รวม 4 เรื่องที่ผู้จัดการต้องเรียน!! เพื่อให้ก้าวกระโดดในสายงาน
แน่นอนว่าทักษะการบริหารจัดการเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้จัดการทุกระดับต้องมี ตำแหน่งผู้จัดการยังคงเป็นตำแหน่งที่องค์กรทุกแห่งโหยหา เพราะเป็นตำแหน่งที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างราบรื่นและเติบโต แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้จัดการแตกต่างจากคนอื่น ความสามารถแบบไหนที่ไม่ว่าจะอยู่องค์กรไหน ธุรกิจแบบไหนก็บริหารจัดการได้อย่างอยู่หมัด
จากบทความ ‘Management Techniques and Leadership Strategies You Can Use Right Now’ของ UAB: The University of Alabama at Birmingham ได้กล่าวถึงกลยุทธ์การบริหารที่ผู้บริหารสามารถนำไปปรับใช้กับองค์กรและทีมงานของตัวเอง ทาง Disrupt Technology Venture จึงได้คัดเลือก 4 เรื่องที่ผู้บริหารและผู้จัดการต้องเรียนรู้เพื่อการเป็นสุดยอดนักบริหาร!
1.Learn How to Open Your Heart เรียนรู้ที่เปิดใจ
การเปิดใจถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับผู้จัดการ เนื่องจากช่วยให้สามารถเข้าใจความต้องการของผู้อื่น และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานได้ โดยส่วนใหญ่นั้นมักเริ่มจากการฟังที่ดี เพราะนอกจากจะสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรกับทีม ยังช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะเสนอความคิดเห็นและเสนอไอเดียใหม่ๆกับหัวหน้าอีกด้วย
หลายๆครั้งที่หัวหน้ามักมีปัญหาเรื่องลูกน้องไม่แสดงความเห็นหรือออกไอเดียในที่ประชุม ทักษะการทำให้ลูกน้องเปิดใจ กล้าเสนอไอเดียจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในยุคที่เราต้องทำงานท่ามกลางความหลากหลาย ซึ่งสิ่งที่น่าสังเกตคือการที่ลูกน้องจะกล้าเปิดใจได้นั้น หัวหน้าต้องพร้อมเปิดใจรับฟังและกล้าต่อยอดไอเดียเสียก่อน
โดยเทคนิคการเปิดใจที่ Disrupt อยากนำเสนอคือ ‘เทคนิค Yes,and…’ ใช้ในการพูดคุยหรือการประชุมเพื่อเปิดรับไอเดีย เทคนิค ‘Yes.and…’ คือเทคนิคในการการรับฟังและตอบรับทุกความคิดเห็นด้วยคำว่า ‘ใช่,และ…’ เพื่อไม่เป็นการปฏิเสธหรือปิดกั้นความคิดเห็นของพนักงาน เช่น พนักงาน A เสนอไอเดียในการทำแคมเปญทางการตลาด ในฐานะผู้จัดการคงเคยมีประสบการณ์ทำงานมามากและอาจเคยทำในสิ่งที่พนักงาน A เสนอมาแล้วและอาจมองว่าแคมเปญนั้นไม่สามารถทำได้หรือทำแล้วอาจได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาด ซึ่งเราอาจเตรียมคำตอบเชิงปฏิเสธออกมาโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ตอนเรายังฟังไอเดียนั้นไม่จบด้วยซ้ำ
เราอาจเตรียมคำตอบเชิงปฏิเสธออกมาโดยอัตโนมัติ
ตั้งแต่ตอนเรายังฟังไอเดียนั้นไม่จบด้วยซ้ำ
ในสถานการณ์นี้ขอยกตัวอย่างการตอบด้วยเทคนิคการเปิดใจอย่าง Yes..and! เช่น ‘ใช่ แคมเปญนี้น่าสนใจนะ และเราควรจะวัดผลแคมเปญนี้ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง’ หรือ ‘เป็นไอเดียที่ดีเลยนะ และคงจะดีไม่น้อยถ้าเรามาช่วยกันดูเรืองการวัดผลของแคมเปญนี้’
การตอบกลับด้วยเทคนิค ‘Yes,and…’ ไม่ได้ทำให้ผู้ที่เสนอไอเดียรู้สึกเสียความมั่นใจที่จะเสนอไอเดียแต่ยังได้ฉุกคิดในมุมที่ยังอาจคิดไม่ถึงด้วย อีกทั้งยังเพิ่มส่วนร่วมให้กับทุกๆคนในที่ประชุม เทคนิคนี้จึงเหมาะกันการใช้ในบริบทที่ต้องการไอเดีย หรือต้องการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปราย หรือเรียกอีกอย่างคือช่วงของการเปิดหมวก (Open Hat) นั่นเอง
2. Learn How to Motivate, Don’t Dominate
เรียนรู้ที่จะปลุกพลัง (แบบไม่บงการ)
จากผลการสำรวจพบว่า 70% ของพนักงานลาออกเพราะมีหัวหน้าหรือผู้จัดการที่กดดันและบงการ แต่ผู้จัดการที่ดีจะรู้ว่าจะสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานได้อย่างไร พนักงานที่มีไฟหรือแรงจูงใจจะทำงานอย่างกระตือรือร้นและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การกดดันมากจนเกินไปจะทำให้พนักงานรู้สึกกดดันและขาดความมั่นใจในการทำงานจนกระทั่งหมดไฟได้เลยทีเดียว หรือท้ายที่สุดอาจถึงขั้นลาออกเพราะทนไม่ไหวกับวิธีการดูแลทีมแบบนี้
การปลุกพลังเปรียบเสมือนการเติมวิตามินให้ร่างกาย ดูแลรักษาก่อนที่จะต้องรักษาตัว ซึ่งวิธีการปลุกพลังให้กับพนักงานสามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีการปลุกพลังที่ Manager of The Future ได้กล่าวถึงได้แก่ 1.การมอบหมายงานที่มีความท้าทายและน่าตื่นเต้น 2. การชื่นชมความสำเร็จของพนักงานแม้เพียงเล็กน้อย ถือเป็นการ Celebrate Small Wins และ 3.การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน เช่น การกำหนดบทบาทในที่ประชุม การจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีโซนเงียบ และใช้เสียง ก็สามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถศึกษาต่อได้ใน การสร้างแรงจูงใจ (Motivate)
3. Learn How to Hold People Accountable เรียนรู้ที่จะวางใจ หรือ Trust Delegate
ผู้จัดการที่ดีควรเรียนรู้ที่จะวางใจพนักงานและปล่อยให้พวกเขาทำงานอย่างมีอิสระ เพราะพนักงานที่ได้รับความไว้วางใจจะรู้สึกกระตือรือร้นที่จะทำงานให้สำเร็จ ในฐานะผู้จัดการจะต้องเข้าใจทีมของเราก่อน เพื่อที่จะบริหารหน้าที่ภาระงานของทีม ก่อนที่จะมอบหมายงานที่เหมาะกับพนักงาน และสำคัญที่สุดคือคอยให้คำแนะนำและการสนับสนุนเมื่อจำเป็น
วิธีการวางใจที่ง่ายที่สุดคือการเปิดใจพูดคุยกับพนักงานว่าพวกเค้ามองภาพตัวเองในหน้าที่การงานเป็นอย่างไร บางคนอาจชอบความท้าทายมากๆชอบทำงานที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรืองานที่หลายคนมองว่ายาก แต่เป็นการทำงานที่ทำให้พนักงานคนนั้นรู้สึกมีไฟ มีความหมายทุกครั้งที่ได้ลงมือทำ พนักงานบางคนอาจรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่มั่นใจหากได้รับงานที่เค้าไม่เคยทำ แต่จะทำงานได้ดีและรอบคอบมากๆหากเป็นงานที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ ซึ่งพนักงานแต่ละคนก็มีสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนกันดังนั้นผู้จัดการและผู้นำทีมต้องหมั่นพูดคุยและรีเช็คสิ่งที่ทีมและพนักงานต้องการอย่างสม่ำเสมอ
4. Learn How to Learn (from Mistake) เรียนรู้จากความผิดพลาด
แม้แต่ สตีฟ จ็อบส์ ก็เคยทำพลาด แน่นอนว่าทุกคนต่างก็เคยทำผิดพลาดกันทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือผู้จัดการต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองและของผู้อื่น ผิดพลาดแล้วจะแก้ไขความผิดพลาดเหล่านั้นได้อย่างไรคือหน้าที่ของนักบริหารที่องค์กรคาดหวัง ดังนั้นผู้จัดการต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด โดยการทบทวนสถานการณ์ที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาเกิดจากสาเหตุปัจจัยอะไร หาวิธีแก้ไขให้เหมาะสม และสำคัญที่สุดเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย
บทเรียนเกี่ยวกับ การเรียนรู้จากความผิดพลาด แนะนำอ่านเพิ่มเติม
บทเรียนจากความผิดพลาดของ Steve Jobs ที่กำหนดความสำเร็จของ Apple
เป็นอย่างไรกันบ้างจาก 4 เรื่องที่ผู้บริหารจัดการต้องเรียนรู้สึกว่าข้อไหนที่เราจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมกันบ้าง อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าใครๆก็เคยทำผิดพลาดกันทั้งนั้น เราในฐานะผู้จัดการหรือ Leader จึงต้องพร้อมเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ Disrupt ขอเป็นกำลังใจให้ผู้จัดการทั้งมือใหม่และมืออาชีพในการเป็นผู้จัดการที่จัดการได้ทุกปัญหา สร้างทีมที่แข็งแกร่งแห่งอนาคตได้นะคะ
เรียนรู้ทักษะสำคัญเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้จัดการมืออาชีพได้ในหลักสูตร Manager of The Future หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร ที่ต้องการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการบริหารและการจัดการทีมด้วย Hard Skills และ Soft Skill ที่เหล่าผู้นำกว่า 40 ท่านจากองค์กรชั้นนำไว้วางใจ รุ่นที่ 2 เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ สมัครเรียนหลักสูตร Manager of The Future
ขอบคุณบทความ ‘Management Techniques and Leadership Strategies You Can Use Right Now’ UAB: The University of Alabama at Birmingham