Q&A ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับงาน Minor Tasting The Future Hackathon 2018

November 6, 2018
Pat Thitipattakul

1. Hackathon คืออะไร ? ไอเดียที่จะมาทำในงาน มีรูปแบบการแข่งขันเป็นอย่างไร ?

Hackathon คือ งานระดมสมองและสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วนข้ามวันข้ามคืนเป็นเวลา 2 วันเต็ม ที่ให้ผู้ก่อตั้ง startups, designers, design thinkers, technologists, scientists, business persons รวมถึงคนหลากหลาย background มารวมตัวกันโดยเน้นคอนเซปท์ Build - Measure- Learn - Share ร่วมกันระดมสมอง คิดค้น และพัฒนานวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้ง business model ใหม่ แล้วแปลงไอเดียเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) พร้อมออกไปทดสอบกับลูกค้า/User จริงๆ รวมถึงสามารถปรึกษา Mentor เพื่อนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอ ภายในเวลา 2 วัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มักจะเป็น "ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ" หรือ "concept ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้" และสามารถนำไปพัฒนาต่อเนื่องได้หลังจากงาน Hackathon

สำหรับงาน “Minor Tasting The Future Hackathon” นี้ จะเน้นในเรื่อง Business (ไอเดียนวัตกรรม, แผนธุรกิจ, รูปแบบธุรกิจ Franschise แห่งอนาคต, รูปแบบร้านอาหาร Casual Dining แห่งอนาคตที่น่าสนใจ) และ Technology (Deeptech - FoodTech, Mobile Application/Website, Software-As-A-Service, AI/ML) โดยสามารถออกผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือนวัตกรรมใหม่ในงาน หรือแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Food, Dining และ Restaurant ภายใต้ Themes ทั้ง 7 ที่เรากำหนด 

2. ขั้นตอนการสมัครเป็นอย่างไร จะสมัครต้องใช้อะไรบ้าง ?

กรอกแบบฟอร์มการสมัครเข้ามาภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 โดยประกอบไปด้วย

  1. ข้อมูลของผู้เข้าร่วม - ทีมต้อง มีสมาชิก 2-3 คนขึ้นไป
  2. Pitch Deck ไฟล์ระบุรายละเอียดไอเดีย นวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์
  3. ตอบคำถามทั่วไป เช่น ทำไมถึงสนใจด้านอาหาร ประสบการณ์/ Passion

ผู้ที่ได้รับคัดเลือก 20 ทีมสุดท้ายเท่านั้น ที่จะมีโอกาสได้เข้าร่วมงานในวันที่ 1-2 ธันวาคม

3. Pitch Deck คืออะไร มีลักษณะอย่างไร ?

ไฟล์ presentation ขนาดสั้นไม่เกิน 10 Slides ที่แนะนำทีมงานและ ไอเดียคร่าว ๆ ที่จะทำใน Hackathon, Pain Point อะไรที่คุณกำลังจะแก้, ปัญหานี้ทำไมถึงใหญ่ และสำคัญ พร้อมเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรเลือกทีมคุณ

4. ยังไม่มีทีม แต่ต้องการร่วมแข่งขัน ทำอย่างไรดี ?

สามารถกรอกฟอร์มไว้ได้ โดยทางทีมงาน Disrupt จะช่วยหาผู้ร่วมทีมให้คุณ โดยมีการจัด Matchmaking Event ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 ให้ผู้คนที่อยากแข่งแต่ยังไม่มีทีมได้มาเจอกัน

5. ในวันงาน Hackathon จริง มีลักษณะเป็นอย่างไร ?

เฉพาะ 20 ทีมสุดท้าย (Finalists) ที่ผ่านการคัดเลือกเท่านั้น ที่จะได้เข้าร่วมแข่งขัน โดยในระยะเวลางาน จะมีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

  1. Lecture Session ร่วมฟังบรรยายเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของอนาคตอุตสาหกรรมอาหาร ในหัวข้อ Future of food retail industry และความรู้ต่าง ๆ ที่สำคัญกับ Startup เช่น การสร้าง Prototype อย่างรวดเร็ว รวมถึงวิธีการ Pitch ใน Session Pitch Clinic
  2. Mentoring Session ให้ทีมได้พูดคุยปรึกษา mentor ระดับ Top ของประเทศ เช่น คุณวิลเลี่ยม ไฮเน็ค Founder and Group CEO ของ Minor International , คุณกระทิง พูลผล Managing Partner ของ 500 TukTuks, คุณยอด ชินสุภัคกุล CEO ของ Wongnai, คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ CEO จาก Ookbee, คุณสมโภชน์ จันทน์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการโครงการ dtac accelerate เพื่อขอคำแนะนำ และความเห็น ในการพัฒนาต่อยอดไอเดียหรือ product
  3. Sprint มีเวลาจัดสรรให้ทีมได้ทำงาน เพื่อระดมสมองปรับแผนธุรกิจ แก้ไขพัฒนา Product ต่อ ตามที่ได้รับ feedback เพิ่มเติมจาก mentor
  4. First Round Pitch (Pitch 3 mins + Q&A 2 mins / Team)

หลังจากที่ได้พัฒนาไอเดียหรือ product เพิ่มเติมกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่ช่วงที่ต้องนำเสนอให้คณะกรรมการเป็นเวลา 3 นาที และถามตอบ 2 นาที เพื่อคัดเลือก 10 ทีม เข้าสู่ Final Round Pitch

  1. Final Round Pitch on Stage (Pitch 4 mins + Q&A 3 mins /Team)

10 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ขึ้น Pitch บนเวที เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการ เป็นเวลา 4 นาที และถามตอบ 3 นาที เพื่อตัดสินหาผู้ชนะ รางวัลที่ 1 และ 2 และ 3 ตามลำดับ

สามารถดู agenda ของวันงาน Hackathon ได้ที่ >> Minor Tasting The Future Hackathon

6. ผู้ชนะในงาน Hackathon จะได้รับอะไรบ้าง ?

นอกเหนือจากรางวัลที่ 1 ที่จะได้รับ 100,000 บาท และ fast track เข้าสู่ dtac accelerate Batch 7 รอบ Final Pitching Day ในปี 2019,  ที่ 2 ได้รับ 70,000 บาท และที่ 3 ได้รับ 50,000 บาทซึ่งเป็นเงินรางวัลให้เปล่า

หลังจบงาน ทีมที่มี Product ที่น่าสนใจ รวมถึงมี Synergy กับ Minor จะได้รับโอกาส Fast Track ในการพิจารณาการลงทุนเพิ่มเติมจาก Minor Group และ 500 TukTuks (Runway to Seed/ Series A Funding) ***ทั้งนี้ขึ้นกับความน่าสนใจของ Product และทีมนั้นๆ

7. มีเกณฑ์การตัดสินทีมที่เข้ารอบและผู้ชนะอย่างไร ?

  1. Innovation : ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์  มีความสร้างสรรค์ น่าสนใจ มีนวัตกรรม มีประโยชน์ และมี Impact ต่ออุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจอาหาร และร้านอาหาร
  2. Business Model : ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ สามารถทำได้ในสภาพธุรกิจจริงในเมืองไทย และมีโอกาสเติบโตในระดับภูมิภาค
  3. Synergy: ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ มีความเกี่ยวข้อง และมีความเป็นไปได้ ที่จะสามารถต่อยอดธุรกิจในเครือของไมเนอร์ฟู๊ด
  4. Presentation: Pitch Deck อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ข้อมูลสำคัญครบถ้วน รวมถึงสามารถสร้างความน่าสนใจในการนำเสนอผลงาน รวมถึงการตอบคำถามของคณะกรรมการผู้พิจารณา
  5. Relevant Experience: ประสบการณ์ (หากมีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ): ประสบการณ์โดยรวมของทีมที่มีเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ เช่น อยู่ในธุรกิจร้านอาหาร, ค้าปลีกอาหาร, Blogger, Foodie ที่ชอบรีวิวอาหาร, เคยทำ Startup, เคยเขียนโปรแกรมร้านอาหาร, เคยบริหารงานร้านอาหาร หรือ นักศึกษา/กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบอาหาร หรือ ธุรกิจอาหาร

8. ภายในงาน จะได้พูดคุยปรึกษากับ mentor ทุกท่านครบเลยไหม ?

แต่ละทีมที่ผ่านเข้ารอบได้มาร่วมแข่ง hackathon (20 ทีมสุดท้าย) จะได้รับแบบฟอร์มให้ลงทะเบียนเลือก mentor ในฟอร์มจะมีให้จัดลำดับตามความสนใจ ทางทีมงานจะทำการ match ให้ โดย 1 ทีมจะได้พูดคุยกับ mentor อย่างน้อย 2 ท่านในงาน

9. ตัวอย่างนวัตกรรมและ startup เกี่ยวกับ Food/Dining ที่น่าสนใจในไทย

  • JuiceInnov8 เป็น deeptech startup รวมตัวโดยทีมนักวิจัยที่เน้นในเรื่อง food biotechnology โดยได้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในน้ำผลไม้ ได้ถึง 30-50% ทำให้มีแคลอรี่ต่ำแต่ยังคงความหวานและรสชาติผลไม้ไว้ได้ ตอบโจทย์เรื่อง health trend ของผู้บริโภค
  • Wongnai แพลต์ฟอร์มรีวิวร้านอาหารที่มีผู้ใช้มากที่สุดในไทย
  • FoodStory ระบบ POS และบริหารจัดการสำหรับร้านอาหาร ช่วยให้ร้านอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น
  • QueQ แอพพลิเคชั่นจัดการจองคิวร้านอาหาร
  • บริการจัดส่งอาหาร อย่าง Foodpanda, LINE MAN, Grab Food

ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถกรอกใบสมัครได้โดยตรงที่ Minor Tasting The Future Hackathon 2018

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถส่งข้อความมาถามได้ที่เพจ DisruptUniversity



Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง