Skills Taxonomy ช่วยองค์กรได้อย่างไร?

August 2, 2024
Palida Koyama Yukie

หาคนที่ใช่ พัฒนาทักษะที่สำคัญ สร้างอาชีพที่ตอบโจทย์

Skills Taxonomy ช่วยองค์กรได้อย่างไร?

เคยรู้สึกมั้ยว่าการหาคนที่ใช่ยากขึ้นเรื่อยๆ? ทำอย่างไรก็หาคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานได้ยากเหลือเกิน กว่า 61% ของเจ้าของธุรกิจในสหรัฐอเมริกาต่างให้ความเห็นว่า การหา Talent และดึดดูดคนเก่งเข้ามาในองค์กรนั้นมีความท้าทายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน นอกจากนั้นคือ เมื่อได้คนเก่ง หรือคนที่ดูเหมือนจะใช่เขามาแล้ว พวกเขากลับไม่มีกลุ่มทักษะ (Competencies) ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนั้น ๆ 

ทักษะที่สำคัญกับเนื้องานหนึ่ง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคของ AI Disruption ซึ่งหน้าที่ขององค์กรในการหา “คนที่ใช่” มีอยู่ 2 อย่าง 

  1. การระบุทักษะที่จำเป็นต่อเนื้องานหนึ่ง ๆ ให้ได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น 
  2. พัฒนากระบวนการจ้างงาน ที่ทำให้แน่ใจว่าคนที่องค์กรจ้างมานั้นมีทักษะดังกล่าว 

Skills Taxonomy เลยเข้ามาช่วยได้? แล้ว Skills Taxonomy คืออะไร? 

Skills Taxonomy คือ ชุดของทักษะ ทั้ง Soft Skills และ Hard Skills ที่มีความจำเป็นกับตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มทักษะที่สร้างผลลัพท์ทางธุรกิจ โดย HR ต้องเป็นผู้ที่ระบุทักษะเหล่านั้นร่วมกับหัวหน้าหน่วยงาน โดยจะมีความแตกต่างจาก Competencies คือ Skill Taxonomy จะเน้นความเฉพาะเจาะจงไปที่ Skills หรือทักษะเป็นหลัก (Skills Centric)  ต่างจาก Competencies ที่จะใช้บทบาทเป็นศูนย์กลาง โดยแตกแขนงจากบทบาทนั้นอีกทีว่า บทบาทนั้นต้องการความรู้ ทักษะ หรือคุณสมบัติอื่น ๆ อย่างไรบ้าง 

โดยขั้นตอนของการทำ Skills Taxonomy มีดังนี้ 

  1. ระบุทักษะที่เฉพาะเจาะจงมาก ๆ ของตำแหน่งหนึ่ง ๆ ให้ออกมาเป็น ลิสต์ของทักษะที่จำเป็น โดยเราจะเรียกทักษะเหล่านี้ว่า “Skills Inventory”

ตัวอย่างเช่น Skills Inventory ของนักขาย: CRM, ทักษะการขาย, ความรู้เรื่องสินค้าและบริการ, การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น 

จากตัวอย่างดังกล่าวเราจะสังเกตได้ว่า ทักษะที่เราระบุนั้นมีความกว้าง ๆ ซึ่งอาจจะทำให้ทักษะที่เราระบุขึ้นมายังไม่เฉพาะเจาะจงหรือต่างจาก Competencies เท่าไหร่นัก เราจึงต้องทำในขั้นตอนที่ 2 คือ 

  1. การสร้าง Skills Cluster ใน Skills Inventory อีกครั้ง ซึ่งการสร้าง Skills Cluster คือการนำทักษะที่เราระบุมาแตกแขนงเป็นทักษะย่อยที่ทำให้คนเห็นภาพได้ชัดขึ้น เช่น ทักษะการขาย จริงๆแล้วมีอะไรเป็นองค์ประกอบอยู่บ้าง ทั้ง Soft Skills และ Hard Skills ในทักษะการขายมีอะไร ให้ลองลิสต์ออกมาทั้งหมด 

ตัวอย่างเช่น 

  • ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork): การแก้ปัญหาความขัดแย้ง การสร้างปฏิสัมพันธ์ในทีม การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
  • ทักษะการขาย: การทำให้เกิดลีด (Lead Generation), การบริการลูกค้า การสื่อสาร การบริหารความคาดหวัง เป็นต้น
  1. เมื่อทำทั้ง 2 ข้อข้างต้นเสร็จแล้ว สิ่งที่เราจะได้ก็คือ Skills Inventory และ Skill Cluster โดยปกติแล้วอาจมีการ Visualize ออกมาเป็นแผนพัง Venn Diagram ของแต่ละบทบาท โดยใส่ Skills ที่สำคัญที่สุดลงไปในหน้าที่นั้น ๆ ก่อน จากนั้น ระบุให้ชัดเจนว่า Skills Cluster ที่จำเป็นอย่างเฉพาะเจาะจงมีอะไรบ้าง เพียงเท่านี้เราจะได้ Skills Taxonomy เบื้องต้นของตำแหน่งหน้าที่งานหนึ่ง ๆ 

การสร้าง Skills Taxonomy ช่วยให้องค์กรของคุณได้ประโยชน์เหล่านี้ 

  1. พนักงานสามารถเปรียบเทียบ Skills Taxonomy ของตำแหน่งที่ตนเองใฝ่ฝัน หรือคาดหวังได้ เขารับรู้ได้ทันทีว่าต้องพัฒนาทักษะอะไรบ้างเพื่อการก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ช่วยให้องค์กรเตรียมความพร้อมเรื่อง Succession Planning ได้เป็นอย่างดี
  2. พนักงานและเจ้านายสามารถทำงานร่วมกันเพื่อค้นหา และระบุทักษะที่สำคัญของหน้าที่งาน หรือเนื้องานได้เป็นอย่างดี 
  3. สร้างเรื่องการพัฒนาอาชีพ และความก้าวหน้าทางอาชีพให้กับพนักงานได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากขึ้น 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่รู้ว่า ทักษะไหนจำเป็นที่สุด และทักษะใหญ่หนึ่งอันมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง เพื่อที่องค์กรจะได้วางแผนการพัฒนาบุคลากร และวางแผนอาชีพให้ดียิ่งขึ้น

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง