอบแทนแบบก้าวกระโดดเป็น สิบๆ หรือ ร้อยๆเท่าใน เวลาแค่ 5-6 ปีได้
ซึ่งดูได้จากตัวเลขโรมันด้านหลังชื่อกองทุน เช่น 500 Startups IV นั้นก็คือเปิดมาแล้ว 4 กองแล้วเป็นต้นหรือบางกองทุนก็เป็นส่วนหนึ่งของ family หรือ platform ของกองทุน VC ที่ดำเนินการประสบความสำเร็จมาแล้วเป็นต้น
ว่ามีกลยุทธการลงทุนเป็นอย่างไรและที่สำคัญมากกว่าคือเขามีความสามารถในการดึงดูดและจูงใจให้ startups ระดับ top ที่จะเติบโตเป็น สิบๆ ร้อยๆเท่า เข้ามาระดมทุนและ "ยอม" ให้เขาลงทุนได้อย่างไร ? สิ่งนี้นั้นคือสิ่งที่เรียกว่า "deal flow strategy" ซึ่งในโลกของ VC นั้น สำคัญไม่แพ้ "investment strategy" และ "investment thesis" เลย
ดังนั้นก่อนที่จะลงทุนในกองทุน VC นี่คือสิ่งที่คุณต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ โดยคุณต้องขอ Private Placement Memo (PPM) และต้องศึกษา sample portfolio, investment thesis/strategy, deal flow strategy, value added strategy ให้กับ startups ที่เข้าไปลงทุน และศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากๆครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่อาจจะไม่ได้คุ้นเคยกับ startups และ/หรือ technology มากนักครับ