Pat Thitipattakul
Corporate Innovation Manager
หลังจากที่ทีมงาน Disrupt ได้เผยแพร่บทความ “เจาะลึกเทคนิคการทำ Pitch Deck ไฟล์พรีเซ้นท์นำเสนอผลงานสำหรับ Startup” ก็ได้ผลตอบรับที่ดีมาก
กลับมาครั้งนี้ งาน Education Disruption Hackathon ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษาที่เรากำลังจะจัด ปีนี้มีเปิดรับทีมฝั่ง Social Impact ด้วย เราจึงได้เตรียมข้อแนะนำเพิ่มเติมและตัวอย่างในการทำ Pitch Deck สำหรับ Social Enterprise (SE) / Social Innovation (SI) ธุรกิจเพื่อสังคมบ้าง ซึ่งจะมีข้อแตกต่างบางส่วนจาก Pitch Deck แบบ Startup ซึ่งเน้นความเป็นธุรกิจ พร้อมแล้วมาดูกันเลย!
Pitch Deck เป็นเครื่องมือที่เราใช้ในการสื่อสาร หรือสรุปให้ผู้ฟังเข้าใจธุรกิจของเราภายในระยะเวลาอันสั้น และมี Slide ไม่เกิน 13-15 Slides ส่วนมากจะใช้เวลาไม่เกิน 3-7 นาที
โดยรวมแล้วรูปแบบมีความคล้าย แต่ ข้อมูลและประเด็นที่ต้องเน้นจะค่อนข้างแตกต่างกัน
คำนิยามของ SE School กล่าวไว้ว่า SE กิจการเพื่อสังคม คือ ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจในระดับที่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยตนเอง ทำให้มีความยั่งยืนในการแก้ไขประเด็นปัญหาเหล่านั้น ในขณะเดียวกันมีการวัดผลการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นจากกิจการและสามารถขยายผลการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ในอนาคต ดังนั้น ใน Pitch Deck แบบ SE จึงจะต้องเน้นในเรื่องประเด็นเหล่านี้
ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจ Startup เป็นธุรกิจที่เน้นการเติบโต ระดมทุนจากนักลงทุนเพื่อสร้างผลกำไร สร้างการเติบโตแบบ 10x ใน Pitch Deck แบบ Startup จะให้ความสำคัญกับธุรกิจและโอกาสในการเติบโตมาก
เราได้รวบรวมส่วประกอบสำคัญที่ควรมีใน Pitch Deck แบบ SE โดยได้รวบรวมมาจากประสบการณ์ตรงของทีมงาน Disrupt ข้อแนะนำจาก กสศ. จาก SE ชื่อดังในไทย และจากคลังความรู้ของ SE School และ ChangeFusion รวมถึงศึกษาจาก SE pitching งานแข่งขันต่าง ๆ
นอกจากนี้ เรายังมีตัวอย่างประกอบมาให้ดูด้วย เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ซึ่งตัวอย่างที่เราจะหยิบยกมาให้ดูในบทความนี้มาจาก 5 ทีมในเครือข่ายของเรา ได้แก่
ทีมงาน Disrupt ขอขอบคุณทั้ง 5 ทีมที่ยินดีช่วยแบ่งปัน slide ที่เคยทำ เพื่อเผยแพร่ความรู้
เป้าหมาย:
ต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า นี่คือปัญหาที่สำคัญ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข จะเป็นส่งผลร้ายต่อสังคม และที่สำคัญ ต้องทำให้เชื่อให้ได้ว่าปัญหานี้มีอยู่จริง ไม่ได้คิดเอาเอง แต่มีข้อมูลรองรับ เช่น สถิติ บทสัมภาษณ์ insight เคส ยิ่งถ้าเคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือเคยลงพื้นที่ไปสัมผัสปัญหาโดยตรงยิ่งดี
รูปแบบการนำเสนอ:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่างสไลด์ปัญหา จาก insKru ที่อธิบายว่าคุณครูต้องเผชิญปัญหาเรื่องระบบการประเมินผลงานครู การมีคำพูดจริงจากครูมาประกอบยิ่งช่วยให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น
ตัวอย่างสไลด์ปัญหา จาก insKru ที่อธิบายว่าคุณครูต้องเผชิญปัญหาเรื่องภาระงานเอกสาร จนกระทบเวลาเตรียมการสอน พร้อมยกตัวเลขจริงประกอบ
ตัวอย่างสไลด์ปัญหาจาก โครงการ Fun for ฟัน ที่แสดงให้ดูว่าปัญหาของทันตกรรมในปัจจุบันเป็นอย่างไร โดยใช้ภาพจริงประกอบ
ตัวอย่างสไลด์อธิบายปัญหา จาก Full Circle Filament ที่แสดงถึงปัญหาขยะล้นโลก โดยมีข้อมูลสถิติจริงมาประกอบ การทำเป็นกราฟแบบนี้ ทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่านับวันปัญหามีแต่จะแย่ลง ขยะพุ่งสูงขึ้นทุกปี
Disrupt’s Tips:
เป้าหมาย:
ต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า Solution นี้สามารถ “ทำได้จริง” “มีความแตกต่างจาก Solution อื่น ๆ ที่มีอยู่” และสามารถ “แก้ปัญหาได้จริง”
รูปแบบการนำเสนอ:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่างสไลด์โซลูชั่น จาก insKru อธิบายว่าแพลตฟอร์มคืออะไร ใช้ทำอะไร เพื่ออะไร พร้อมโชว์ภาพแพลตฟอร์มให้ดูเพื่อให้นึกภาพออกว่าเป็นอย่างไร
ตัวอย่างสไลด์โซลูชั่นจาก โครงการ Fun for ฟัน อธิบายคอนเสปต์หลักของโซลูชั่น ระบุคุณค่า 3 อย่างหลักของโครงการ
ตัวอย่างสไลด์โซลูชั่นจาก Full Circle Filament อธิบายโมเดลการดำเนินงาน ว่ามีขั้นตอนหลักอะไรบ้างที่ต้องทำในกระบวนการผลิตสินค้ารีไซเคิล
Disrupt’s Tips:
สำหรับทีมงาน Disrupt เราชอบเป็นพิเศษ ถ้าไอเดีย Solution สามารถแสดงให้เราเห็นได้ว่า
เป้าหมาย:
ต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจความต้องการของเขา ระบุได้ว่าเขาเป็นคนกลุ่มไหน มีจำนวนประมาณเท่าไร และเรามีช่องทางในการเข้าถึงเพื่อเข้าไปสร้างคุณค่า ช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้
รูปแบบการนำเสนอ:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่างสไลด์กลุ่มเป้าหมาย จาก insKru อธิบายว่าคุณครูกลุ่มไหนที่เป็นกลุ่มที่จะมาเข้าร่วมการอบรมของ insKru และระบุจำนวน
ตัวอย่างสไลด์ตลาดและกลุ่มเป้าหมายจาก โครงการ 10 ASEAN โชว์จำนวนโรงเรียนทั้งหมด (ขนาดตลาด) แล้วแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มย่อยได้แก่ โรงเรียนทั่วไป และโรงเรียนเฉพาะทาง ในกรณีนี้จะเริ่มเจาะตลาดกลุ่มโรงเรียนทั่วไปก่อน
ตัวอย่างสไลด์กลุ่มเป้าหมายจาก โครงการ 10 ASEAN ทำ Persona อธิบายลักษณะ และความต้องการของคนกลุ่มที่น่าจะเป็นลูกค้าหลัก ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้นว่าลูกค้าคือใคร ทำไมถึงต้องการโซลูชั่นนี้
ตัวอย่างสไลด์ตลาดและกลุ่มเป้าหมายจาก โครงการ Fun for ฟัน ที่แสดงถึงขนาดตลาดซึ่งคำนวณมาจากจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างสไลด์ตลาดและกลุ่มเป้าหมายจาก Look ‘n Say แสดงจำนวนผู้สูญเสียการได้ยินทั้งหมดในประเทศไทย จำนวนโรงเรียนโสตศึกษา จำนวนคุณครูโสตศึกษา
ยิ่งในกรณีนี้ได้เน้นย้ำให้เห็นว่า ปริมาณครู ไม่เพียงพอต่อ จำนวนคนหูหนวก อย่างมาก นอกจากจะได้อธิบายเรื่องขนาดตลาดแล้ว สไลด์นี้ยังช่วยเสริมให้เห็นความรุนแรงของปัญหาด้วย
Disrupt’s Tips:
เป้าหมาย:
ต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า จะมี impact เกิดขึ้นจริง ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง และมีแนวทางในการวัดผล
รูปแบบการนำเสนอ:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่างสไลด์เป้าหมายทางสังคมจาก Look ‘n Say บอกความคาดหวังจากการดำเนินโครงการ และระบุตัวเลขว่าในระยะที่ 1 มีเป้าหมายที่จะเข้าถึง 20 ครอบครัว
ตัวอย่างสไลด์เป้าหมายทางสังคมจาก Look ‘n Say บอกผลกระทบที่อยากให้เกิดในสังคม วิสัยทัศน์หลักในการดำเนินงาน คือ การช่วยให้เด็กหูหนวกสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดมาใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป
ตัวอย่างสไลด์แนวทางการวัดผลทางสังคมจาก SE school โดยคุณคิม Change Ventures อธิบายว่า เป้าหมายคืออะไร แล้วจะวัดผลอย่างไร
(สำหรับคนที่สนใจแบบที่ลึกยิ่งขึ้น มี framework ที่เป็นสากลทั่วโลกที่หน่วยงานเพื่อสังคมที่เติบโตใหญ่แล้วใช้กันเป็นมาตรฐาน เช่น SROI, Social Value ศึกษาได้ที่ ป่าสาละ)
เป้าหมาย:
ต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า ทีมนี้มี passion ในเรื่องนี้ มีทักษะ มีความเข้าใจ และมีความตั้งใจจริงที่จะทำให้เกิดขึ้น
รูปแบบการนำเสนอ:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่างสไลด์ทีมจาก insKru ที่อธิบายตำแหน่งของแต่ละคน ซึ่งมีความหลากหลายและสอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในการทำแพลตฟอร์มลักษณะนี้
ตัวอย่างสไลด์ผลงานและรางวัลของทีมจาก insKru ทำให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
ตัวอย่างสไลด์ทีมจาก Look ‘n Say ที่อธิบายงานหลักและจุดแข็งของแต่ละคนที่แตกต่างกัน มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยให้คำแนะนำด้วย ก็คือ ครูนวล ที่สอนเด็ก ๆ ฝึกพูดในโรงเรียนโสตศึกษา ยิ่งทำให้ทีมดูแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
Disrupt’s Tips:
เป้าหมาย:
ต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า องค์กรแบบนี้มีโอกาสอยู่รอดได้ในระยะยาว ในระยะแรกอาจยังไม่มีรายได้ ต้องพึ่งเงินสนับสนุน แต่ในระยะยาวมีช่องทางในการสร้างรายได้มาจุนเจือกิจการแบบไม่ต้องหวังผลกำไรก็ได้ สาเหตุที่ข้อนี้เป็นจุดสำคัญ เป็นเพราะว่า มีหลาย SE ที่ทำ impact ได้เยอะ แต่ไม่สามารถทำเงินได้ ทำให้วันหนึ่งมีเงินไม่เพียงพอแล้วต้องปิดตัวลง impact ที่ทำไปก็ต้องหยุดชะงักลง การจะทำให้ impact อยู่ยืนไปได้ยาว องค์กรควรมีรายได้มาจุนเจือในระดับที่เพียงพอต่อการดำเนินงานต่าง ๆ
รูปแบบการนำเสนอ:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่างสไลด์งบประมาณจาก โครงการ Fun for ฟัน แสดงการคำนวณมาว่า จะต้องใช้ต้นทุนในการดำเนินงานเท่าไรในระยะเวลา 1 ปี โดยแยกค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่ย่อย
ตัวอย่างสไลด์โมเดลในการทำเงินจาก insKru
ตัวอย่างสไลด์แผนระยะยาวจากโครงการ Fun for ฟัน
Disrupt’s Tips:
หลังจากนำเสนอเสร็จ ผู้ฟังส่วนมากจะจดจำได้เพียง 10% ของคอนเทนต์ทั้งหมดเท่านั้น อย่าลืมว่า คณะกรรมการวันหนึ่ง ๆ ต้องอ่าน Pitch Deck เป็นจำนวนมาก ผู้ฟังเองก็ได้ฟังเป็น 10+ ทีมใน 1 วัน
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณต้องสร้างความน่าสนใจให้กับ Pitch Deck ของคุณในทุก ๆ หน้า และในตอนจบของ Pitch Deck ควรเน้นย้ำอะไรก็ตามที่เราอยากจะให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านจดจำเกี่ยวกับ SE ของเรามากที่สุด อาจเน้นย้ำเรื่องความสำคัญของปัญหานี้ หรือ เล่าเป้าหมายความฝันของทีมก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่ทีมอยากเห็น อยากทำให้เกิด ความตั้งใจของทีม
หรือจะเล่าภาพใหญ่ของ Vision/Mission วิสัยทัศน์ที่กว้างมากขึ้นก็ได้ เช่น หากเราแก้ปัญหานี้ได้ สังคมจะเปลี่ยนอย่างไร และมันจะเป็นรากฐานต่อยอดไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในอนาคต
บทความนี้เป็นการให้ข้อแนะนำแบบกว้าง ๆ โดยพื้นฐาน ใช้ได้กับ SE ทุกประเภท หัวข้อการนำเสนอจะเรียงตามนี้หรือเรียงยังไงก็ได้ ตามหลัก storytelling ที่เราอยากจะเล่า
ในส่วนของความยาว แต่ละหัวข้อสามารถมีได้ 1-3 สไลด์ มากน้อยตามเรื่องที่ต้องการจะเน้น จำนวนหน้าทั้งหมด (ไม่นับ Appendix) ประมาณ 10-15 Slides จำนวนี้เป็นเพียงข้อแนะนำเฉย ๆ ไม่ได้ fix ขอเพียงแค่ว่าสามารถพูดนำเสนอให้จบภายใน 3-7 นาทีได้โดยไม่ต้องเร่ง ถ้าเกินเวลา อาจต้องตัดบางส่วนไปเป็น Appendix แล้วถ้ากรรมการถามประเด็นนั้น ค่อยเปิดมาให้ดู
และหากในธุรกิจของคุณมีประเด็นอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญอีก ก็สามารถใส่ข้อมูลประกอบเพิ่มมาอีกได้
เคล็ดลับก็คือ ลองจินตนาการดูว่า คนที่ไม่รู้จัก SE ของเรามาก่อน ถ้าได้มาดู Pitch Deck นี้เป็นครั้งแรก จะเข้าใจไหม? จะรู้สึกอินไปกับปัญหาไหม? จะรู้สึกว่าธุรกิจของเราสามารถช่วยเหลือสังคมได้จริงหรือไม่? แล้วเราจะได้ไอเดียว่า ข้อมูลตรงไหนที่ยังติดขัด ตรงไหนควรเพิ่ม
อีกเคล็ดลับหนึ่งคือ ถ้าจินตนาการไม่ออก ให้ลองเอา Pitch Deck ที่ทำเสร็จแล้ว ส่งไปให้คนอื่น เพื่อขอ feedback มาปรับ ถ้าเป็นคนที่เป็น กลุ่มเป้าหมาย stakeholders หรือ คนที่ไม่เคยรู้จัก SE ของเรามาก่อน ยิ่งดี
หลังจากอ่านบทความนี้จบ หากใครเตรียม Pitch Deck ของตัวเองพร้อมแล้ว และอยากก้าวมาทำ Education Innovation นวัตกรรมรูปแบบใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเสมอไป มุ่งช่วยเหลือการศึกษาไทย ลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ก็สามารถสมัครเข้าร่วมงาน Education Disruption Hackathon 2 แข่งขันพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษาฝั่ง Social Impact track ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 3 พฤษภาคม 2563 ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.disruptignite.com/hackathon
และสามารถขอรับคำปรึกษาจากทีมงาน Disrupt ในการเตรียม Pitch Deck ได้ในกลุ่ม https://www.facebook.com/groups/EducationDisruption/
หมายเหตุ: Pitch Deck สมัครเข้า Education Disruption Hackathon 2 หากทำได้ครบ 6 ข้อเป็นเรื่องดี แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ ยังไม่ต้องทำสมบูรณ์ครบทั้ง 6 ข้อก็ได้ ขอเพียงให้สามารถสื่อสารเรื่อง Problem, Solution, Team ให้ชัดเจน เข้าใจง่าย และน่าสนใจ ส่วนอีก 3 ข้อทีเหลือสามารถมาทำในงาน หรือ ปรึกษา mentor ในงานได้ ในการแข่งขันมีเวลาทำประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนวัน Final Pitching ตัดสินผู้ชนะ ที่จะต้องนำเสนอให้ครบทั้ง 6 ข้อ
ติดตามข่าวสารความรู้ในวงการสตาร์ทอัพได้ทางเพจ Disrupt Technology Venture และพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกคนมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่าน Content สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งฟังประสบการณ์ จาก EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จทั้งในไทยและต่างประเทศ ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่