การฝึกอบรมพนักงาน คือ แผนการเติบโตที่องค์กรไม่ควรมองข้าม

June 18, 2024
Disrupt Team
อบรมพนักงาน

โลกพบเจอกับการ Disrupt อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 โดยเฉพาะหลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 มีเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงรายวัน รวมไปถึงพฤติกรรมของคนไม่ว่าจะลูกค้าหรือพนักงานขององค์กรก็ตามที 

การฝึกอบรมพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรจะทำเตรียมความพร้อมในโลกที่ไร้ซึ่งความแน่นอน แต่ถึงอย่างไรก็ตามที่การการฝึกอบรมเปรียบเสมือนการลงทุนระยะยาว องค์กรต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน คาดเดาเหตุการณ์ในอนาคต เพื่อที่จะสามารถเห็นผลจากการลงทุนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

Highlight

  • การอบรมพนักงานไม่ได้ช่วยแค่ในเรื่องการพัฒนาบุคคลากร แต่ยังสามารถช่วยเพิ่มความผูกพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร รวมไปถึงลดอัตราการลาออก
  • หัวข้อการอบรมที่ควรจัดการอบรมให้พนักงานในยุค Disruption คือ 1.) ความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยี 2.) Soft skills เช่น ทักษะด้านการสื่อสาร และภาวะผู้นำ
  • การฝึกอบรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่องค์กรต้องสำรวจความต้องการของพนักงาน และรูปแบบการเรียนรู้เพื่อออกจัดการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่าลืมที่จะทำการวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาในการฝึกอบรมครั้งถัดไป 

การอบรมพนักงานสำคัญอย่างไร

เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อม ความรู้และทักษะที่เคยมีอยู่อาจจะไม่สำคัญอีกต่อไป เพราะจากรายงาน Future of Jobs 2023 โดย World Economic Forum กล่าวว่า 44% ของกลุ่มทักษะสำคัญจะถูกเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะใหม่ให้พนักงานจริงเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง

แต่การฝึกอบรมไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่เพิ่มทักษะของพนักงานภายในองค์กรเท่านั้น  แต่ยังสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจในรูปแบบอื่นได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น …

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มความเร็วในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

 หลายองค์กรปรับเปลี่ยนทิศทางและเป้าหมายในการทำธุรกิจ รวมไปถึงเปิดหน่วยธุรกิจใหม่เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นการเพิ่มทักษะและการเตรียมความพร้อมของคนในองค์กรจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเร่งความสำเร็จขององค์กร  

  1. สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร พร้อมดึงดูด talents หน้าใหม่เข้าสู่องค์กร 

“The learn-it-all does better than the know-it-all”
(‘เรียนรู้’ ทุกอย่างย่อมดีกว่า ‘รู้’ ทุกอย่าง) – สัตยา นาเดลลา, CEO of Microsoft

เพราะคนไม่อาจรู้ได้ทุกสิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความไม่แน่นอนของอนาคต ดังนั้นหน้าที่สำคัญขององค์กรคือการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กร ยอมรับในความไม่รู้และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำในองค์กร 

นอกจากการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ยังสามารถเป็นแรงดึงดูดให้คนภายนอกสนใจในตัวองค์กรได้อีกด้วย จากการสำรวจพบว่า Gen Z ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภายในองค์กรมากถึง 53% ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ส่งผลดีแค่ในเชิงการพัฒนาบุคคลกร แต่รวมไปถึงงานสรรหาบุคคลอีกด้วย 

  1. พัฒนาเป้าหมายและการเติบโตทางอาชีพของพนักงาน

การพัฒนาบุคคลากรไม่ควรหยุดที่การพัฒนาทักษะ แต่รวมไปถึงการพัฒนาการเติบโตทางอาชีพของพนักงาน (Career Development Plan) ของพนักงาน จากการสำรวจของ LinkedIn พบว่าพนักงานที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเติบโตทางอาชีพมันจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับองค์กรมากถึง 4 เท่า และในทางกลับกันพนักงานก็อยากจะใช้เวลากับการเรียนรู้มากขึ้นถ้ามันส่งเสริมการเติบโตทางอาชีพของพวกเขา

  1. ลดอัตราการลาออกของพนักงาน 

จะเห็นได้ว่าการเติบโตทางอาชีพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพนักงาน และมากไปกว่าเป้าหมายของการเติบโตคือความรู้สึกผูกพันธ์กับองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาพนักงานหรือ Talent ให้อยู่กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กรุ่นใหม่หรือ Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากกว่าคนยุคก่อน นอกจากนี้แล้วกว่า 90% ขององค์กรทั่วโลกเลือกการให้โอกาสในการเรียนรู้หรือฝึกอบรมกับพนักงานเป็นกลยุทธ์อันดับ 1 ในการรักษาคนในองค์กรอีกด้วย

แนะนำหัวข้อฝึกอบรมพนักงานสุคฮิตในยุค Disruption

อีกหนึ่งจุดสำคัญของการวางแผนการฝึกอบรมคือ ‘จะฝึกอบรมอะไร?’ HR หรือผู้นำภายในองค์กรต้องเข้าใจภาพใหญ่ของธุรกิจ เป้าหมายและกลยุทธ์ของธุรกิจคืออะไร และสถานะปัจจุบันของพนักงานหรือคนในทีมว่าเขาขาดอะไร และต้องการส่งเสริมอะไร โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Training 2024 ที่คุ้มค่าหน้าตาเป็นอย่างไร? 

โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างทักษะและความรู้ที่น่าสนใจโดยทั่วไปในยุค Digital Disruption อ้างอิงจาก World Economic Forum เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการเลือกหัวข้อการอบรมพนักงาน

AI and Big Data:

ทักษะและความรู้ด้าน AI และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในยุค Disruption เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานไม่ว่าจะในด้านความเร็ว ปริมาณ และความแม่นยำในการตัดสินใจ ถือเป็นหัวข้อการฝึกอบรมที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

Technological Literacy

ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยี หนึ่งในทักษะสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่นวัตกรรมใหม่ไปจนถึง Digital Transformation โดนเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าใจหลักการทำเทคโนโลยีไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของการทำงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย

Empathy and Active Listening

ทักษะความเห็นอกเห็นใจและการฟังด้วยใจ เป็นทักษะสำคัญในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน ‘ความเป็นมนุษย์’ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะความเห็นอกเห็นใจและการฟังด้วยใจสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร และยังสามารถต่อยอดไปสู่การทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อออกแบบสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการให้มากที่สุด

Leadership

ทักษะความเป็นผู้นำไม่ใช่แค่ทักษะเฉพาะของหัวหน้าทีมหรือ Management Level อีกต่อไป แต่ควรที่จะถูกปลูกฝั่งและบ่มเพาะในพนักงานทุกระดับ เพราะภาวะความเป็นผู้นำในปัจจุบันคือการกล้าที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ในองค์กรหรือรอบตัวให้ดีขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การสั่งงานและดูแลลูกน้อง เป็นหัวข้อการอบรมพนักงานที่สำคัญ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในองค์กร 

Creative Thinking

ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในโลกของธุรกิจ รวมไปถึงการมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ดังนั้นองค์กรควรฝึกให้พนักงานแก้ไขปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ และสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้องค์กรได้

System Thinking

ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ เพราะโลกเต็มไปด้วยข้อมูลที่หลากหลายและซับซ้อน พนักงานจึงต้องสามารถที่จะคิดแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ มีเหตุและผลที่ชัดเจน เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด รวมไปถึงสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Customer Orientation

การเอาใจใส่ลูกค้าและการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางช่วยให้องค์กรสร้างความสามารถในการแข็งขันในตลาดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่พฤติกรรมลูกค้ามุ่งเน้นไปที่ ‘ความเป็นตัวเอง’ ผู้บริโภคเลือกที่จะเสพเนื้อหาที่เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จะทำอย่างไรให้องค์กรเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง พร้อมสร้างเนื้อหาและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์

ฝึกอบรมพนักงานทำรูปแบบไหนได้บ้าง

รูปแบบการฝึกอบรมพนักงาน

การอบรมฝึกอบรมสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการฝึกอบรม ทรัพยากรขององค์กร เนื้อหาของการฝึกอบรม และรูปแบบการเรียนรู้ของคนในองค์กร 

ตัวอย่างรูปแบบในการฝึกอบรม

การฝึกอบรมในรูปแบบการปฏิบัติงานจริง (on-the-job training)

รูปแบบการฝึกอบรมประเภทนี้มักจะเห็นในการฝึกอบรมพนักงานใหม่ เป็นการทดลองทำงานจริง โดยการฝึกอบรมในรูปแบบนี้จะสามารถให้พนักงานเรียนรู้ไปทีละนิดว่าในองค์กรมีวิธีการทำงานอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ใช้เครื่องมืออะไรในการทำงาน และเครื่องมือเหล่านั้นใช้งานอย่างไร พร้อมกับเรียนรู้ไปว่าคุณภาพงานแบบไหนที่ควรจะผลิตออกมา เพื่อตอบความคาดหวังของทีมและองค์กร การฝึกอบรมในรูปแบบปฏิบัติงานจริงจะช่วยให้พนักงานเรียนรู้งาน เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วผ่านการลงมือทำจริง

การฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ (Online Training)

การฝึกอบรมแบบออนไลน์เป็นการฝึกอบรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีข้อดีในเรื่องความยืดหยุ่น พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่เหมือนกับการฝึกอบรมในรูปแบบอื่นที่มีเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่มาเกี่ยวข้อง การฝึกอบรมในรูปแบบนี้เหมาะกับการฝึกอบรมพนักงานจำนวนมากที่มีเงื่อนไขด้านสถานที่ หรือการฝึกอบรมหัวข้อ Technology ที่ต้องสาธิตไปพร้อมกับการลงมือทำ

อบรมพนักงาน รูปแบบกลุ่มย่อย (Small Group / Specific Group Training)

การฝึกอบรมในลักษณะนี้เหมาะกับการเพิ่มทักษะ เพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงาน โดยผู้สอนหรือผู้อบรมจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญแบบเฉพาะเจาะจง และเป็นการสอนแบบตัวต่อตัวหรือเป็นรูปแบบกลุ่มเล็ก เพื่อให้ผู้สอนได้ให้ความรู้รวมถึงแนะนำสิ่งต่างๆ ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้นการอบรมในรูปแบบนี้เหมาะกับการฝึกทักษะเฉพาะเจาะจงสำหรับแผนกหนึ่ง การอบรม Talents ที่กำลังจะสร้างหน่วยธุรกิจใหม่ หรือการฝึกอบรมผู้บริการเพื่อการ Transform องค์กร

อบรมพนักงาน รูปแบบสัมมนา (Seminar Training)

การฝึกอบรมในรูปเเบบสัมมานาจะมีลักษณะคล้ายงานอีเวนต์มากขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาให้ความรู้ หรือจัดทำเวิร์กชอป การฝึกอบรมในรูปแบบนี้อาจจะไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การให้ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะรวมไปถึงการสื่อสารวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรจากผู้บริหารสู่พนักงาน หรือการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน

องค์กรควรเลือกวิธีการอบรมพนักงานอย่างไร?

การเลือกวิธีการฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ HR เพราะการอบรมที่คุ้มค่าหรือเสียเปล่าสามารถตัดสินได้จากแนวทางการฝึกอบรมเลยทีเดียว ทีมฝึกอบรมอาจจะต้องเริ่มจากการเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้พื้นฐานที่แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ หรือที่รู้จักกันในชื่อ V A R K ได้แก่ 

  1. Visual → เรียนรู้ผ่านการมอง
  2. Auditory → เรียนรู้ผ่านการฟัง
  3. Read/Write → เรียนรู้ผ่านการเขียน-อ่าน
  4. Kinesthetic → เรียนรู้ผ่านการลองทำ

การเข้าใจรูปแบบหรือแนวการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญเพื่อการออกแบบการอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ ในหลายครั้งที่องค์กรไม่สามารถจัดการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะไม่เข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ของพนักงาน

ทำความเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพผ่าน Learning Pyramid  

Learning Pyramid หรือพีระมิดแห่งการเรียนรู้ คือทฤษฎีที่ต่อยอดมาจากการเรียนรู้แบบ VARK เพื่อดูว่าการเรียนรู้แบบใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจากทฤษฎีสามารถสรุปได้ว่าการเรียนรู้ถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักคือ

  1. การเรียนรู้เชิงรับ (Passive Learning) → การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นคน ‘รับ’ ข้อมูลในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการฟังบรรยาย การอ่าน การดู การฟัง และการเขียน
  2. การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) → การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นคน ‘รับ’ และ ‘ส่ง’ ข้อมูลการเรียนรู้ เช่น การอภิปรายกลุ่ม การลงมือทำจริง หรือการสอนผู้อื่น 
พีระมิดการเรียนรู้ในการฝึกอบรมพนักงาน

ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้ที่ดีจะต้องให้ผู้เรียนเป็นทั้งคนรับและคนส่งข้อมูลในการเรียนรู้ เพื่อการอบรมที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง 

Disrupt Corporate Training ขอสรุปแนวทางการเลือกรูปแบบการอบรมออกมาได้ 4 ข้อดังนี้

  • ความต้องการขององค์กร – เป้าหมายทางธุรกิจและภาพรวมของโลกธุรกิจและในอุตสาหกรรมขององค์กร 
  • ความต้องการของพนักงาน – สำรวจทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร รวมไปถึงวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างทักษะของพนักงาน ณ ปัจจุบัน และทักษะที่พนักงานพึงจะมีเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร 
  • งบประมาณและทรัพยากร – วิเคราะห์งบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรและทีมฝึกอบรม ไม่ว่าจะเป็นคน เวลา และสถานที่ 
  • เนื้อหาและรูปแบบของการเรียนรู้ – พนักงานในแต่ละกลุ่มต้องเนื้อหาและรูปแบบของการเรียนรู้ที่ต่างกัน HR ต้องวิเคราะห์และสามารถบอกได้ว่าพนักงานแต่ละกลุ่มต้องการอะไร

ทำไมการอบรมพนักงานถึงควรมีการวัดผล?

การประเมินผลการฝึกอบรมพนักงานเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นไม่แพ้ขั้นตอนอื่นของการฝึกอบรม เพราะการประเมินผลทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ของการฝึกอบรมไม่ว่าในด้านความพึงพอใจ รูปแบบการเรียนรู้ของพนักงาน รวมไปถึงการพัฒนาทางทักษะและความรู้ของพนักงาน ดังนั้นการออกแบบวิธีการ “วัดผล” จึงมีความเป็นอย่างมากเพื่อดูพัฒนาการของบุคลากร

การประเมินผลการฝึกอบรมสามารถทำได้หลากหลายรูปบบขึ้นอยู่กับวัตุประสงค์ของการฝึกอบรม โดยหลักแล้วจะใช้หลักการ KSA ซึ่งประกอบด้วย Knowledge (ความรู้) Skill (ทักษะ) และ Attitude (คุณลักษณะ) โดย Disrupt Corporate Program ได้ประยุกต์หลักการ KSA ในการวัดและประเมินผลการฝึกอบรมด้วยเช่น

  • Knowledge Assessment: การประเมินความรู้ทั้งก่อนและหลังเรียน
  • Competency Assessment: การประเมินกลุ่มทักษะและสมรรถนะทั้งก่อนและหลังเรียน
  • Behavioral Assessment: การประเมินพฤติกรรมที่คาดหวังก่อนและหลังเรียน

สรุปวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการอบรม

  1. เพื่อพิจารณาดูจุดดีและจุดบกพร่องของการฝึกอบรมเพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
  2. เพื่อดูความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาและรูปแบบการเรียนรู้
  3. เพื่อดูผลสำเร็จของผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่าเข้าใจและพัฒนาศักยภาพหลังจากอบรมหรือไม่
  4. เพื่อตรวจสอบการดำเนินการ อุปกรณ์ วิทยากร เจ้าหน้าที่ หรือผู้ประสานงานการฝึกอบรม

สรุปแล้วการอบรมพนักงานนั้นทำให้องค์กรดีขึ้นอย่างไร?

การอบรมพนักงานนั้นไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การพัฒนาบุคลากรอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็น ได้เเก่ ช่วยเร่งการเติบโตและการบรรลุเป้าหมายขององค์กร เพิ่มความผูกพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร และ สามารถช่วยลดต้นทุนในการประกอบการได้เนื่องจากงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเเละ ทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

Disrupt Corporate Training Program ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ People Transformation พร้อมช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรในการทำฝึกอบรมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การสื่อสารกับพนักงาน และการวัดและประเมินผลทั้งในรูปแบบกลุ่มและรายบุคคล

👉 สนใจหลักสูตรฝึกอบรม สามารถกรอกฟอร์ม https://forms.gle/zgzmLGNgJNAJEXX66 

หรือค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
👉 โทร 083-7698763 (แพรว) หรือ 061-0207826 (ปานวาด)

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง