EVP คืออะไร? ชนะ Talent War ด้วยคุณค่าของนายจ้าง

September 3, 2024
Palida Koyama Yukie
EVP คืออะไร

EVP (Employer Value Proposition) คือคุณค่าที่เด่นชัดขององค์กรที่ได้มีการสื่อสารให้กับพนักงาน และคนภายนอกให้รับรู้ ส่วนใหญ่เป็นคุณค่าที่สะท้อนมาจากจุดเด่น จุดแข็ง และสิ่งที่องค์กรมองว่าสำคัญ โดย EVP ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบประสบการณ์ของพนักงานตั้งแต่ก่อนจะเข้ามาที่องค์กร จนถึงตอนที่เขาลาออกไป หรือที่เราเรียกว่า Employee Journey รวมถึงได้ใช้ในการออกแบบกลยุทธ์การดึงดูด Talent เข้าสู่องค์กร

Highlight

  • EVP คือคุณค่าที่นายจ้างเสนอให้ลูกจ้าง เป็นจุดเด่น หรือคุณค่าที่ไม่เหมือนใคร ที่นายจ้างใช้สื่อสารกับคนที่สนใจสมัครเข้าองค์กร “ถ้ามาเป็นพนักงาน จะได้คุณค่าต่อไปนี้..”
  • EVP คือความจริงที่สะท้อนในองค์กร และเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ ต้องการผลักดันให้องค์กรมี 
  • EVP คือช่วยให้การสื่อสารแบรนด์และการสร้างประสบการณ์ให้กับพนักงานที่มีประสิทธิภาพ

EVP คืออะไร?

Value Proposition

EVP (Employer Value Proposition) คือ กระบวนการที่ทำให้องค์กรตระหนักถึงคุณค่าที่องค์กรแตกต่างจากองค์กรอื่น ๆ ซึ่ง HR และผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดึงดูด Talent และการสื่อสารถึงคุณค่าขององค์กรในผู้อื่นรับรู้ได้ 

ซึ่งส่วนมากคุณค่าขององค์กรจะถูกสะท้อนมาจากจุดแข็งขององค์กร หรือสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญ เช่นองค์กรต้องการพัฒนา Growth Mindset อาจจะให้คุณค่ากับการเติบโต หรือ Growth ของพนักงานเช่นกัน ดังนั้น เวลาสื่อสารคุณค่าขององค์กร ก็สามารถสื่อออกไปในเรื่องของการสนับสนุนการเติบโตในหน้าที่การงาน การสนับสนุนให้พนักงานมีพื้นที่การเรียนรู้ และทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ หรือ innovation เป็นต้น โดยส่วนมากองค์กรอาจจะอยากดึงดูดพนักงานด้วยสิ่งที่จับต้องได้ หรือ Incentives ที่เป็นเรื่องปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน สวัสดิการ แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ช่วยดึงดูดพนักงาน โดย Havard Business Review แบ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยในการทำ EVP ขององค์กรเพื่อนำไปชนะ Talent War ดังนี้ 

Employer Value Proposition

Material Offerings

คือสิ่งที่จับต้องได้ ที่เป็นสิ่งดึดดูด Talent หรือรักษาพนักงานในองค์กรเอาไว้ เช่น เงินเดือน โบนัส สวัสดิการ ออฟฟิศหรือสำนักงานที่ดูดี มีความปลอดภัย หรือความยืดหยุ่นในการทำงาน เป็นต้น

Opportunities To Develop & Grow 

โอกาสในการพัฒนาตนเอง และเติบโต ซึ่งครอบคลุมถึงทุกวิธีที่องค์กรช่วยให้พนักงานได้รับทักษะใหม่ๆ และมีคุณค่ามากขึ้นในตลาดแรงงาน เช่น การมอบหมายบทบาทใหม่ การให้หมุนเวียนงาน เสนอการฝึกอบรม และการเลื่อนตำแหน่ง

Connection & Community

การได้มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่ทำงาน และได้มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับชุมชน หรือ Community ในองค์กร ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกให้กับพนักงาน เช่น การได้รับการชื่นชมและเห็นคุณค่าในตัวตน ความรู้สึกถึงความรับผิดชอบร่วมกัน และความสัมพันธ์ทางสังคม การเพิ่มพลังให้ผู้คนได้แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งให้แก่พนักงานของเรามากขึ้น

Meaning & Purpose

สิ่งที่สำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นคือ การมีความหมาย และเป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กร หากองค์กรสามารถตอบได้ว่า “การมีตัวตนขององค์กรนั้นมีเพื่ออะไร (The reason of exiting)” ก็มีโอกาสทำให้องค์กรเชื่อมโยงกับพนักงานในระดับ Personal Level ได้ลึกซึ้งมากขึ้น เมื่อพนักงานเห็นความเชื่อมโยงของเขากับองค์กรก็มีแนวโน้มที่จะอยู่กับองค์กรได้นานขึ้น และเห็นเป้าหมายระยะยาวได้มากกว่า 

EVP มีประโยชน์อย่างไร?

EVP (Employer Value Proposition) มีประโยชน์กับองค์กรอย่างมาก โดยเฉพาะใน การสื่อสารคุณค่าขององค์กรและการล่า Talent เข้าองค์กร เช่น การเอาชนะ Talent War หรือสงครามการแย่งคนเก่ง นอกจากนั้น ยังใช้เป็นเครื่องมือให้การสร้างกลยุทธ์ของ HR ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้อีกด้วย เช่น เมื่อ HR รู้แล้วว่าคุณค่าไหนเป็นความจริง และผู้บริหารให้ความสำคัญ ก็นำคุณค่า หรือ EVP มาใช้ในการออกแบบ Journey ของพนักงาน เช่น เมื่อองค์กรสามารถมอบคุณค่าเรื่องการ Empower จุดแข็งได้ HR สามารถออกแบบกระบวนการ Recruitment การ Onboard หรือการทำ Team Building ให้สอดคล้องและปลูกฝังคุณค่าเหล่านี้ให้พนักงานได้รับรู้ง่ายขึ้นได้

การสร้าง EVP ให้มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนอย่างไร?

ปัจจัยสำคัญในการสร้าง EVP ขั้นตอนและหลักการในการทำ EVP

แล้ว HR จะร่วมกันออกแบบ EVP ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจว่า EVP ที่จะประสบความสำเร็จต้องประกอบด้วยรากฐานที่สำคัญ 5 ข้อคือ

  1. TRUE – เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนรับรู้ได้ 
  2. SUSTAINABLE – เป็นสิ่งที่พูดบ่อย ๆ เป็นเป้าหมายที่อยากจะเป็น
  3. ATTRACTIVE – เป็นสิ่งที่น่าดึงดูดกลุ่มทาเลนท์ภายนอก
  4. CREDIBLE – เป็นสิ่งที่อยู่ในการรับรู้ของคนอื่น
  5. DISTINCT – เป็นสิ่งที่โดดเด่น แตกต่าง เหนือคู่แข่ง

โดยมีขั้นตอนการทำ EVP ง่าย ๆ ดังนี้

สำรวจความคิดเห็นพนักงาน

สิ่งสำคัญอันดับแรกคือเราต้องรู้ “ข้อมูล” ของพนักงานในองค์กรก่อน เพราะหากไม่มีข้อมูล เราจะเป็นคนที่มีแต่ความคิดเห็น โดยต้องมีหลากหลาย Insight เช่น

  • Capacity Dashboard เพื่อทราบจำนวนคนในองค์กร
  • Demographic ของบริษัทตัวเอง ว่าคนในองค์กรมีลักษณะอย่างไร
  • Offboard Turnover  เหตุผลที่คนลาออก  อัตราการลาออก
  • Wellbeing State เพื่อเข้าใจสุขภาวะคนในองค์กร

นำข้อมูลที่ได้มาสร้างมาตรฐานในองค์กร

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาทำกลยุทธ์ของแต่ละฝ่าย และแสดงข้อมูลบน Dashboard ได้ และสร้างมาตรฐานที่ดีในองค์กร เช่น คุณค่า การสื่อสาร และการถ่ายทอดเรื่องราวขององค์กร โดยควรมีการตกลงกับผู้บริหาร เรื่องของการให้ความสำคัญ และความยั่งยืนขององค์กร ว่าคุณค่าอะไรที่องค์กรจะเน้นย้ำแบบ Long term

ปรับปรุงองค์กรให้เหมาะสม

จากที่องค์กรอาจจะทำ Branding อย่างไม่มีโฟกัส หรือการสื่อสารองค์กรที่ไม่ชัดเจน การมี EVP จะช่วยให้ทิศทางการสื่อสารชัดเจนมากขึ้น ทำให้ HR สามารถปรับองค์กรไปตามคุณค่าที่องค์กรอยากมอบให้พนักงาน เช่น องค์กร อยากสนับสนุนความยั่งยืน (Sustainability) ในระยะยาว ก็สามารถสื่อสารและสร้างกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์คุณค่าขององค์กรให้ตรงโจทย์มากขึ้นได้

วัดผลการปรับปรุง และนำไปปรับใช้ต่อไป

นอกจากนั้นยังต้องมีการปรับปรุง คุณค่าเสมอ และนำไปใช้ปรับกระบวนการถัดไป การหา EVP ขององค์กรนั้น เริ่มจาก Research & Finding ข้อเท็จจริงขององค์กรก่อนว่าเป็นอย่างไร จากนั้น Prioritize ว่าอันไหนจริง/ไม่จริง ดีหรือไม่ดี และทำให้เป็นเรื่องเล่า Stories ให้ได้ เป็นเรื่องราวที่บอกถึงเอกลักษณ์ สุดท้ายคือการทำเป็น EVP Guidebook เพื่อสื่อสารไปทั่วทุกฝ่ายและองค์กร

ปรับใช้ EVP ให้เข้ากับยุคปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง?

ในยุคใหม่ที่ Talent มองหาโอกาส และสิ่งที่สอดคล้องกับตัวเขามากขึ้น  EVP คือสิ่งที่ช่วยให้องค์กรดึงดูด Talent เข้ามามากขึ้น และรักษาคนเก่งในองค์กรไว้ได้ ซึ่ง EVP ในยุคสมัยใหม่อาจมุ่นเน้นไปที่เทรนด์ต่าง ๆ ดังนี้

สร้างความสัมพันธ์ในองค์กรให้แน่นแฟ้น

สร้างความผูกพันกับพนักงานในองค์กร และสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น ในหลาย ๆ องค์กรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการทำงานแบบ Teamwork การสร้าง Safe Space ให้คนสามารถพูดคุยถกเถียงกันได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนั้นเององค์กรยังต้องให้ความสำคัญด้านการสร้าง Career Path ให้กับพนักงานเพื่อส่งเสริมให้พนักงานเห็นเส้นทางอาชีพ มีความผูกพันและเห็นอนาคตของตนเองในองค์กรนั่นเอง

มอบประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน

EVP ที่สำคัญมาก ๆ อีกหนึ่งอย่างคือ การที่พนักงาน Gen Z มักมองไปที่ประสบการณ์ทำงาน ว่ามีความท้าทาย ตรงกับคุณค่าส่วนบุคคล (Personal Value) ของเขาอย่างไร ดังนั้นอีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรต้องทำคือการออกแบบ Employee Experience หรือ Journey ว่าต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ พนักงานจะได้รับประสบการณ์แบบไหน 

สร้างความท้าทาย และให้โอกาสอยู่เสมอ

หลาย ๆ องค์กรมีการทำ Talent Program หรือ Intensive In-house Training เพื่อพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน Talent เสมอ ซึ่งเป็นการตอกย้ำเรื่องโอกาส และความท้าทาย ที่พนักงานพึงได้รับในองค์กร

สรุป EVP คืออะไร?

EVP จะไม่ใช่การบอกว่าตัวเองคือใคร แต่คือการเล่าเรื่องและอธิบายด้วยเหตุผลเสมอ “Do not try to sell how you are, tell story to explain Provide reasons to believe what you are communicating” (ไม่ต้องพยายามขายว่าเราเป็นใคร แต่พยายามเล่าและบอกเหตุผลที่ทำให้คนอื่นเชื่อว่าทำไมเราถึงสื่อสารคุณค่าของเราอย่างนี้) ซึ่ง EVP จะช่วยพัฒนาประสบการณ์โดยภาพรวมของ Talent ตั้งแต่รับสมัคร จนถึงการดูแลพวกเขา 

ปรึกษาเรื่องการสร้าง EVP อย่างมืออาชีพ อยากเทรน HR ให้มีความรู้เรื่องการสร้างคุณค่าองค์กร สามารถติดต่อ Disrupt Training Program ได้ที่ https://www.disruptignite.com/corporateprogram

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง