ในฐานะ Manager บริหารยังไงเมื่อ 'ลูกน้องมีอายุมากกว่า'
Over View ลูกน้องอายุมากกว่าต้องบริหารอย่างไร
- สำรวจตัวเองเราเป็น Manager สายไหน
- จริงๆแล้วลูกทีมที่อาวุโสกว่าเราเขาต้องการอะไร
- แชร์เทคนิคจัดการอย่างไรถ้าได้ขึ้นเป็นหัวหน้ารุ่นพี่ในทีม
คำถามยอดฮิตที่จี๊ดทุกครั้งที่ถาม บริหารยังไงเมื่อ ‘ลูกน้องมีอายุมากกว่า’ ปัญหาที่อยู่กับสังคมคงไทยมานานคงหนีไม่พ้นปัญหาที่เกี่ยวกับความแตกต่างของช่วงวัยหรือที่เรียกกันว่า Generation Gap ด้วยวัฒนธรรมไทยที่ให้ความสำคัญกับการแสดงความเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่า คำแนะนำแรกคือเริ่มจากการยอมรับความจริงว่าอายุและตำแหน่งเปลี่ยนแปลงกันไม่ได้ แต่วิธีการสือสารและทักษะการเป็นผู้นำสามารถฝึกฝน พัฒนาและเปลี่ยนแปลงกันได้ ซึ่งเราจะมาเรียนรู้กันผ่านบทความนี้
สำหรับผู้จัดการที่มีอายุน้อยกว่าลูกน้อง อาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือไม่กล้าที่จะแสดงออก เนื่องจากกลัวว่าจะโดนมองว่าเป็นเด็ก หรือขาดประสบการณ์ แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข ประสบการณ์และความสามารถไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุเสมอไป ซึ่งเราต้องเข้าใจและแยกให้ออกว่าต้นตอของปัญหานั้นคืออะไร และเรากำลังบริหารจัดการทีมอย่างไรอยู่
สำรวจตัวเองกันก่อนว่าเราเป็น Manager สายไหน?
‘What kind of manager are you?’ เราเป็น Manager สายไหน
จากหนังสือ Radical Candor ได้จัดประเภทของ Manager ไว้ 3 แบบดังนี้
1. Absentee Manager- ผู้จัดการสายปล่อยเบลอ
คือผู้จัดการที่มอบหมายงานให้ลูกน้องแล้วปล่อยให้ลูกทีมทำงานเองโดยไม่ให้ความช่วยเหลือหรือคำแนะนำใด ๆ ผู้จัดการประเภทนี้มักปล่อยให้ลูกน้องทำงานผิดพลาดหรือใช้เวลานานกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
2. Micromanager - ผู้จัดการสายเฝ้าระวัง
คือผู้จัดการที่ลงไปควบคุมงานของลูกน้องมากเกินไป คอยควบคุมและตรวจสอบลูกน้องอยู่ตลอดเวลา ผู้จัดการประเภทนี้มักทำให้ลูกน้องรู้สึกอึดอัดและกดดัน เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าถูกจับตามองอยู่ตลอดเวลา
3.Thought Partner-ผู้จัดการสายใจถึงพึ่งพาได้
คือผู้จัดการที่มอบหมายงานไปแล้วยังมีส่วนร่วมกับงานของลูกน้องอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ถึงขั้นเฝ้าระวัง แต่คอยซัพพอร์ตโดยการคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือลูกน้องอย่างเต็มที่เมื่อลูกน้องต้องการ เรียกได้ว่าเป็นหัวหน้าในฝันของหลายๆคนเลยทีเดียว
เมื่อเรารู้ว่าเราเป็น Manager สายไหนแล้ว เราต้องมาดูกันต่อว่าจริงๆแล้วลูกน้องที่อายุมากกว่าเราเขาต้องการอะไร ต้องการวิธีการทำงานแบบไหน อะไรคือสิ่งสำคัญสำหรับลูกทีมที่มีอายุมากกว่าเรา
จริงๆแล้วลูกทีมที่อาวุโสกว่าเราเขาต้องการอะไร
หลังจากสำรวจตัวเองเรียบร้อยแล้วคุณผู้อ่านคงจะมีคำตอบในใจอยู่แล้วว่าตัวเราเองเป็น Manager สายไหน แล้วสำหรับสมาชิกทีมที่อาวุโสกว่าเราหละ พวกเขาต้องการหัวหน้างานแบบไหนที่จะทำงานกันได้อย่างราบรื่น เพื่อให้ที่ทำงานปราศจากความขัดแย้งในการที่ทำงาน
การที่ได้เป็นผู้จัดการ หรือหัวหน้าทีมตั้งแต่อายุยังน้อยเป็นโอกาสดีที่บริษัทได้มอบให้กับเรา และแน่นอนว่าเราคงไม่อยากให้โอกาสดีๆแบบนี้หลุดมือไปเพราะคุมทีมไม่อยู่ ดังนั้นไม่ว่าจะต้องบริหารคนที่ ‘เราอายุมากกว่าเขา’ หรือ ‘เขาอายุมากกว่าเรา’ สิ่งที่เหมือนกันคือการให้ความเคารพ เคารพในความเป็นเพื่อนร่วมงาน เคารพในความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทำงานของพวกเขา ก้าวข้ามความคิดที่ส่งต่อกันมาว่าคนรุ่นเก่าไม่ปรับตัวเพราะนั่นไม่ใช่ความจริงเสมอไป
สรุปแล้วเราเข้าหารุ่นพี่ด้วยท่าทีแบบไหน ถ้าเข้าหาแบบสั่งการอย่างเดียวไม่ว่าเข้าหาใครก็คงเป็นปัญหาอยู่ดี ลองเปลี่ยนมาใช้การเป็น Partner Manager ผู้จัดการที่เข้าใจความต้องการ ลองใช้การขอความร่วมมือแทนการสั่งการจะดีกว่า คอยให้การสนับสนุนและให้กำลังใจเมื่อลูกน้องต้องการ
จัดการยังไงในเมื่อ 'ลูกน้อง'
มีประสบการณ์ทำงานมากกว่าแล้ว 'ไม่ยอมฟัง'
1. ให้ความเคารพ
สิ่งแรกที่ควรทำคือให้ความเคารพลูกน้องทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมกับการแบ่งปันความคิดเห็น คอยถามข้อคิดเห็น และให้ความสำคัญกับตัวตนของเขา สิ่งนี้จะช่วยให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกัน
2. เน้นที่ผลงาน
ในฐานะผู้จัดการ สิ่งสำคัญคือต้องเน้นที่ผลงานของลูกน้องมากกว่าอายุ ให้ความสำคัญกับทักษะและความสามารถของลูกน้องแต่ละคน อาจสังเกตจุดแข็ง และมอบหมายงานที่เหมาะสม เพื่อเป็นการให้โอกาสพวกเขาได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่
3. เรียนรู้จากลูกน้อง
อย่ามองข้ามประสบการณ์ของลูกน้องที่มีอายุมากกว่า เรียนรู้จากพวกเขา แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของคุณกับพวกเขา และทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีม
4. ให้คำติชมอย่างสร้างสรรค์
การให้คำติชมอย่างสร้างสรรค์จะช่วยให้ลูกน้องพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น ให้คำติชมที่เป็นประโยชน์และมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา หลีกเลี่ยงการวิจารณ์หรือตำหนิลูกน้องโดยการใช้อารมย์ และไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การวิจารณ์ตัวตน แต่ควรบอกให้เขาแก้ไขหรือปรับปรุงพฤติกรรมแทนจะดีกว่า
5. ให้รางวัลและการสนับสนุน
เมื่อลูกน้องทำงานได้ดี ให้รางวัลและการสนับสนุนแก่พวกเขา สิ่งนี้จะช่วยสร้างขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการทำงาน
บทเรียนอันล้ำค่าสู่เทคนิคการบริหารความขัดแย้งในที่ทำงาน
แค่พาลูกน้องไปกินกาแฟก็จบเรื่อง
เทคนิคจากคุณ อิง ดาริน สุทธพงษ์ Co-Founder/ CEO Hato Hub, Exclusive Speaker ของหลักสูตร Manager of The Future รุ่นที่ 1 ได้พูดถึงประสบการณ์ทำงานในองค์กรระดับโลกอย่าง Amazon ของ Jeff Bezos
คุณอิงได้เล่าประสบการณ์การทำงานไว้ว่าเป็นคนไทยที่ต้องเป็นหัวหน้าทีมที่ลูกทีมอายุมากกว่า แถมมาจากแตกต่างเชื้อชาติ วิธีการทำงานท่ามกลางความแตกต่างของวัฒนธรรม และ Generation Gap คือ การยอมรับและทำความเข้าใจในความแตกต่าง หาเวลาพูดคุยกันอย่างเปิดใจ ตรงไป ตรงมา เช่นการหาเวลาไปจิบกาแฟเพื่อพักหน้าที่การเป็นหัวหน้ากับลูกน้อง ลองมาคุยกันในฐานะเพื่อนร่วมทีมที่รับฟังซึ่งกันและกัน เพราะสุดท้ายแล้วทีมเดียวกันก็มีเป้าหมายอย่างเดียวกันอยู่ดี
‘กาแฟ 1 แก้วจะทำให้ความสัมพันธ์ของคุณดีขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากความเข้าใจ และการเปิดใจของคุณ ผ่านบทสนทนาที่แสดงถึงความใส่ใจ’
หวังว่า Manager ทั้งมือใหม่และมือโปรจะได้เทคนิคดีๆไปใช้ในการบริหารจัดการทีมของตัวเองไม่มากก็น้อยนะคะ หากอยากรู้เทคนิคในการบริหารจัดการทีมเข้าใจหลักการบริหารคนด้วยหลักจิตวิทยา อย่างการบริหารคนตามลักษณะนิสัย รูปแบบการสื่อสาร การเรียนรู้แนะนำหลักสูตร Manager of The Future ที่รวบรวมทุกองค์ความรู้ที่เมเนเจอร์ไม่รู้ไม่ได้