3 ยักษ์ใหญ่แห่งโลกธุรกิจ เจาะลึกความแตกต่างระหว่าง Startup, SMEs และ Corporate
เคยสงสัยไหมว่าในโลกธุรกิจประกอบไปด้วยธุรกิจแบบไหนบ้าง และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ Disrupt จะพาคุณมาสำรวจและทำความเข้าใจกับ 3 รูปแบบธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน นั่นคือ Startup, SMEs (Small and Medium Enterprises) และ Corporate
แต่ละรูปแบบธุรกิจมีลักษณะเฉพาะ จุดแข็ง และความท้าทายที่แตกต่างกัน การเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของระบบเศรษฐกิจได้ชัดเจนขึ้น แต่ยังช่วยให้สามารถประเมินโอกาสทางธุรกิจ เข้าใจคู่แข่ง และมองเห็นช่องทางการเติบโตในอนาคตได้ดีขึ้นด้วย
Startup คืออะไร?
Startup คือ ธุรกิจที่มี Business Model ในการที่จะสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งเน้นการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างธุรกิจ Startup ส่วนใหญ่จึงมักเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันข แต่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน เช่น ธุรกิจ Food Delivery (Grab Food, LINE MAN, foodpanda) ธุรกิจบริการขนส่งสาธารณะ (Grab, Bolt) ธุรกิจ E-commerce (Shopee, Lazada) เป็นต้น
ลักษะณะเด่นของธุรกิจ Startup
- ขนาดเล็ก: Startup มักมีขนาดเล็กกว่าบริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเติบโต ทำให้พนักงานสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และสามารถแลกเปลี่ยนไอเดียได้อย่างอิสระ
- โครงสร้างยืดหยุ่น: Startup สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจและปรับเป้าหมายได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว
- บรรยากาศการทำงานแบบชิว ๆ : วัฒนธรรมองค์กร Startup มีความเป็นไม่เป็นทางการ และให้ความสำคัญกับลำดับชั้น (Hierarchy) ภายในทีมน้อยกว่า
SMEs คืออะไร?
SMEs (Small and Medium Enterprises) คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ครอบคลุมถึงธุรกิจการผลิต การค้าและบริการ เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดขนาดของ SMEs คือจำนวนพนักงานที่จ้างงาน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของธุรกิจ
SMEs มักเริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก ๆ ในครอบครัว ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเติบโตขึ้นตามลำดับ การบริหารจัดการส่วนใหญ่อยู่ในมือของเจ้าของกิจการเป็นหลัก หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า SME ต้องเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีระบบการจัดการที่ซับซ้อน หรือได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุน เนื่องจากตัวอย่าง SME ที่ปรากฏในสื่อหรือรายการโทรทัศน์ เช่น "SMEs ตีแตก" มักเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น Diamond Grains หรือหมูทอดเจ๊จง ซึ่งเป็น SME ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม SME ส่วนใหญ่อาจไม่ได้มีขนาดใหญ่หรือซับซ้อนอย่างที่เห็นในสื่อ แต่บทบาทของพวกเขาในระบบเศรษฐกิจไทยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง จากรายงานของสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่า GDP ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) ในปี 2565 มีมูลค่าสูงถึง 6,105,604 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 35.2% ของ GDP รวมทั้งประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภาคส่วน SME ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ลักษะณะเด่นของธุรกิจ SMEs
- ความสามารถในการปรับตัวและนวัตกรรมใหม่ ๆ : SMEs มีความยืดหยุ่นและความกล้าที่จะเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว
- การจัดการทรัพยากร: เจ้าของธุรกิจ SME ต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งนี้ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการจัดลำดับความสำคัญและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
- บทบาทในชุมชน: SMEs มักมีบทบาทสำคัญในท้องถิ่นและสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อชุมชนโดยตรงมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ การศึกษา SMEs ที่ประสบความสำเร็จสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
Corporate คืออะไร
Corporate หรือบริษัทขนาดใหญ่ คือองค์กรธุรกิจที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของ ภายใต้กรอบกฎหมาย บริษัทเหล่านี้มีสิทธิและความรับผิดชอบคล้ายคลึงกับบุคคลธรรมดาในหลายด้าน เช่น สามารถทำสัญญา กู้ยืมเงิน ดำเนินการทางกฎหมาย จ้างงาน ถือครองทรัพย์สิน และมีหน้าที่เสียภาษี
Corporate มักเป็นบริษัทที่มีประวัติการดำเนินงานยาวนาน มีโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน และมีพนักงานจำนวนมาก บริษัทเหล่านี้อาจเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือเป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลในอุตสาหกรรมของตน
ความสำคัญของ Corporate ต่อระบบเศรษฐกิจไทยนั้นมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง โดยในปี 2565 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของกลุ่มวิสาหกิจขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า LE (Large Enterprises) มีมูลค่าสูงถึง 11,261,706 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 64.8% ของ GDP รวมทั้งประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทอันสำคัญของ Corporate ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ลักษณะเด่นของธุรกิจ Corporate
- ทรัพยากรและศักยภาพที่สูง: Corporate มีทรัพยากรทางการเงิน บุคลากร และเทคโนโลยีที่มากมาย ทำให้สามารถลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ การวิจัยและพัฒนา และการขยายธุรกิจในระดับโลกได้
- ความน่าเชื่อถือและแบรนด์ที่แข็งแกร่ง: ด้วยประวัติการดำเนินงานที่ยาวนานและขนาดองค์กรที่ใหญ่ Corporate มักมีความน่าเชื่อถือสูงในสายตาของลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และนักลงทุน
- ความสามารถในการสร้างผลกระทบระดับมหภาค: การตัดสินใจและการดำเนินงานของ Corporate สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ทำให้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโดยรวม
การร่วมมือกันเพื่อไปสู่ Exponential Leadership
การผสมผสานจุดแข็งของ Startup, SMEs และ Corporate เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยนั้นจะต้องอาศัยการพัฒนาผู้นำแบบก้าวกระโดด (Exponential Leadership) ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ การเติบโตอย่างรวดเร็วให้ก้าวทันเศรษฐกิจโลก ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงแบบทันท่วงที และใส่ใจในความยั่งยืนทั้งในแง่ของธุรกิจและสิ่งแวดล้อม
- Innovative Solutions: การผสมผสานนวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงของสตาร์ทอัพ เข้ากับความเป็นเลิศในการดำเนินงานของบริษัทขนาดใหญ่ นำไปสู่การสร้างโซลูชันที่ล้ำสมัย ซึ่งทั้งสร้างสรรค์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
- Agile Strategies: การนำความสามารถในการปรับตัวของ SMEs มาผสานกับวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาด ในขณะที่ยังคงรักษาทิศทางการดำเนินธุรกิจระยะยาวได้
- Sustainable Growth: การใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสตาร์ทอัพ ร่วมกับการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพของ SMEs และโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทขนาดใหญ่ ช่วยสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน สามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในอุตสาหกรรมได้
การเข้าใจและผสมผสานจุดแข็งของ Startup, SMEs และ Corporate เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบก้าวกระโดดและขับเคลื่อนธุรกิจในยุคปัจจุบัน แต่การนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติจริงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ ประสบการณ์ และเครือข่ายที่แข็งแกร่ง นี่คือเหตุผลที่หลักสูตร Chief Exponential Officer (CXO) ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้นำยุคใหม่โดยเฉพาะ
หลักสูตร CXO ไม่เพียงแต่ให้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับทั้ง 3 รูปแบบธุรกิจ แต่ยังเปิดโอกาสให้คุณได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้นำที่ประสบความสำเร็จในแต่ละด้าน พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายกับผู้บริหารระดับสูงจากหลากหลายอุตสาหกรรม หากคุณพร้อมที่จะยกระดับความเป็นผู้นำของคุณและองค์กรสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดด เราขอเชิญชวนคุณสมัครเข้าร่วมหลักสูตร CXO รุ่นที่ 5 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอนาคตทางธุรกิจที่ยั่งยืนและเต็มไปด้วยนวัตกรรม
สมัครได้เลยที่ >> https://bit.ly/CXO5appblog
ข้อมูลเพิ่มเติม >> https://bit.ly/CXObyDisrupt
อ้างอิง:
- Corporation: What It Is and How to Form One
- Startup vs. Corporate: Which Culture Is the Right Fit for You?
- SMEss VS Startup กับความแตกต่างที่นักลงทุนต้องรู้! | CIMB Thai
- รายงานสถานการณ์ MSME2566