Noon Ananya
Business Analyst Intern at Disrupt Technology Venture
S - Science
T - Technology
E - Engineering
M- Mathematics
บวกด้วยอีกหนึ่ง C คือ Coding skills ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากในโลกอนาคต โดย 71% ของอาชีพที่จะถูกการจ้างงาน ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับทักษะเหล่านี้ทั้งสิ้น
ทักษะเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นแค่การบวกลบเลข หรือทดลองหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดกัน แต่เป็นทักษะที่ใช้ skills ต่าง ๆ เช่น การฝึกให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล (critical thinking)
รวมทั้งการคิดอย่างสร้างสรรค์ (creative thinking) ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ของนวัตกรแห่งอนาคต (innovator of the future)
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงต้องถามคำถามกับตัวเองอีกรอบว่า พวกเราพร้อมหรือยัง สำหรับคลื่นลูกไหม่ แห่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ?
จากการสำรวจและวัดระดับผลโดย Pisa ทำให้เราตระหนักได้ว่า เด็กไทยกว่าครึ่ง ไม่สามารถที่จะนำวิชาคณิตศาสตร์ แและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวการหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้ มีด้วยกันทั้งหมด 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ โอกาสการเข้าถึงการศึกษา (Accessibility) ควาเหลื่อมล้ำทางเพศ (Gender Disparity) และ การเรียนรู้แบบผิดวิธี (Wrong Learning Method)
เด็กไทยมากว่า 20% มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาเพียงแค่ 5% เท่านั้น นี่เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม การขาดความเข้าใจของพ่อแม่ และ ค่าใช้จ่ายที่สูงจนเกินไป
startup หลาย ๆ แห่งที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ ก็พบปัญหาการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และเปลี่ยนการศึกษา offline ที่เข้าถึงได้ยาก มาเป็น ระบบการศึกษา online เช่น Plural Insight ที่รวมเอาคอร์สเรียน ที่สามารถเลือกครูและวิชาได้ตามความต้องการ โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ $29 ต่อเดือน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงสำหรับคนฐานะยากจนในประเทศไทย
เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่าผู้หญิงเหมาะกับภาษาและศิลปะ ส่วนผู้ชายเหมาะกับตัวเลขและการคำนวณ ความเชื่อเหล่านี้เป็นความจริงหรือ?
ความจริงแล้ว ทั้งศาสตร์และศิลป์ ถือเป็นเรื่องเดียวกันมานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์ และศิลปินหลาย ๆ คนระดับโลก มักจะเป็นบุคคลที่เชี่ยวชาญทั้งสองแขนงนี้้ด้วยกันทั้งนั้น
Ada Lovelace ผู้หญิงที่คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์คนแรกของโลก มักจะเรียกตัวเองว่า นักวิทยาศาสตร์แห่งบทกลอน (Poetical Scientist) ผลงานทั้งหลายของเธอ ได้รวมเอาความคิดเชิงวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ
ศาสตร์แขนงนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องถูกจำกัดด้วย เพศสภาพ
แต่ในปัจจุบัน กลับมีผู้หญิงเพียงแค่ 24% เท่านั้น ที่อยู่ในตลาดแรงงาน STEM ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางเพศ
Power Education ธุรกิจที่เน้นการศึกษา STEM สำหรับผู้หญิง ได้พยายามที่จะสร้าง community ที่ empower กลุ่มผู้หญิงด้วยกัน ให้กล้าที่จะเลือกในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แม้ว่าจะสวนกระแสของสังคมก็ตาม รวมทั้งนำเอาเรื่องราวของ บุคคลต้นแบบ (role model) มาจุดประกายความฝันให้ใครอีกหลาย ๆ คน
แน่นอนว่า ประเทศไทย มีการเรียนการสอน STEM กันอยู่ในทุกโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยม แต่กลับเป็นการสอนที่มักจะผิดวัตถุประสงค์
ปัจจุบัน การเรียนการสอนเป็นการสอนที่เน้นการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ จำเพื่อสอบ แล้วก็ลืมหลังสอบเสร็จ ในความเป็นจริงแล้ว การเรียนการสอนควรเน้นความเข้าใจและการลงมือทำจริง ๆ
Learning is not knowledge, but skill
การเรียนไม่ใช่เพียงเพื่อเอาความรู้ เพราะการรู้แค่จำได้ ก็ถือว่ารู้ ซึ่งไม่ได้รับประกันว่าจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
การเรียน คือการเน้นย้ำ ให้ความเข้าใจกลายเป็นทักษะ ที่สามารนำไปประยุกใช้ต่อยอดได้อย่างไม่สิ้นสุด
หลายประเทศ เข้าใจถึงช่องโหว่นี้ และได้ใช้อุปกรณ์การเรียน ที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ผ่านเกมส์ หรือของเล่นเข้ามา เช่น Robot lab ที่ให้หุ่นยนต์ หรือ โดรน เป็นสื่อการสอนหลักในห้องเรียน
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ประเทศไทยยังคงอยู่ในช่วงที่มีพื้นที่สำหรับการพัฒนาได้อีกมากมาย ไม่เพียงแค่ STEM and Coding
หากสนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาให้แก่คน 1 ล้านคนภายในปี 2020 อย่ารอช้าที่จะสร้างทีมและส่งใบสมัครได้ที่ StormBreaker Venture ค่ะ