Growth Mindset คือ ? สูตรสำเร็จพาองค์กรโตแบบก้าวกระโดด
Growth Mindset เป็นหนึ่งในกรอบความคิดที่สำคัญที่สุดในโลกยุคใหม่ และยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่าง Digital Disruption ซึ่งต้องการคนในองค์กรที่มีความสามารถในการรับมือกับความล้มเหลว และการเติมเต็มความรู้ความสามารถใหม่ๆ เพื่อให้คนเกิดการพัฒนาได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง การปลูกฝัง Growth Mindset จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับองค์กรเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมุมมองความคิดของพนักงานให้พร้อมรับมือกับเรื่องที่ไม่คาดฝัน และยังมีทัศนคติเชิงบวกในการดำเนินงานต่อไปได้
Highlight
- Growth Mindset สามารถพัฒนาได้และยังเป็นประโยชน์กับตัวเองโดยตรง ตราบใดที่เรายังเชื่อว่าความสามารถของเราเปรียบเสมือนน้ำไม่เต็มแก้วที่เติมเต็มความรู้ได้ตลอดเวลา
- Growth Mindset เป็นทักษะที่องค์กรทุกองค์กรควรให้ความสำคัญในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอดและยังเติบโตท่ามกลางวิกฤตเหล่านี้ ผ่านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ การให้พื้นที่ในการทดลองสิ่งใหม่ ๆ และยอมรับข้อผิดพลาดที่อาจจะตามมาได้พร้อมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
- Growth Mindest vs. Fixed Mindset ขั้วตรงข้ามที่มาพร้อมกัน คือกรอบความคิดที่เติบโตและกรอบความคิดที่จำกัด มีความแตกต่างกันในแง่ของมุมมองความคิดที่มีต่อการเรียนรู้พัฒนาตนเอง และมุมมองที่มีต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต คนที่มี Growth Mindest จะสามารถพัฒนาและจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ดีกว่าคนที่มี Fixed Mindset
Growth Mindset หรือกรอบความคิดที่พัฒนาได้ เป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาสติปัญญา ความสามารถ ความเก่งได้จากการสั่งสมประสบการณ์การทำงาน การขนขวายหาแหล่งความรู้ใหม่ ๆ และการเรียนรู้จากคนรอบตัว
Growth Mindset เป็นสิ่งที่ถูกพูดอย่างแพร่หลายในหลายปีที่ผ่าน โดยเฉพาะในวงการธุรกิจ ผู้ประกอบการและองค์กรต่าง ๆ มักมีการแชร์ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จซึ่งจุดสำคัญคือการที่คนเหล่านั้นได้คิดนอกกรอบและทดลองอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอไม่จำกัดกรอบความคิดตัวเอง เช่น Satya Nadella CEO ของ Microsoft ที่สร้างและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ Microsoft ให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการเติบโต
การมี Growth Mindset ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่หลายองค์กรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ในการพัฒนาบุคคลากร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรเจอปัญหาหรือสิ่งใหม่ ๆ อยู่ทุกวัน การมี Growth Mindset จะช่วยขยายกรอบความคิด เช่น
- ทำให้เห็นมุมมองหรือทดลองวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ โดยไม่ยึดติดกับวิธีการเดิมที่เคยทำมา ซึ่งเป็นโอกาสในการเติบโตและพัฒนาความรู้สามารถในด้านใหม่ที่อาจจะไม่เคยเรียนรู้มาก่อน
- มีการล้มและลุกเร็ว (Resilience) เมื่อเจอปัญหาต่าง ๆ หรือสถานการณ์ที่ยากลำบาก กล่าวคือสามารถเรียนรู้และพัฒนาจากสิ่งเหล่านั้น ไม่ยึดติดกับความล้มเหลวในอดีต
- เปิดใจ พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และคิดว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่เรายังไม่รู้
เมื่อพูดถึง Growth Mindset อีกหนึ่งคำที่มาได้ยินคู่กันคือ Fixed Mindset แปลว่า กรอบความคิดตายตัว คนที่มี Fixed Mindset จะมีมุมมองต่อความรู้ ความสามารถและพรสวรรค์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ไม่ว่าจะฝึกฝนอย่างไรก็ตาม อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงการทดลองอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำและเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตนถนัดหรือสบายใจ และเมื่อมีคนให้คำแนะนำหรือฟีดแบค คนทีมี Fixed Mindset มักไม่เห็นด้วยและไม่สนใจคำแนะนำเหล่านั้น
ลองเปรียบเทียบว่าหากมีโปรเจคการทำงานใหม่ที่เราไม่ถนัดมาให้ได้ลองทำ เราจะเลือกรับทำงานโปรเจคนั้นและขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อทำให้โปรเจคสำเร็จ หรือ เราจะเลือกปฏิเสธงานและคิดว่าเราไม่มีความสามารถมากพอที่จะทำงานนี้ได้สำเร็จ คนแบบที่ 2 คือตัวอย่างที่ชัดเจนของคนที่มี Fixed Mindset
ความแตกต่างของ Growth Mindset และ Fixed Mindset สามารถสรุปได้ดังนี้
- Growth Mindset คือคนที่มีความเชื่อว่าตนเองสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถได้อยู่ตลอดเวลา ไม่กลัวที่จะพบเจอปัญหาที่จะเกิดขึ้นและพร้อมรับฟังคำเสนอแนะใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเสมอ
- Fixed Mindset คือคนที่มีความเชื่อว่าความรู้ ความสามารถต่าง ๆ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่เป็นอยู่แล้วในอดีตจะเป็นเช่นนั้นต่อไปในอนาคตและไม่ขวนขวายหนทางใหม่ ๆ ในการทำงานและเมื่อพบเจอปัญหาจะไม่สามารถหาทางออกใหม่ ๆ ได้
แม้ Growth Mindset จะพูดถึงกรอบความคิดในระดับปัจเจกบุคคล แต่จริง ๆ แล้วองค์กรสามารถได้รับประโยชน์เช่นกันหากองค์กรให้ความสำคัญกับบุคคลากรที่มี Growth Mindset ที่พร้อมพัฒนาตนเองให้เติบโตไปกับองค์กร โดย Growth Mindset สามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้องค์กรไม่ว่าจะเป็น …
- เกิดความเชื่อใจเกิดขึ้นภายในทีมและองค์กร: หากองค์กรประกอบไปด้วยคนที่มี Fixed Mindset ที่มองเห็นเพื่อนร่วมงานเป็นคู่แข่งและให้คุณค่ากับผลลัพธ์มากกว่าการทำงานร่วมกัน ในขณะเดียวกันพนักงานที่มี Growth Mindset ในการทำงานจะให้คุณค่ากับการพัฒนางานร่วมกันซึ่งจะเพิ่มความเชื่อใจให้แก่กันภายในทีมและองค์กร
- กล้าที่จะเสี่ยงคิดนอกกรอบเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้องค์กร: หากบุคคลากรเป็นคนที่ Fixed Mindset ก็จะสนใจเพียงเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองหรือเป้าหมายระยะสั้นเท่านั้น (เช่น ยอดขายรายเดือน) ทำให้มองข้ามภาพใหญ่หรือจุดที่สามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกได้ แต่พนักงานที่มี Growth Mindset จะมององค์กรในระยะยาวและมีแรงขับเคลื่อนที่จะคิดนอกกรอบถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาองค์กรได้ในระยะยาว
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะเกิดข้อสงสัยว่าแล้วเราจะสร้าง Growth Mindset ในองค์กรได้อย่างไรบ้าง? ทาง Disrupt รวบรวมสิ่งที่สามารถทำได้ในเพื่อสร้างบุคคลากรที่มี Growth Mindset และสามารถสร้างองค์กรแห่งการเติบโตได้ต่อไป
- สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และแรงบันดาลใจ: วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่จับต้องยากแต่เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารคนในองค์กร การสร้างวัฒนธรรมและระบบภายในองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทำให้พนักงานสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นความรู้เฉพาะในการทำงาน ทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญในการทำงานหรืออื่น ๆ จะส่งผลให้ในระยะยาว องค์กรจะเต็มไปด้วยผู้คนที่มีนิสัยที่พร้อมเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ
- ส่งเสริมในการทดลองสิ่งใหม่: การสร้างพื้นที่ที่ให้คนสามารถคิดและทดลองสิ่งใหม่ ๆ ได้โดยไม่มีการปิดกั้น จะทำให้เกิดการมองปัญหาในมุมมองใหม่ ๆ และฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่นอกเหนือจากงานที่ทำอยู่ทุกวัน ในบางองค์กรอาจมีการจัด Hackathon เพื่อให้พนักงานได้นำเสนอความคิด/ไอเดียธุรกิจใหม่ ๆ
- ให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์: ในการทำงานต่าง ๆ หัวหน้าควรมีส่วนช่วยในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผ่านการให้ข้อเสนอแนะหรือ feedback งานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้มีมุมมองใหม่ ๆ ต่องานที่ทำ
- ยอมรับข้อผิดพลาดและเรียนรู้ไปด้วยกัน: หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นเราต้องยอมรับข้อผิดพลาดและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้น ๆ เพื่อพัฒนางานต่อไปให้ดีขึ้น จะช่วยให้พนักงานไม่กลัวที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิม
Growth Mindset กับการพัฒนาตัวเอง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงเพราะหากเราเปลี่ยนวิธีคิดของเราให้เปิดกว้างรับสิ่งใหม่มากขึ้น ตัวตนของเราก็จะถูกเปิดกว้างและพัฒนาให้ดีขึ้นเช่นกัน Growth Mindset ช่วยในการพัฒนาตัวเองได้ในหลาย ๆ มุม เช่น
- สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยไม่ปิดกั้นและรู้สึกว่าความรู้ของเราสามารถพัฒนาได้อยู่ตลอดเวลาและมีมุมมองที่หลากหลายต่อเรื่อง ๆ นึง โดยการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่จำกัดอยู่แค่ความรู้ในการทำงานแต่ยังรวมถึงความรู้อื่น ๆ ในชีวิตประจำวันเช่นกัน
- ทำงานร่วมกับคนได้หลากหลายประเภท จากการที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และไม่ปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่างแม้อาจจะเป็นความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับความคิดของเรา แต่การมี Growth Mindset จะทำให้เราไม่มองข้ามความคิดเห็นเหล่านั้น อีกทั้งยังวิเคราะห์ถึงเหตุและผลของความคิดนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน
- เปิดรับโอกาสหรืองานใหม่ ๆ แม้ไม่เคยทำมาก่อน และพร้อมพัฒนาตนเองหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถตอบจุดประสงค์ของงานนั้น ๆ ได้ โดยไม่คิดว่าตนเองไม่มีทักษะหรือทำงานนี้ไม่ได้ ซึ่งคนที่มี Growth Mindset พร้อมที่จะพาตัวเองก้าวไปยังที่ที่ตนเองไม่คุ้นชินและยังรู้สึกสนุกกับการพัฒนาตนเอง
- รับมือกับความล้มเหลวแล้วไปต่อได้เร็ว ถือเป็นทักษะที่สำคัญในยุคนี้ที่เรียกกันว่า ‘Resilience’ หรือการล้มแล้วลุกเร็ว เมื่อเราเจอกับความผิดหวังในชีวิต คนที่มี Growth Mindset จะสามารถรับรู้ต้นตอปัญหา เข้าใจสถานการณ์ มองเห็นทางแก้ปัญหา และก้าวข้ามความผิดหวังได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกกันว่า มองวิกฤตให้เป็นโอกาสในการเติบโตต่อไป
ในยุคที่องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหรือปัจจัยภายนอกทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้อยู่รอด กลุ่มคนที่มี Growth Mindset จะสามารถช่วยให้องค์กรอยู่รอดในสถานการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ โดยเป็นกลุ่มคนที่พร้อมรับปัญหาและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ย่อท้อต่อความเปลี่ยนแปลงหรือความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทางได้
หากต้องการเริ่มปลูกฝังและพัฒนาทักษะ Growth Mindset หรือกรอบความคิดที่เติบโตผ่านการเรียนรู้และกิจกรรมที่สร้างสรรค์ สามารถติดต่อทีม Disrupt Corporate Program เพื่อรับคำปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย !