Scrum คือ ? แตกต่างจาก Aglie อย่างไร อธิบายแนวคิดพร้อมวิธี

August 14, 2024
BB Banthita
แนวคิด Scrum

Scrum คือ วิธีการทำงานรูปแบบหนึ่งที่เน้นการทำงานร่วมกันของทีม โดยที่ Scrum เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานแบบ Agile มีลักษณะการทำงานที่ยืดหยุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงได้  โดย Scrum มีที่มาจากคำว่า Scrum ในกีฬารักบี้ที่สมาชิกในทีมมารวมกันเพื่อแย่งลูกรักบี้ให้ฝ่ายตัวเองนั่นเอง ในบทวามนี้จะพาผู้อ่านได้ทำความเข้าใจแนวคิด Scrum Framework สำหรับใช้ในการทำงาน

Highlight

  •  Scrum เป็นหลักการทำงานที่อาศัยการทำงานแบบ Teamwork
  •  Scrum Framework นำมาใช้ครั้งแรกในการพัฒนาซอฟต์แวร์
  • Agile เป็นแนวคิดและหลักการที่กว้างขวางเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดการโครงการ ส่วน Scrum เป็นเฟรมเวิร์กเฉพาะที่อยู่ภายใต้ Agile

Scrum คืออะไร?

Scrum คือ รูปแบบการทำงานที่เน้นการทำงานแบบ Teamwork สมาชิกในทีมต้องทำงานและแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ทันความต้องการของลูกค้า  คำว่า Scrum มาจากท่าทางของกีฬารักบี้ ที่นักกีฬาจะรวมตัวกันเพื่อแย่งลูกรักบี้และส่งต่อให้เพื่อนร่วมทีม

Scrum Framework พัฒนาขึ้นโดย Jeff Sutherland และ Ken Schwaber ตั้งแต่ปี 1990 โดยใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์และธุรกิจอื่นๆ ทั้งสองเขียนคู่มือ The Scrum Guide ในปี 2010 และถูกพัฒนามาเรื่อยๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้และทำให้คนทั้งโลกเข้าใจ Scrum มากขึ้น

การทำงานแบบ Scrum

Scrum มีประโยชน์และข้อดีสำหรับการทำงานอย่างไร ?

แล้ว Scrum มีข้อดีอะไรทำไมองค์กรมากมายจึงใช้วิธีการทำงานแบบ Scrum นี้จึงเป็นที่นิยมไปทั่วโลก เช่น บริษัทเทคฯชั้นนำอย่าง Google ที่ใช้ Scrum และ Agile มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เช่น Google Search, Google Ads และ Google Cloud Platform

นี่คือ 5 ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำงานด้วย Scrum Framework

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม (Effective Teamwork)

Scrum เน้นการทำงานเป็นทีม โดยทุกคนในทีมมีบทบาทและหน้าที่ชัดเจน มีการสื่อสารและการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานมีความลื่นไหลและลดปัญหาความเข้าใจผิด

2. การปรับตัวได้เร็ว (Rapid Adaptation)

ด้วยการทำงานเป็นช่วงสั้นๆ หรือที่เรียกว่า Sprint ทีมสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น สามารถตอบสนองต่อข้อกำหนดใหม่ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ทันเวลา

3. การพัฒนาทักษะ Growth Mindset (Growth Mindset Development)

Scrum ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของสมาชิกในทีม ด้วยการฝึกฝนและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ทีมมีทัศนคติที่พร้อมเรียนรู้และเติบโตตลอดเวลา

4. การมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม (Focus on Tangible Results)

การทำงานในรูปแบบ Scrum เน้นการสร้างมูลค่าจริงๆ ให้กับผู้ใช้หรือลูกค้า โดยทุกๆ Sprint จะมีการส่งมอบงานที่มีคุณภาพและใช้งานได้จริง ทำให้สามารถเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนและต่อเนื่อง

5. การจัดการและติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Work Management)

ด้วยเครื่องมือเช่น Scrum Board และการประชุม Scrum Meetings ทีมสามารถจัดการและติดตามงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที

ความแตกต่างระหว่าง Scrum กับ Agile

ในยุคที่การพัฒนาเทคโนโลยีและการทำงานแบบรวดเร็วกลายเป็นเรื่องปกติ บริษัทหลาย ๆ แห่งได้นำแนวคิด Agile และ Scrum มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่หลายคนอาจยังสับสนระหว่างสองคำนี้ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันแบบง่าย ๆ

Agile คือแนวคิดที่เน้นการทำงานที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ โดยมีหลักการหลัก ๆ คือการทำงานร่วมกัน การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และการส่งมอบงานที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

Scrum คือหนึ่งในวิธีการทำงานที่ยึดหลักการของ Agile มีการกำหนดขั้นตอนและกฎการทำงานที่ชัดเจน เพื่อให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายในระยะสั้นที่เรียกว่า "Sprint"

Agile vs Scrum

Agile vs Scrum Table
Agile Scrum
แนวคิดที่ยืดหยุ่น เน้นการทำงานร่วมกันและการปรับตัว วิธีการทำงานที่ใช้หลักการ Agile มีขั้นตอนและกฎชัดเจน
ใช้ได้กับหลายวิธีการทำงาน เช่น Kanban, Lean ใช้หลักการ Agile โดยมีขั้นตอนและการจัดการที่ชัดเจน
บทบาทในทีมไม่ชัดเจน ทุกคนรับผิดชอบร่วมกัน แบ่งบทบาทชัดเจน เช่น Product Owner, Scrum Master, ทีมพัฒนา
ประชุมตามความต้องการของทีม ไม่มีรูปแบบแน่นอน มีการประชุมที่กำหนดไว้ชัดเจน เช่น Daily Stand-up, Sprint Planning
มีการปรับปรุงการทำงานตลอดเวลา วัดผลงานจากงานที่เสร็จในแต่ละ Sprint และปรับปรุงจากการประชุม Sprint Retrospective

สรุป

Agile เป็นแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับการพัฒนาและจัดการโครงการ ส่วน Scrum เป็นเฟรมเวิร์กเฉพาะที่อยู่ภายใต้การทำงานแบบ Agile ซึ่งมีโครงสร้างและกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อให้ทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยรวมทั้งสองวิธีเน้นการทำงานร่วมกันของสมาชิกในทีม และการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งมอบงานที่มีคุณค่าที่สุดให้กับผู้ใช้งาน

การทำงานแบบ Scrum ประกอบไปด้วยตำแหน่งอะไรบ้าง?

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจอยากจะลองนำ Scrum ไปปรับใช้กับองค์กรของตัวเองแล้ว มาทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งเพื่อเตรียมตัวให้สอดรับการทำงานแบบ Scrum ประกอบไปด้วยตำแหน่งสำคัญ 3 ตำแหน่งหลักที่ช่วยให้การทำงานเป็นระบบระเบียบและมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน ดังนี้

Product Owner

Product Owner คือผู้จัดการและกำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์ โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ใช้และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ทีมพัฒนาตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน  หนึ่งในบทบาทสำคัญใน Scrum Team มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน

หน้าที่:

  • กำหนดเป้าหมายและความต้องการของผลิตภัณฑ์
  • สร้างและจัดการ Product Backlog ซึ่งเป็นรายการของงานที่ต้องทำ
  • สื่อสารกับทีมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้แน่ใจว่าทีมมีความเข้าใจในเป้าหมายและความต้องการ
  • ตัดสินใจลำดับความสำคัญของงานเพื่อให้ทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Scrum Master

Scrum Master มีหน้าที่หลักในการช่วยให้ทีมทำงานตามแนวทางของ Scrum อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น เป็นคนที่คอยส่งเสริมให้มีการปรับปรุงและพัฒนา Product อยู่เสมอ

หน้าที่:

  • สนับสนุนทีมในการนำ Scrum มาใช้ในการทำงาน
  • ช่วยขจัดอุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน
  • ทำหน้าที่เป็นโค้ชเพื่อให้ทีมเข้าใจและปฏิบัติตามหลักการของ Scrum อย่างถูกต้อง
  • จัดการและดูแลการประชุมที่เกี่ยวข้อง เช่น Daily Stand-up, Sprint Planning, Sprint Review, และ Sprint Retrospective

Development Team

ในการทำงาน Scrum นั้น Development Team คือกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าที่พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ใน Product Backlog ทีมพัฒนานี้เป็นส่วนสำคัญของ Scrum Team ซึ่งทำงานร่วมกับ Product Owner และ Scrum Master เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

หน้าที่:

  • เป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะในการพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์
  • ทำงานร่วมกันเพื่อให้สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพตามที่ Product Owner กำหนด
  • ทำงานใน Sprint ซึ่งเป็นรอบของการทำงานที่มีเวลาที่กำหนด (มักจะเป็น 2-4 สัปดาห์)
  • รับผิดชอบในการทดสอบและตรวจสอบคุณภาพของงานก่อนส่งมอบ

องค์ประกอบสำหรับกระบวนการทำงานแบบ Scrum

องค์ประกอบแต่ละขั้นตอนของ Scrum

กระบวนการทำงานแบบ Scrum ประกอบไปด้วย 3 Artifacts โดย scrum artifacts คือ เครื่องมือสำหรับจัดการขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงาน รวมไปถึงเรื่องของการแสดงผลลัพธ์จากการพัฒนาโปรเจกต์ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

Product Backlog

Product Backlog คือรายการคำสั่งหรือความต้องการทั้งหมดของข้อกำหนดและฟีเจอร์ต่างๆ ที่ผู้ใช้งานต้องการให้มีในผลิตภัณฑ์ เป็นที่เก็บข้อมูลที่สำคัญที่ช่วยให้ทีมสามารถวางแผนและจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำ

  • รายละเอียด: Product Backlog จะรวบรวมข้อกำหนดทั้งหมดจากทั้งลูกค้าและทีมงาน ซึ่งรวมถึงฟีเจอร์ใหม่, การปรับปรุง, และข้อเสนอแนะต่างๆ
  • การใช้งาน: Product Owner จะทำหน้าที่จัดลำดับความสำคัญของรายการใน Backlog ตามความสำคัญและคุณค่าของแต่ละฟีเจอร์ และอัปเดตข้อมูลตามความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

Sprint Backlog

Sprint Backlog คือรายการของงานที่ทีมงานจะมุ่งเน้นทำในช่วง Sprint หนึ่งๆ ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ โดยปกติจะอยู่ที่ 1-4 สัปดาห์

  • รายละเอียด: ในแต่ละ Sprint ทีมงานจะเลือกงานจาก Product Backlog ที่พวกเขาสามารถทำให้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงเวลานั้น
  • การใช้งาน: ทีมงานจะวางแผนและติดตามความก้าวหน้าในการทำงานผ่านเครื่องมือเช่น Scrum Board หรือ Kanban Board เพื่อให้เห็นภาพรวมของงานที่ยังค้างอยู่และงานที่เสร็จสมบูรณ์

Increment

Increment คือผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานใน Sprint  ซึ่งรวมถึงฟีเจอร์ใหม่หรือการปรับปรุงที่เสร็จสมบูรณ์และพร้อมใช้งาน

  • รายละเอียด: Increment เป็นส่วนที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้
  • การใช้งาน: ทีมงานจะนำเสนอ Increment ให้กับ Stakeholders เพื่อรับข้อเสนอแนะและทำการปรับปรุงต่อไปตามความคิดเห็นที่ได้รับ

กระบวนการทำงานแบบ Scrum ดำเนินงานอย่างไร?

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วคิดว่าการทำงานแบบ Scrum น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับองค์กรของท่าน เรามาลงลึงไปถึงขั้นตอนและวิธีการทำงานแบบ Scrum กันต่อเลย

Sprint

Sprint หรือ รอบการทำงาน คือ ช่วงเวลาในการทํางานแบบ Scrum มีระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ไม่เกิน 1 เดือน ที่ใช้สำหรับจัดการ Product Backlog ให้สำเร็จจนกลายนเป็น Increment โดยระยะเวลาขึ้นอยู่กับความยาก ง่ายของความต้องการของผู้ใช้งานจริงด้วย

Sprint Planning 

Sprint Planning คือ การประชุมเพื่อวางแผนการทำงานในแต่ละรอบ Sprint ว่าผลลัพท์ที่คาดหวังเป็นอย่างไร จะต้องทำอะไรให้เสร็จภายในรอบการทำงานนี้บ้าง และจะทำอย่างไรให้เกิดผลลัพท์ดังกล่าว อาจใช้การตั้งหัวข้อการประชุมแบบ Why? What? และ How? โดยใช้เวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง ระยะเวลาการทำงานสั้น Sprint Planning ก็ควรสั้นไปด้วย

Daily Scrum 

Daily Scrum หรือ Stand Up Meeting คือการประชุมประจำวันโดยใช้เวลาสั้นๆ เหมือนการยืนพูดคุยกัน เพื่ออัพเดทความคืบหน้าของงานที่สมาชิกในทีมแต่ละคนได้ทำไปแล้ว และเป็นพื้นที่ในการขอความช่วยเหลือจากสมาชิกเพื่อปรับปรุงการทำงานให้งานเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่ได้วางแผนไว้

Sprint Review

Sprint Review คือ การรีวิวเพื่อตรวจสอบผลลัพธ์หรือ Increment ของ Sprint ในรอบที่ผ่านมา ต้องจัดประชุมเมื่อสิ้นสุด Sprint เพื่อแสดงผลลัพธ์ของงานที่ทำได้ (Increment) ให้กับ Stakeholders และรับข้อเสนอแนะ การประชุมนี้ช่วยให้ทีมงานสามารถรับข้อเสนอแนะและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความพอใจของผู้ใช้งาน

Sprint Retrospective

Sprint Retrospective คือ การประชุมที่จัดขึ้นหลังจาก Sprint Review เพื่อหารือเกี่ยวกับสิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่ต้องปรับปรุงใน Sprint ต่อไป ทีมงานจะร่วมกันพิจารณาวิธีการที่สามารถทำให้การทำงานดีขึ้นและปรับปรุงกระบวนการทำงานของทีม

รุป Scrum คือ? วิธีการทำงานแบบ Scrum และ Aglie แตกต่างกันอย่างไร ?

Scrum คือ เฟรมเวิร์คทำงานที่อาศัยการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานแบบ Agile เพื่อให้การทำงานออกมามีประสิทธิภาพและยืนหยุ่นพร้อมรับมือและปรับวิธีการทำงานให้ทันต่อความต้องการของผู้ที่ใช้งาน ส่วน Agile เป็นแนวคิดหรือหลักการที่กว้างขวาง ครอบคลุมหลายเฟรมเวิร์ค เช่น Scrum, Kanban, Lean เป็นต้น

หากองค์กรของคุณต้องการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยการใช้ Agile และ Scrum ผ่านการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจให้กับพนักงาน ทาง Disrupt Corporate Program มีผู้เชี่ยวชาญและหลักสูตร ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของทีมงานและองค์กรเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ Disrupt Corporate Program 

ตัวอย่างลูกค้าที่เคยใช้บริการ Disrupt Corporate Program

ที่มา

https://aws.amazon.com/th/what-is/scrum/

https://scrumguides.org/docs/scrumguide/v2020/2020-Scrum-Guide-Thai.pdf

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง