Power Law แนวคิดสำคัญของ Venture Capital มีหลักการคิดยังไง?

June 13, 2024
Lamai Manassaya

Power Law - แนวคิดสำคัญของ Venture Capital มีหลักการคิดยังไง? 

หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นนักลงทุน Venture Capital (VC) ที่ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี (startup) แบบระยะเริ่มต้น (early stage) ลงทุนในบริษัทหลายตัวที่สุดท้ายไปไม่รอด แต่กองทุนกลับยังมีกำไรที่ดีอยู่ และกำไรสามารถขึ้นไปได้ถึง 3X 10X หรือ 100X นั่นเป็นไปได้อย่างไร?

การจะลงทุน VC ให้สำเร็จได้นั้น เราต้องเข้าใจกฎของเกมก่อน วันนี้เราจะชวนมาทำความเข้าใจกลไกการลงทุนของ VC ว่ากว่าจะได้กำไรนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และนักลงทุน VC มีแนวคิดอย่างไรบ้าง

Power Law Curve

หลักการทุนทวีคูณ (Power Law Curve) คือ การที่กำไรหลายเด้งของธุรกิจหนึ่งดึงผลตอบแทนของทั้งพอร์ตการลงทุนได้ ตามสถิติเพียง 6% ของพอร์ตสร้าง 60% ของผลกำไรทั้งหมดแก่ VC ตามหลัก Power Law Curve หรือจากกราฟด้านล่างจะเห็นได้ว่าบริษัทเทคโนโลยี (startup) 10 เจ้าจาก 10,000 เจ้าสร้างผลตอบแทน 97% ของพอร์ตเลยทีเดียว


บริษัทเทคโนโลยี (startup) กว่าครึ่งในพอร์ตมักขาดทุน แต่ถ้าเราเจอบริษัทเทคโนโลยี (startup) ที่กลายเป็น unicorn หรือ exit ได้มูลค่ามาก ก็จะถัวกับบริษัทที่ขาดทุนจนพลิกพอร์ตรวมเป็นกำไรได้ อย่างผลสำรวจจาก YC startups พบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยซึ่งรวมบริษัทเทคโนโลยี (startup) ที่ประสบความสำเร็จที่สุด (outliers) สูงถึง 33 เท่า แต่ค่ากลางของผลตอบแทนที่ไม่รวม outliers สูงเพียง 1X เท่านั้น ความแตกต่างนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเรารวมมูลค่า บริษัทเทคโนโลยี (startup) ที่สูงที่สุดไปด้วยสามารถพลิกเกมผลกำไรทั้งพอร์ตได้เลย

เมือเข้าใจหลักการแล้ว ลองมาดูตัวอย่างหลักการ Power Law ในกลไลการลงทุนกัน

  • สมมติตัวอย่างกองทุน 100 ล้านบาท หักค่าดำเนินการและส่วนที่สงวนไว้ลงทุนสมทบ (follow-on investment) เหลือเงินลงทุน  50 ล้านบาทในบริษัทเทคโนโลยี (startup)
  • ถ้าเราลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี (startup) 40 เจ้า ก็ลงทุนประมาณ 1.25 ล้านบาทต่อเจ้า 
  • สมมติเราตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ที่ 20% ต่อปีสำหรับระยะเวลาลงทุน 10 ปี นั่นแปลว่าในปีที่ 10 กองทุนจะต้องมีมูลค่าการลงทุน 620 ล้านบาท คำนวณจาก 100 ล้าน  x ( 1 + 20%)^10 = 620 ล้าน 
  • สถิติจาก Jenson Funding Partners พบว่าโดยปกติในกองทุนขนาดเล็ก (Microfund) ประมาณ 5% ของการลงทุนหรือเพียง 1-2 บริษัทเท่านั้นจะสร้างผลตอบแทนทั้งหมดของกองทุน แปลว่าเพียง 1-2 บริษัทในพอร์ตต้องมีมูลค่ารวมกันมากกว่า 620 ล้านบาทเพื่อให้กองทุนบรรลุเป้าหมายตามหลัก Power Law หรือจะกล่าวได้ว่า กองทุนนี้ได้กำไร 520 ล้านบาท (620ล้าน - 100ล้าน) ประมาณ 5 เท่าตัวนั่นเอง

โดยสรุปกลไกการลงทุนแบบ VC นั้นหากจะประสบความสำเร็จจะต้องหาบริษัทเทคโนโลยี (startup) ที่มีแนวโน้มมูลค่าเพิ่มแบบ exponential เพราะเป็นไปได้ยากที่ทุกตัวที่ลงจะสำเร็จ แต่หากเจอ Unicorn ซักตัวตามหลัก Power Law Curve แล้ว VC ก็จะสร้างผลตอบรับที่น่าพึ่งพอใจ

“สิ่งสำคัญคือ อย่าพลาดบริษัทที่มีศักยภาพมากพอที่จะเป็น Winner ในพอร์ตของกองทุน” ในหลักสูตรของ VC101 นั้น จะช่วยให้ทั้งบริษัทเทคโนโลยีและนักลงทุนได้เข้าใจหลักการนี้มากยิ่งขึ้นจากทุกมุมมองที่กล่าวมาในบทความนี้

.

.
ถ้าอยากศึกษาต่อ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.disruptignite.com/blog/product-market-fit-khuue-aair-thamaimsamkhay

.

.

📌 สมัครเรียนเลยวันนี้: https://uhvug5i4sgr.typeform.com/to/JfgK4zuO  

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.disruptignite.com/vc101  

````````````````````````````````````````````

‍เรียน Onsite ทุกวันเสาร์

🕘 เวลา 9.00 - 17.00 น. 

🗓 ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม - 21 กันยายน 2567

📌 สถานที่: Valia Hotel Bangkok

````````````````````````````````````````````

LINE: @disruptignite

Email: all@disruptignite.com

Tel: 089-991-8659

#VC101byDisrupt #DisruptRules

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง