จุดประกายเทรนด์การศึกษาไทยในยุคหลังโควิด-19

November 16, 2021
Pat Thitipattakul

การศึกษาไทยถูก disrupt ครั้งใหญ่ในช่วง lockdown ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้โรงเรียนทั้งประเทศต้องปิดลงชั่วคราว และดำเนินการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ คุณครู โรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวครั้งใหญ่ วิกฤตในครั้งนี้ได้ทำให้ปัญหาที่มีอยู่ อย่างเช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ยิ่งเลวร้ายลงจาก Digital Divide ที่เกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ได้นำมาซึ่งโอกาสใหม่ ๆ มากมายในแวดวงการศึกษาไทย นับเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะชี้ชะตาอนาคตการศึกษาไทย

ทาง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จึงได้ร่วมมือกับดิสรัปท์ในการจัดงาน “Education in a post-COVID world: Collaboration for Change” ซึ่งเป็นการประชุมที่รวมตัวองค์กรที่สนใจเรื่องการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ รวมถึงเฟ้นหาโอกาสในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันพัฒนาการศึกษาไทยให้ก้าวเดินต่ออย่างยั่งยืนในยุคหลังโควิด-19 ซึ่งหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมครั้งแรกนี้ได้แก่ กสศ., KBTG, TCP, depa, TDRI, True Digital Park และทีมงานดิสรัปท์

โดยในการประชุมครั้งนี้มีข้อมูล insights ที่น่าสนใจ และเป็นจุดใหม่ในหัวโค้งสำคัญหลังยุควิกฤตโควิด-19 ซึ่งมีประเด็นสำคัญต่าง ๆ สรุปมาได้ดังนี้:

วิกฤตหลังโควิด ผลักเด็กยากจนพิเศษเพิ่มสูงขึ้นรวมมากกว่า "ล้านคน" ในปีนี้

ข้อมูลจาก กสศ. เผยตัวเลขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ถูกถ่างกว้างขึ้นในช่วงโควิด ผลักเด็กยากจนพิเศษเพิ่มสูงขึ้นกว่า 11% จากปีที่ผ่านมา สร้าง New high พุ่งทะลุแตะ 1.3 ล้านคนในปีนี้ เด็กหลายคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาด้วยปัญหาจากหน้าที่การงานของผู้ปกครอง รวมถึงการย้ายถิ่นฐานกลับบ้านเกิดที่ทำให้ขาดช่วงไป ซึ่งทาง กสศ. เองก็หวังว่าภาวะนี้เป็นภาวะชั่วคราวจากความยากจนแบบเฉียบพลัน หากว่าวิกฤตเริ่มทุเลาลงแล้วทางครอบครัวมีรายได้ที่ดีขึ้น แล้วหวังว่าจะสามารถส่งบุตรหลานกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้

ขอบคุณข้อมูลจาก กสศ.

ผลสำรวจจาก OECD ได้ชี้ให้เห็นว่านักเรียนไทยมีเด็กช้างเผือกมากถึง 13% เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่มีเพียง 10% เท่านั้น นั่นแปลว่า “ประเทศเราไม่ได้ขาดคนเก่ง แต่ขาดโอกาส” กสศ. จึงอยากชวนทุกภาคส่วนในการร่วมกันระดมสมองและหาทางออกร่วมกันว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถทำให้โอกาสเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ 

กลุ่มบริษัท TCP และมูลนิธิใจกระทิงเองก็ได้เข้ามามีบทบาทในส่วนนี้โดยการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ ส่งเสริม Lifelong Learning ในพื้นที่ เชื่อมต่อคุณครู ​โรงเรียน ชุมชน โดยที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับ Partner ต่าง ๆ ในการร่วมพัฒนาโรงเรียน ซึ่งได้มีการสนับสนุนแล้วกว่า 50 โรงเรียน เปิดกว้างที่จะ Partner กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง EdTech Startups เพื่อดำเนินงานด้านการศึกษาไปพร้อมกัน โดยเน้นที่โรงเรียนประถม มัธยม พร้อมส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์

Upskilling / Reskilling ทักษะดิจิทัล เรื่องสำคัญของทศวรรษนี้

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นใน Southeast Asia แล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเทศไทยยังมีความท้าทายเลย digital talent อยู่มาก ความต้องการทักษะดิจิทัลเพิ่มขึ้นสูงทุกปีในตลาดแรงงานไทยในขณะที่จำนวน talent ไม่สามารถเพิ่มตามได้ทัน เกิดเป็น talent war ที่บริษัทต้องแย่งชิง talent กัน ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถก้าวสู่ digital economy ได้อย่างเต็มศักยภาพมากนัก

ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ มีหลายหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้เข้ามาช่วยกันขับเคลื่อนในช่วงนี้ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น KBTG Bootcamp & Certificate Program โครงการอบรมทักษะ Data Engineering ให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยไม่ได้จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน ช่วยให้การ Reskill เพื่อย้ายสายงานเป็นไปได้ราบรื่นมากขึ้น มีหลายคอร์สที่เปิดสอนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้เชี่ยวชาญของ KBTG ได้มีการ partner กับผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ในการร่วมกันช่วยพัฒนาคอร์สเรียน เน้นออกแบบให้สามารถนำมาใช้ทำงานได้จริง ซึ่งปัจจุบันได้มีผู้เข้าเรียนแล้วหลายพันคน และมีหลายคนที่สามารถเปลี่ยนสายงานได้ในที่สุด ต่อมาจึงได้ขยายมาทำคอร์สอื่น ๆ ด้วย เช่น Core-banking, Infrastructure และ Cybersecurity

ในฝั่งของภาคการศึกษา ข้อมูลจาก depa เผยว่า ในประเทศไทยมีนักศึกษาที่เรียนจบด้านที่เกี่ยวกับ Digital มีเพียงแค่ครึ่งเดียวของที่ตลาดต้องการ ซึ่งมีเพียงประมาณ 17,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงคนที่เรียนจบมาแล้วไปทำงานไม่ตรงสายด้วย ทำให้สุดท้ายแล้วมีคนทำงานเกี่ยกับ digital จริง ๆ แค่ 3,000-5,000 รายเท่านั้น ทาง depa เองมองว่าแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลต้องขยายให้ครอบคลุม ยิ่งถ้าเริ่มได้เร็วในระดับโรงเรียนได้ยิ่งดี เพราะนี่คือทักษะแห่งอนาคต หากเยาวชนคนรุ่นใหม่มีความสนใจเรื่องนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ยิ่งมีเวลาในการขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมจนเชี่ยวชาญได้ในที่สุด จึงได้ดำเนินโครงการ Coding School สร้างโรงเรียนต้นแบบผ่านการพัฒนาทักษะคุณครู การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน และการสนับสนุนแพลตฟอร์ม EdTech เพื่อมาช่วยเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100 โรงเรียนซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ก็จะเป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่ต่อไป

นอกจากนี้ ยังมี True Digital Park ที่มีความตั้งใจในการเป็นพื้นที่สร้างการเรียนรู้และแรงบันดาลใจ ผ่านการจัดกิจกรรม Sharing / Networking / 1-1 Mentorship และโครงการอบรมต่าง ๆ เพื่อช่วยพัฒนาทักษะให้แก่นักเรียน นักศึกษา พนักงานองค์กร และผู้ประกอบการ

Reimagining Education การศึกษารูปแบบใหม่ ๆ อาจเป็นกุญแจไขสู่อนาคต

วิกฤตโควิด-19 ทำให้เราได้เห็นว่าการศึกษาไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในรูปแบบที่เราคุ้นชินกันอีกต่อไป มีพ่อแม่บางกลุ่มที่ผันตัวมาทำ Home school แล้วพบว่าได้ผลดี คุณครูบางรายปรับตัวมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์หรือเปลี่ยนวิธีการสอนในรูปแบบใหม่แล้วพบว่าทำงานได้ง่ายขึ้น และเด็กนักเรียนหลายคนที่ก็ได้ค้นพบว่าการเรียนออนไลน์แบบ on-demand ตามเวลาที่ตนเองสะดวกก็สามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ได้เช่นกันหากมีความตั้งใจ

ทาง TDRI จึงได้ถามคำถามชวนคิดกับทุกภาคส่วนว่า “ในเมื่อมีความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แล้วการศึกษาจำเป็นต้องจำกัดอยู่ในกรอบเดิมจริงหรือ?” เห็นได้ชัดว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในเพียงแค่ห้องเรียนอีกต่อไป เมื่อเราคิดวางแผนพัฒนาการศึกษาจึงอาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องคิดให้ครอบคลุมรอบด้านถึง Journey ของเด็ก 1 คนจริง ๆ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็อาจมี pathway ที่แตกต่างกันไป งานบางประเภทก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้ใบปริญญาอีกต่อไป เช่น การเป็นคนขับ Rider หรืองานทางด้าน Programming ที่มีรายได้สูง และยังมีงานใหม่ ๆ อีกมากมายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ 

นี่จึงเป็นโอกาสที่เราสามารถเปลี่ยนมุมมองใหม่ได้ แล้วระดมสมองกันว่า “เราจะสามารถสร้าง pathway ใหม่ ๆ ที่สร้างและรับรองทักษะใหม่ให้กับคนไทยได้อย่างไร ที่ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมาจากพื้นเพแบบไหนก็สามารถเข้าถึงงานที่ดีและชีวิตที่น่าพึงพอใจได้?”

หากคุณเป็นคนที่สนใจเทรนด์ innovation การศึกษาและการเรียนรู้ในอนาคต รวมถึงอยากรู้จักกับ EdTech และ Social Impact Startups ที่มุ่งพัฒนาการศึกษาไทย

ห้ามพลาด ! กับงาน StormBreaker x EEF Demo Day 2021 ในงานนี้นอกจากการฟัง pitching นำเสนอผลงานของทีมนวัตกร EdTech แล้วยังมี session พิเศษจากวิทยากรชั้นนำระดับประเทศอย่างดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. ที่จะมาเล่าถึงสถานการณ์การศึกษาไทย ณ ปัจจุบัน และคุณกระทิง พูนผล ที่จะมาบรรยายสดในหัวข้อ “Shifting to the Next Era of Education: ไขปริศนา อนาคตการศึกษาไทย หลังยุคโควิด”

StormBreaker x EEF Demo Day จะจัดขึ้นวันที่ 18 พ.ย. 2564 เวลา 17.00 - 19.00 น. ผ่าน Facebook และ Youtube Live

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ฟรี ได้ที่: https://tinyurl.com/StormBreakerDemoDay2021

พิเศษสุด สำหรับทุกท่านที่ลงทะเบียนสำเร็จ รับฟรี Voucher Future Skill มูลค่า 300 บาท และยังได้สิทธิลุ้นรับของที่ระลึกสุดพรีเมี่ยมในงานอีกมากมาย (ประกาศผลผู้โชคดีภายในงาน)


Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง