Online Grocery เทรนด์มาแรงในช่วงโควิด-19: HappyFresh, Grab, LINEMAN, FoodPanda

May 20, 2021
Nae Nae Montawan

ล่าสุด เปิดต้นปี 2021 มา ประเทศไทยได้มีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้โรงเรียน สถานศึกษา และบริษัทต่าง ๆ ต้องปิดตัวลงชั่วคราว และทำการ Work From Home กันอีกครั้ง

แน่นอนว่า การเรียน และ ทำงานจากที่บ้าน ผนวกกับความเสี่ยงของการติดโควิด-19 เมื่อออกไปข้างนอกนั้น ทำให้ผู้คนระมัดระวังตัวมากขึ้น การรับประทานอาหารตามร้านอาหารต่าง ๆ และรวมไปถึงการเดินช้อปปิ้งในห้างก็ลดน้อยลง

แต่อย่างไรก็ตาม demand ของการซื้อสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค หรือของใช้ในบ้านนั้นไม่ได้ลดน้อยลง ตรงกันข้าม กลับมีความต้องการที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดเทรนด์ออนไลนต์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเทรนด์ที่กำลังมาแรงในไทยและประเทศต่าง ๆ นั่นก็คือ online grocery หรือ การซื้อของอุปโภคบริโภคจากซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ ซึ่งกำลังมาแรงพอ ๆ กับบริการ food delivery เลยทีเดียว

COVID-19 กับ E-Commerce 

ผลกระทบของโควิด-19 นั้น ทำให้ตลาดของ e-commerce มีการเติบโตเป็นอย่างมาก โดย Statista ได้คาดการณ์ไว้ว่า revenue ของ e-commerce market ในประเทศไทยนั้น จะมีมากถึง US$8,900 ล้าน หรือประมาณ 267,890 ล้านบาท ในปี 2021 นี้ และแน่นอนว่าการซื้ออาหารและของใช้ออนไลน์จึงกลายเป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในปัจจุบัน และในมือถือของแทบทุกคนตอนนี้ เชื่อว่าน่าจะมีแอปพลิเคชันสั่งอาหาร food delivery ไว้เรียบร้อยแล้ว โดย marget segment ที่ใหญ่ที่สุดใน e-commerce นั้นคือ Food & Personal Care หรือ อาหารและของใช้ประจำวัน ซึ่งในขณะนี้มีการคาดการณ์ทางสถิติว่า Food & Personal Care จะมี market volume สูงมากถึง US$3,139m หรือ 94,295 ล้านบาทในปี 2021 เลยทีเดียว

Bangkok Online Grocery Landscape 

ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ประเทศไทยของเราได้มีการใช้งาน food delivery application ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Grab, LINEMAN, FoodPanda หรือแม้กระทั่ง Gojek เป็นต้น แต่นอกจากการสั่งอาหารจากร้านอาหารแล้ว การซื้อของอุปโภคบริโภคจากซูเปอร์มาร์เก็ตก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากเมื่อต้องกักตัวอยู่บ้านในช่วงโควิดเช่นกัน เราจึงได้เห็นถึง emerging market ของการเพิ่มขึ้นของ features ใน application ต่าง ๆ เหล่านี้ ให้มี online grocery shopping เพิ่มขึ้นมาจากบริการ food delivery 

โดยตอนนี้ตลาด online grocery ในประเทศไทย ที่เป็น B2C นั้น มี players หลัก ๆ ดังนี้:

Photo reference: Happyfresh and Pandamart website

1. Happy Fresh (Happy Fresh + GrabFresh + LINEMAN Mart Service)

*photo reference:  https://www.happyfresh.co.th/en

HappyFresh เป็น online supermarket platform ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ที่ HappyFresh เข้ามา operate หลังจากมีการเริ่มต้นที่อินโดนีเซียแและมาเลเซีย โดย HappyFresh ได้เข้ามาตลาดไทยในปี 2015 และได้มีการ partner กับ retail stores ต่าง ๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น เครือ The Mall, ตั้งฮั่วเส็ง และ BigC โดยในขณะนี้มี partner เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าชั้นนำมากกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ โดย HappyFresh ระบุว่า จะส่งของอุปโภคบริโภคให้ภายใน 1 ชม. หลังจากที่ลูกค้าทำการออเดอร์

สำหรับ business model ของ HappyFresh นั้น จะโฟกัสที่การทำ revenue-sharing กับ supermarket partners ต่าง ๆ เป็นหลัก

นอกจากนี้ หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นชินกับการใช้ application Grab หรือ LINEMAN ในช่วงกักตัวอยู่ที่บ้านในช่วงโควิด เพื่อใช้สั่งอาหาร หรือ food delivery ซึ่ง appplication ทั้งสองนี้ มีการให้บริการ Online Grocery เช่นเดียวกัน

Sources: Grab and LINEMAN Application

โดยในปี 2018 HappyFresh ได้ร่วมมือกับ Grab เกิดเป็น GrabFresh ขึ้น และในปี 2019 HappyFresh ได้รับการระดมทุนจาก Grab Ventures และ Line Ventures จึงทำให้ Line นั้น ก็ได้ตัดสินใจ launch LINEMAN Mart Service ซึ่ง operate โดย HappyFresh เช่นเดียวกัน 

จึงเห็นได้ชัดว่า key players ในวงการ food delivery ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Grab หรือ LINEMAN ที่มีฐานลูกค้าและผู้ใช้งานมากอยู่แล้วนั้น (เช่น LINEMAN มีมากถึง 3 ล้าน users ต่อเดือน)  ทำให้ HappyFresh สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้นในตลาด online grocery ของประเทศไทย

2. Pandamart by FoodPanda

Source: Foodpanda Application

อีก player หนึ่ง ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาในตลาด online grocery market เมื่อกลางปี 2020 ที่ผ่านมา คือ Pandamart by FoodPanda โดยชูจุดเด่นของตัวเองในด้าน Q-Commerce (Quick-Commerce) จัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภคภายใน 25 นาที โดยมี business model 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

1) รายได้จากการขายสินค้าของคลัง Pandamart เอง
2) เก็บค่า commission จาก retail partners เช่น BigC, Lawson และ CP Freshmart

โดยในปัจจุบัน Pandamart มีคลังสินค้าของตนเองอยู่ 7 พื้นในกรุงเทพ 7 ไม่ว่าจะเป็น วัฒนา, ลาดพร้าว, สาทร, งามวงศ์วาน, สุทธิสาร, บางนา และธนบุรี ซึ่ง model นี้ทำให้ Pandamart แตกต่างจาก HappyFresh ที่ไม่ได้มีคลังสินค้าของตนเอง เพียงแต่ partner กับ retail partners ต่าง ๆ เท่านั้น

Looking Forward: 2021 Online Grocery Trends & Future of Physical Retail Stores

จะเห็นได้ว่า players หลัก ๆ ในด้าน Online Grocery ในประเทศไทย มีอยู่เพียงสอง players ด้วยกัน คือ HappyFresh ที่เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2015 กับ FoodPanda ซึ่งเปิดตัว Pandamart ไปในปี 2020 ซึ่ง sector ของ online grocery ใน e-commerce กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์โควิค-19 ที่ได้เข้ามาทำให้การใช้งานของบริการ online grocery มีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงน่าจับตามองว่าจะมี players อื่น ๆ ที่จะเข้ามาสู้ศึกในตลาดของ online grocery ในไทยอีกหรือไม่ 

สำหรับในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกานั้น ตลาด online grocery มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นจาก $28.6b ในปี 2019 เป็น $59.5​b ในปี 2023 ซึ่งตลาดนี้ในไทยและ SEA ก็กำลังเติบโตตามมาอย่างติด ๆ 

อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องจับตามองในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ คือ ชะตาของร้านขายของและ retail stores ที่อาจจะเปลี่ยนไป เมื่อผู้คนเริ่มคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้าน structure และ employment ของ physical retail อย่างไรบ้าง ยังจำเป็นที่จะต้องมีหน้าร้านมากน้อยแค่ไหน? ผู้นำธุรกิจจึงควรเตรียมความพร้อม ปรับตัว เพื่อรับมือกับ digital disruption และ transformation ในศตวรรษที่ 21 นี้

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงจาก Traditional Retail Stores เป็น Store of The Future

1. Discover and Create Awareness

จาก Television Marketing เป็น Social Media Marketing - Predictive Analysis of Social Media Profiles

จากที่เมื่อก่อน ร้านขายของต่าง ๆ อาจโปรโมตสินค้าผ่านทางโฆษณาโทรทัศน์ ก็ต้องปรับตัวมาสนใจเรื่อง online / social media marketing เพิ่มมากขึ้น เรียนรู้การ personalize ads ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หรือ profile ของลูกค้า การใช้ social media marketing ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok ฯลฯ เพื่อโปรโมทสินค้า จึงมีความจำเป็นมากขึ้น retail ต่าง ๆ จะต้องหันมาสนใจการใช้ platform เหล่านี้มากขึ้น

2. Purchase

จากการขายหน้าร้าน เป็น Multi-Nodal Purchase Options (Click & Collect, Mobile POS, Digital Wallets)

แน่นอนว่าตอนนี้ลูกค้าที่ไปซื้อของตามหน้าร้านนั้น มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมากในช่วงโควิด-19 ดังนั้นการปรับตัวให้ลูกค้าสามารถซื้อของได้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้นผ่าน application หรือ online platform จึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจค้าปลีกต้องรีบปรับตัว ทั้งวิธี แพลตฟอร์มการซื้อ รวมไปถึงการจ่ายเงินผ่าน mobile-banking และ digital wallets ต่าง ๆ

3. Supply Chain, Logistic and Warehousing

การเปลี่ยนแปลงจาก Linear Supply Chain เป็น Digital Supply Chain

จากที่ traditional business จะมีการใช้ linear supply chain โดยที่ data และ information ต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า จะต้องถูก process linearly

Digital Supply Chain Network เป็นการนำ real-time data มาประกอบการบริหาร supply chain สามารถทำให้ข้อมูลถูกส่งต่อได้รวดเร็วมากขึ้น มีการใช้ technology เป็น digital core ของการบริหารข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งช่วยส่งเสริม agility ในการจัดการ logistics ของ retail ซึ่งมี potential ที่จะช่วยลด transportation & handling costs โดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Walmart ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ก็ได้มีการใช้ Digital Supply Network เพื่อ optimize การทำงาน เช่น การใช้ RFID system เพื่อ track คลังสินค้า 

การใช้ Internet of Things (IoT) ทำให้การ monitor สินค้า การขนส่งต่าง ๆ มีความรวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น Unilever, P&G และ Dell ได้นำ model นี้ไปใช้ และลดค่าใช้จ่ายในด้าน delivery cost ได้มากถึง 10% - 20% เลยทีเดียว

และแน่นอนว่า การที่ supermarket ต่าง ๆ ได้ partner กับ HappyFresh และ FoodPanda เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และระบบ logistics ที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพและยอดขายในช่วงโควิด-19 และ post-โควิด-19 ได้อย่างดี

แต่อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ตอนนี้ autonomous vehicle และ drones ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งบริษัทชั้นนำอย่าง Amazon ก็ได้มีการ pilot การใช้ drone delivery ในสหรัฐอเมริกาแล้ว และอีกไม่นานคงจะมีประสิทธิภาพที่ได้รับมาตรฐานและการยอมรับในการใช้งานด้าน logistics มากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น logistics company อย่าง HappyFresh, Grab, LINEMAN, FoodPanda ฯลฯ เองก็คงจะต้องปรับตัวและเตรียมรับมือกับ digital disruption ในยุคของ continuous disruptions กันอีกครั้ง

และสำหรับใครที่สนใจและอยากเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเตรียมรับมือกับเทรนด์โลกในทศวรรษใหม่นี้ ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดย คุณกระทิง พูนผล อ่านรายละเอียด คลิก https://www.disruptignite.com

#CXO #TheNextCXO


ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://www.bangkokpost.com/business/1987359/foodpanda-joins-online-grocery-delivery-fray
https://www.bangkokpost.com/business/1841564/online-grocery-sees-surge
https://techsauce.co/news/line-man-mart-service 
https://www.grab.com/th/en/groceries/
https://grabdriverth.com/grabmart
https://www.statista.com/statistics/293707/us-online-grocery-sales/#:~:text=The%20U.S.%20online%20grocery%20market,2016%2C%20were%20Amazon%20and%20Walmart.
https://www.statista.com/outlook/243/126/ecommerce/thailand
https://apps.fas.usda.gov/newgainapi/api/Report/DownloadReportByFileName?fileName=Thailand%20Online%20Food%20Delivery%20Market_Bangkok_Thailand_05-28-2020
https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/in/Documents/CIP/in-cip-disruptions-in-retail-noexp.pdf
Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง