Nae Nae Montawan
Business Development Associate
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย - Thailand Development Research Institute (TDRI)
หากคุณเห็นความสำคัญของนวัตกรรมที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย และสงสัยเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย ทาง TDRI ได้อธิบายเทรนด์ทางการศึกษาไทย และงานวิจัยโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาไทยไปให้ก้าวไกลมากขึ้น
ใน StormBreaker Batch 3 Bootcamp Session ที่ 2 ของ Disrupt Technology Venture สตาร์ทอัพของเราทุกทีม ทั้งทีม EdTech และ Social Impact ได้มีโอกาสเรียนรู้ และได้รับคำปรึกษาระดับ exclusive จาก คุณณิชา พิทยาพงศกร และ คุณทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ได้มาช่วยแชร์ทั้งความรู้และประสบการณ์ อีกทั้งจัดตั้งนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไทยให้กับเหล่า startups ของเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาต่าง ๆ มากมายอีกด้วย โดยทาง TDRI นั้น มีการทำงานหลัก ๆ ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม และเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายในหลากหลายประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่เราจะร่วมมือกัน พัฒนาระบบการศึกษาไทย เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสให้กับประเทศและคนรุ่นใหม่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แลปฏิรูประบบการศึกษาไทยให้ดีมากยิ่งขึ้น
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้สรุปภาพรวมมาว่า สองเทรนด์ใหญ่ที่ระทบการศึกษาไทย ได้แก่ (1) โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง และ (2) ความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี โดยสองเทรนด์นี้นั้น ได้ส่งผลกระทบกับการศึกษาไทยหลากหลายประการดังนี้:
ประเทศไทยมีอัตราการเกิดน้อยลงเรื่อย ๆ และกำลังเดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ส่งผลต่อการศึกษาไทย ดังนี้
โครงสร้างทางการศึกษาจำเป็นต้องลดขนาด
ในศตวรรษที่ 21 นี้ มีอัตราเด็กที่เกิดใหม่ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีนักเรียนที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาลดลง เมื่อตลาดลดลงเช่นนี้ จึงเกิดการแข่งขันระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเพื่อให้มีนักเรียนและนักศึกษามากขึ้น ตัวอย่างเช่น มีที่นั่งสำหรับนักเรียนเหลือใน TCAS, โรงเรียนบางโรงเรียนส่งรถตู้ไปรับเด็กหมู่บ้านข้าง ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียน, มหาวิทยาลัยไทยเริ่มพยายามรับเด็กต่างชาติเข้ามาเรียนมากขึ้น เกิดการลดแลกแจกแถมค่าหอและที่พัก เมื่อมีเด็กนักเรียนและนักศึกษาลดลง การลดจำนวนของบุคลากรนั้นก็เป็นอีกหนึ่งความยากลำบากที่หลายๆ โรงเรียนพบเจอเช่นกัน
อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ดีแล้วนั้น การที่จำนวนนักเรียนน้อยลงเป็นโอกาสที่เราจะสามารถลงทุนกับเด็กหนึ่งคนมากขึ้น และช่วยเพิ่มคุณภาพของการศึกษามากขึ้น
ภาครัฐอาจให้ความสำคัญกับการศึกษาลดลง
งบประมาณจากทางภาครัฐในการลงทุนทางการศึกษานั้นมีแนวโน้มที่จะลดลง ในทางกลับกันทางภาครัฐมีแนวโน้มที่จะเพิ่มงบประมาณทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีจำนวนผู้ที่ต้องการการดูแลมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เองอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นโยบายทางการศึกษานั้นอาจใช้เวลายาวนานขึ้นกว่าจะเห็นผล ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำวิจัยต่างๆ มาเป็นหลักฐานว่าการลงทุนทางการศึกษายังเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับประเทศ เนื่องจากเป็นการลงทุนกับทุนมนุษย์ และทำให้ประเทศได้ประโยชน์ในระยะยาวมากขึ้น จึงเห็นได้ชัดว่าการร่วมมือกันของ edtech และ social impact startups ของเรา เป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาไทยได้เร็วขึ้น
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ทำให้การเรียนรู้ในปัจจุบันอาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานในอนาคต ส่งผลให้การศึกษาไทยต้องปรับตัว ดังนี้
ปรับเป้าหมายการเรียนรู้ สู่การสร้างสมรรถนะ
เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้อย่างมากมาย เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีช่องทางการศึกษาใหม่มากยิ่งขึ้น ระบบการศึกษานั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี โดยให้นักเรียนเรียนรู้จากการ ใช้ประโยชน์ของข้อมูลมากกว่าการท่องจำ นอกจากนี้ ทั้งในไทยและระดับนานาชาติได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดทางการเรียนรู้ เช่น PISA นั้น ได้มีการเพิ่มการประเมินใหม่ เช่น ทักษะการแก้ปัญหาในรูปแบบกลุ่ม ในประเทศไทยเองก็ได้มีการเพิ่มการประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 ใน สูตรแกนกลาง ถึงเวลาแล้วที่ ประเทศไทยจะเปลี่ยนจาก standard-based education เป็น competency-based education เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับโลกอนาคต
การเพิ่มทักษะคนวัยทำงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เทคโนโลยีได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทย และทักษะที่ต้องการในตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เชื่อหรือไม่ว่าประชากรมากกว่า 8.2 ล้านคนของแรงงานไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี โดยต่ำกว่าครึ่งนั้นจบการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ความท้าทายจึงอยู่ที่ว่าเราจะสามารถเสริมทักษะให้เด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษาและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับแรงงานอย่างไรบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมให้มีการปรับตัวมากขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้ว่าจะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม
โครงการของ TDRI ขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้ “โรงเรียนดีมีอยู่ทั่วไปประเทศ” โดยเริ่มจากการหานวัตกรรม ถอดบทเรียน และนำไปสื่อสารเพื่อขยายผล
เว็ปไซต์รวบรวมนวัตกรรมการศึกษา โดยโรงเรียนไทย เพื่อโรงเรียนไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับครู ผู้บริหาร และคนไทยได้เข้าถึงข้อมูลนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น มีการรวบรวมนวัตกรรมทั้งด้านการบริหารโรงเรียนและการศึกษา เน้นการถอดบทเรียนและความเข้าใจง่าย เพื่อส่งเสริมให้มีการนำวัตกรรมไปต่อยอดและใช้กับสถาบันศึกษาอื่นๆในประเทศ
ตัวอย่างโครงการ
Makerspace เป็นโปรเจคที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning) และเน้นการเรียนรู้โดยการใช้ STEAM Design Process (Ask, Imagine, Plan, Create, and Reflect&Redesign) โดยส่งเสริมการปรับโครงสร้างเวลาเรียนเพื่อให้สนับสนุนกิจกรรม แนะนำการจัดเตรียมพื้นที่ อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ รวมถึงการพัฒนาคุณครูให้เป็น Maker Coach ที่จะสอนเด็กๆให้นำความรู้ไปต่อยอดได้
ช่องว่างระหว่างภาคนโยบาย และภาคปฏิบัติ มักทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาได้ยาก การผลักดันการเปลี่ยนแปลงทั้งแบบ top-down & bottom-up อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากมักมีความเสี่ยงล้มเหลวสูง และอาจขยายผลยาก จึงต้องมีพื้นที่ตรงกลาง พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา (Education Sandbox) จึงเป็นเป็นฐานผลักดันการปฏิรูประดับพื้นที่ ปรับได้ทั้งการสอน และระบบ สามารถถอดบทเรียนมาเพื่อขยายผลเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อการศึกษาไทยได้มากยิ่งขึ้น
3 กลไกในการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรม ได้แก่
ระบบตรวจเช็คสุขภาพภาพโรงเรียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Diagnostic tool for Sustainable Professional Development (DSPD) สร้างมาเพื่อส่งเสริม และพัฒนาโรงเรียนไทย โดยหลังจากการทำแบบสอบถามแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสื่อสารกลับไปว่าโรงเรียนควรพัฒนาอะไร แก้ตรงไหน เขตพื้นที่หรือหน่วยงานภายนอกจะไปสนับสนุนตรงไหนได้บ้าง โดยการตรวจเช็คสุขภาพโรงเรียนนั้น เน้นย้ำให้โรงเรียนและคุณครูเข้าใจว่า ไม่ได้มาจับผิด แต่เป็นการช่วยสร้าง conversation ระหว่างครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามากยิ่งขึ้น
โดยระบบตรวจเช็คสุขภาพภาพโรงเรียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการประเมินหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากรในโรงเรียน หรือ ด้านการพัฒนาวิชาชีพ โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินจาก survey จะมีการรายงานในรูปแบบ report card
การวัดตัวชี้วัดและทักษะต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี ทำให้ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง คุณครู และสถานศึกษา ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ การสอน และการทำงาน โครงการต่างๆของ TDRI เหล่านี้ ทำให้สามารถเห็นได้ชัดว่า การพัฒนาระบบการศึกษาไทย ด้วยนวัตกรรม การวิจัยและการขับเคลื่อนนโยบาย สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการศึกษาไทยได้ หากทุกคนร่วมมือกัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านต่อได้ที่ เว็ปไซต์ของ TDRI
ติดตามข่าวสารความรู้ในวงการสตาร์ทอัพได้ทางเพจ Disrupt Technology Venture และพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกคนมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่านบทสัมภาษณ์สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่